การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ


1.  ระบบของภาวะมลพิษทางอากาศ (Air Pollution System)
       ภาวะมลพิษทางอากาศ
  (Air Pollution) หมายถึง ภาวะของอากาศซึ่งมีสารเจือปนอยู่ใน
ปริมาณที่มากพอและเป็นระยะเวลาที่นานพอ ที่จะเกิดผลเสียหายต่อสุขภาพอนามัยของคน สัตว์ พืช
และวัสดุต่าง ๆ สารที่กล่าวถึง อาจเป็นธาตุหรือสารประกอบ อาจเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ หรือเกิด
จากการกระทำของมนุษย์ และอาจอยู่ในรูปของก๊าซ หยดของเหลว หรืออนุภาคของแข็งก็ได้ สารมล
พิษทางอากาศหลัก ที่สำคัญ คือ ฝุ่นละออง ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซ
ออกไซด์ของไนโตรเจน ตะกั่ว และก๊าซโอโซน
         โดยทั่วไปแล้วระบบภาวะมลพิษทางอากาศ (Air Pollution System) จะประกอบไป
ด้วยส่วนประกอบ 3 ส่วน ที่มีความสัมพันธ์กัน คือ แหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศ (Emission
Sources) อากาศหรือบรรยากาศ (Atmosphere) และผู้รับผลเสียหายหรือผลกระทบ
(Receptors) ดังแสดงเป็นแผนภูมิความสำคัญในรูปที่ 1
         - แหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศ   เป็นส่วนของระบบที่เป็นตัวก่อให้เกิดและระบายสาร
มลพิษทางอากาศออกไปสู่อากาศภายนอก โดยที่ชนิดและปริมาณของสารมลพิษทางอากาศที่ถูก
ระบายออกสู่อากาศจะขึ้นอยู่กับว่าเป็นแหล่งกำเนิดประเภทใด และขึ้นอยู่กับว่าแหล่งกำเนิดนั้น ๆ
มีการควบคุมการระบายสารมลพิษทางอากาศหรือไม่
         -  อากาศหรือบรรยากาศ   เป็นส่วนของระบบที่เป็นที่รองรับสารมลพิษทางอากาศที่ถูกระบาย
ออกจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ และเป็นตัวกลาง (Medium) ให้สารมลพิษทางอากาศที่ถูกระบาย
ออกสู่อากาศ มีการแพร่กระจายออกไป โดยมีปัจจัยทางอุตุนิยมวิทยา เช่น อุณหภูมิของอากาศ ความ
เร็วและทิศทางกระแสลม เป็นต้น และลักษณะภูมิประเทศ เช่น ภูเขา หุบเขา และอาคารบ้านเรือน
เป็นต้น เป็นตัวกำหนดลักษณะการแพร่กระจายของสารมลพิษในอากาศ
         - ผู้รับผลเสียหายหรือผลกระทบจากมลพิษทางอากาศ   เป็นส่วนของระบบซึ่งสัมผัสกับสาร
มลพิษในอากาศ ทำให้ได้รับความเสียหายหรือเป็นอันตราย โดยผู้รับผลเสียหายอาจเป็นสิ่งมีชีวิต
เช่น คน พืช และสัตว์ เป็นต้น หรือเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต เช่น เสื้อผ้า อาคาร บ้านเรือน วัสดุและสิ่งก่อ
สร้างต่าง ๆ เป็นต้น ความเสียหายหรือผลกระทบที่เกิดขึ้น จะมีความรุนแรงมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับ
ความเข้มข้นของสารมลพิษในอากาศและระยะเวลาที่สัมผัส
         จากส่วนประกอบของระบบของภาวะมลพิษทางอากาศที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า ในพื้นที่
ใด ๆ ปริมาณและชนิดของสารมลพิษที่ถูกระบายออกจากแหล่งกำเนิน (Emissions) และสภาวะ
ทางอุตุนิยมวิทยา ( Meteorology) จะเป็นตัวกำหนดถึงชนิดและปริมาณหรือความเข้มข้นของ
สารมลพิษที่เจือปนอยู่ในอากาศหรืออีกนัยหนึ่งคุณภาพของอากาศ (Air Quality) ในพื้นที่นั้น ๆ
หรือแม้แต่ในพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลออกไป แล้วคุณภาพอากาศจะเป็นตัวกำหนดถึงลักษณะและความ
รุนแรงของผลเสียหายที่เกิดขึ้น (Air Pollution Effects) อีกทอดหนึ่ง ดังแสดงความสัมพันธ์
เป็นแผนภูมิใน รูปที่ 2
2.   ประเภทของแหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศ(Sources of Air Pollu-tants)
       แหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศ สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท ใหญ่ ๆ คือ
         2.1   แหล่งกำเนิดตามธรรมชาติ
(Natural Sources) เป็นแหล่งกำเนิดที่ก่อให้เกิดและ
ระบายสารมลพิษทางอาาศออกสู่อากาศ โดยเป็นไปตามกระบวนการทางธรรมชาติ ไม่มีการกระทำ
ของมนุษย์เข้าไปเกี่ยวข้องแต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น ภูเขาไฟระเบิด ไฟป่า ทะเลและมหาสมุทร
(แหล่งกำเนิดของละอองเกลือ) เป็นต้น
         2.2  แหล่งกำเนิดที่เป็นกิจกรรมหรือการกระทำของมนุษย์   (Man-Made Sources)
เป็นแหล่งกำเนิดที่มีมนุษย์หรือกิจกรรมที่มนุษย์กระทำ เป็นตัวการที่ทำให้เกิดและระบายสารมลพิษ
ทางอากาศออกสู่อากาศ แหล่งกำเนินมนุษย์ทำ ยังสามารถแบ่งย่อยออกไปได้อีกเป็น 2 ประเภท
               1.   แหล่งกำเนิดมนุษย์ทำที่เคลื่อดที่ได้ (Mobile Sources) ได้แก่ รถยนต์ประเภท
ต่าง ๆ เรือยนต์ เครื่องบิน รถไฟ เป็นต้น
               2. แหล่งกำเนิดมนุษย์ทำที่อยู่กับที่ (Stationary Sources)  ไม่สามารถเคลื่อนที่
ได้ ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 2 พวก ใหญ่ ๆ คือ
               -   การเผาเชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ ได้แก่ โรงผลิตกระแสไฟฟ้าพลังงานความร้อน หม้อไอ
น้ำในโรงงานอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ เตาหุงต้มตามบ้านเรือน และการเผาขยะมูลฝอย เป็นต้น
               -   กระบวนการผลิตต่าง ๆ ได้แก่ กระบวนการผลิตต่าง ๆ ในโรงงานอุตสาหกรรม เช่น
การกลั่นน้ำมัน การผลิตปูนซีเมนต์ การหลอมโลหะประเภทต่าง ๆ และการโม่ บด ย่อย หิน เป็นต้น
         จากการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรโลก การขยายตัวของแหล่งชุมชน การขยายตัวทาง
อุตสาหกรรม และการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ขึ้นมา ทำให้แหล่งกำเนิดที่เป็นกิจกรรมหรือการ
กระทำของมนุษย์ มีจำนวนและมีความหลากหลายเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ
3.   ประเภทของสารมลพิษทางอากาศ (Type of Air Pollutants)
       สารมลพิษทางอากาศ สามารถแยกออกได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะการเกิด คือ
         3.1   สารพิษทางอากาศปฐมดภูมิ 
(Primary Air Pollutants) เป็นสารมลพิษทาง
อากาศที่เกิดและถูกระบายออกจากแหล่งกำเนิดโดยตรง เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซคาร์บอน-
มอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน ขี้เถ้า และเขม่าควันดำ ที่เกิดจากการเผาเชื้อเพลิงในยาน
พาหนะ และเตาเผาในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
        3.2   สารพิษทางอากาศทุติยภูมิ  (Secondary Air Pollutants) เป็นสารมลพิษทาง
อากาศที่ไม่ได้เกิดและถูกระบายออกจากแหล่งกำเนินใด ๆ แต่เกิดขึ้นในบรรยากาศทั่วๆ ไป จาก
ปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารมลพิษทางอากาศปฐมภูมิด้วยกันเอง หรือปฏิกิริยาเคมีระหว่างสารมลพิษ
ทางอากาศปฐมภูมิกับสารประกอบอื่น ๆ ที่อยู่ในบรรยากาศ เช่น ก๊าซโอโซน ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเคมี
(Photochemical Oxidation) ระหว่างก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนกับสารประกอบไฮโดร-
คาร์บอนที่อยู่ในบรรยากาศ โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา ทั้งก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจนและ
สารประกอบ ไฮโดรคาร์บอนเป็นสารมลพิษทางอากาศปฐมดภูมิ ที่มีแหล่งกำเนิดหลักมาจากการใช้
น้ำมันเชื้อเพลิงในยานพาหนะประเภทต่าง ๆ
         นอกจากนี้แล้ว ยังสามารถจำแนกประเภทสารมลพิษทางอากาศออกได้ตามสถานภาพ คือ สาร
มลพิษทางอากาศที่อยู่ในรูปอนุภาค (Aerosols) ทั้งอนุภาคของแข็ง (Solid) และอนุภาคของ
เหลว (Liquid) เช่น ฝุ่นขี้เถ้า ฝุ่นดิน   เขม่าควัน ละอองสี และละอองเคมี เป็นต้น และสารมลพิษ
ทางอากาศที่อยู่ในก๊าซ (Gas) และไอระเหย (Vapor) เช่น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซโอโซน
ไอน้ำมันเชื้อเพลิง และไอกรด เป็นต้น และสามารถจำแนกตามองค์ประกอบทางเคมี คือ สารมลพิษ
ทางอากาศที่เป็นสารอินทรีย์ (Organic) เช่น ไอระเหย Benzene และสารประกอบไฮโดร-
คาร์บอนอื่น ๆ สารมลพิษทางอากาศที่เป็นสารอนินทรีย์ (Inorganic) เช่น ก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์
และฝุ่นตะกั่วเป็นต้น
         ทุกวันนี้ มนุษย์เราได้มีการสังเคราะห์สารประเภทใหม่ ๆ ขึ้นมาใช้ในชีวิตประจำวันอยู่เสมอๆ
ทำให้มีสารมลพิษทางอากาศชนิดใหม่ ๆ เกิดขึ้นเช่นเดียวกัน และมีความหลายหลายมากขึ้นด้วยทำ
ให้การควบคุมและกำจัดมีความยุ่งยากซับซ้อนมากขึ้น
.4   ผลเสียหายจากมลพิษทางอากาศ (Air Pollution Effects)
      
มลพิษทางอากาศสามารถทำให้เกิดผลเสียหายต่อสิ่งต่าง ๆ ได้มากมาย เป็นอันตรายต่อ
สุขภาพอนามัยของคนและสัตว์ ทำลายพืช ทำให้วัสดุเสียหาย ทำให้เกิดผลเสียแก่สภาพภูมิอากาศ
และเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์วิทยา ลักษณะและความรุนแรงของผลเสียหายที่
เกิดขึ้น จะขึ้นอยู่กับประเภทและความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศ และความยาวนานของการ
สัมผัสกับสารมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ สารมลพิษทางอากาศบางชนิดยังอาจมีผลที่เสริมฤทธิ์กัน
(Synergism) ทำให้ผลเสียหายที่เกิดขึ้นทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าผลเสียหายที่เกิดขึ้น หากมี
เพียงสารพิษทางอากาศเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น หรืออาจมีผลหักล้างซึ่งกันและกัน
(Antagonism) ทำให้ผลเสียหายที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงน้อยลง
         4.1   ผลเสียหายที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ เป็นผลเสียหายที่มีความสำคัญมากที่สุด
เนื่องจากเกี่ยวพันถังชีวิตและความแข็งแรงสมบูรณ์ของมนุษย์เรา อันตรายที่เกิดขึ้นอาจเริ่มตั้งแต่
เพียงการก่อให้เกิดความรำคาญ ระคายเคือง เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายโดยไม่แสดงอาการ จน
กระทั่งมีอาการชัดเจน และถังขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด นอกจากนี้แล้ว อันตรายต่อสุขภาพอาจจะไม่ได้
เกิดขึ้นโดยตรง เนื่องจากสารมลพิษทางอากาศเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดโดยทางทางอ้อมจากโรค
แทรกซ้อนที่เกิดขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอลงจากการได้รับหรือสัมผัสกับสารมลพิษทางอากาศ โดยปกติ
แล้ว มนุษย์เราจะรับสารมลพิษทางอากาศเข้าสู่ร่างกายโดยการหายใจ และโดยการสัมผัสทางผิวหนัง
และนัตย์ตา ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของสารมลพิษทางอากาศที่สำคัญ ๆ บางชนิด อย่างคร่าว ๆ
          - ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีรสและกลิ่น เบากว่าอากาศเล็กน้อยเมื่อหาย
ใจเข้าไป จะสามารถรวมตัวกับฮีโมโกลบิน (Haemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าก๊าซออก-
ซิเจน 200-250 เท่า เกิดเป็นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (CarboxyhaemoglobinCOHb) ทำให้
เลือดนำออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อเยื่อต่าง ๆ น้อยลง การเกิด COHb ในเลือดมากหรือน้อย ขึ้น
อยู่กับปริมาณของก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ที่หายใจเข้าไป นั่นคือขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและระยะ
เวลาที่หายใจเข้าไปนั่นเอง ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์จะทำให้ร่างกายได้รับก๊าซ
ออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้หัวใจต้องทำงานสูบฉีดเลือดมากขึ้น มีอาการมึนงง ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ
คลื่นไส้ อ่อนเพลีย เป็นลม หมดสติและถึงตายได้ในที่สุดเมื่อร่างกายขาดออกซิเจน
          - ฝุ่นละออง  อันตรายของฝุ่นละอองจะขึ้นอยู่กับว่าเป็นฝุ่นประเภทใด มีองค์ประกอบอะไรอยู่
บ้าง แต่โดยทั่วไปแล้ว จะก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจเท่านั้นยกเว้นฝุ่นละออง
บางชนิดที่มีพิษอยุ่ในตัวของมันเอง เช่น ฝุ่นทราย ซึ่งมีซิลิก้า (Silica) เป็นองค์ประกอบ เป็นอัน-
ตรายต่อปอดมาก ทำให้เป็นโรค Silicosis และฝุ่นละออกงของโลหะหนักต่าง ๆ
          -  ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ เป็นก๊าซไม่มีสี เกิดจากการรวมตัวกันของสารกำมะถันที่เจือปน
อยู่ในเชื้อเพลิงกับก๊าซออกซิเจนในขณะที่เชื้อเพลิงถูกเผาไหม้ สามารถละลายน้ำได้ได้พอสมควรและ
ถูกดูดซึมได้ดีในระบบทางเดินหายใจส่วนบนซึ่งชื้น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) จะค่อยทำ
ปฏิกิริยากับก๊าซออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นก๊าซซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO3) ซึ่งเมื่อรวมตัวกับ
ความขึ้นในอากาศจะเกิดเป็นก๊าซซัลฟูริค (H2 SO4 ) ทั้ง SO2,SO3และH2 SO4 อาจก่อให้
เกิดความระคายเคืองและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจทำให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจได้
ง่ายและบ่อยขึ้น เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังโรคทางเดินหายใจและโรคปอดอื่น ๆ อันตรายจะรุน
แรงมากขึ้นเมื่ออยู่รวมกับฝุ่นละอองโดยเพิ่มความต้านทางการเคลื่อนที่ของอากาศในทางเดินหายใจ
และเพิ่มความระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในระบบหายใจ นอกจากนี้ ฝุ่นละอองของโลหะบางชนิด ยังเป็น
ตัวเร่งปฏิกิริยาให้ SO2 กลายเป็นกรด H2 SO4 ได้เร็วขึ้น
       - ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน   ที่สำคัญคือ ก๊าซไนตริกออกไซด์ (NO) และก๊าซไนโตร-
เจนไดออกไซด์ (NO2)   ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีของไนโตรเจนกับออกซิเจนในระหร่าง
การเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ ที่อุณหภูมิสูง ๆ โดยทั่วไปแล้ว NO ในอากาศจะถูกออกซิไดซ์
เป็น NO 2 ยังไม่มีรายงานยืนยันว่าระดับของ NO2 ที่พบลในอากาศทั่วไปจะทำให้เกิดอันตราย
ต่อสุขภาพได้ สำหรับ NO2 เมื่อหายใจเข้าไปแล้ว อาจทำให้เกิดความระคายเคืองในถุงลม
(Alveoli) ทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคหลอดลมตีบตัน (Emphysema) โดยเฉพาะในบุคคล
ที่เป็นโรคหืดอยู่แล้ว นอกจากนี้ NO2 ในปอด ยังอาจเปลี่ยนไปเป็น Nitrosamines ซึ่งทำให้
เกิดมะเร็งในปอดได้
       -  ก๊าซโอโซน   เป็นสารโฟโตเคมีคัลออกซิแดนท์ประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเคมี
Photochemical Oxidation ระหว่างสารประกอบไฮโดรคาร์บอนและก๊าซออกไซด์ของ
ไนโตรเจน โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นสารโฟโตเคมีคัลออกซิแดนท์อื่น ๆ ได้แก่ สาร
ประกอบพวก อัลดีไฮด์ (Aldehydes) คีโตน (Ketones) และ Peroxyacetyl Nitrate
(PAN) ก่อให้เกิดสภาพที่เรียกว่า Photochemical Smog ซึ่งมีลักษณะเหมือนหมอก
สีขาว ๆ ปกคลุมอยู่ทั่วไปในอากาศ โดยทั่วไปแล้ว ก๊าซโอโซนจะก่อให้เกิดการระคายเคืองตา และ
ระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ลดความสามารถในการทำงานของปอดลง เหนื่อยเร็วโดยเฉพาะ
ในเด็ก คนชรา และคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรังอยู่แล้ว
       -  ตะกั่ว  ที่อยู่ในอากาศ โดยเฉพาะในเขตเมือง จะมาจากยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเบนซิน
เนื่องจากในน้ำมันเบนซินจะมีสาร Tetraethyl Lead หรือ Tetramethyl Lead ผสมอยู่
เพื่อเพิ่มค่า Octane ให้แก่น้ำมันเบนซิน สำหรับปกป้องการ Knock ของเครื่องยนต์ตะกั่วจะ
ถูกระบายออกมาทางท่อไอเสียในรูปของอนุภาคของแข็ง ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีความเป็นพิษสูง
และจะรุนแรงมากในเด็ก ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้หลายอย่างทำลายไขกระดูกและเม็ดเลือด
แดง ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง สามารถถูกถ่ายทอดจากมารดาผ่านรกไปยังทารกที่อยู่ในครรภ์ได้ นอก
จากนี้ ยังทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลางทดำให้เกิดอาการ ชัก หมดสติ เป็นอันตรายต่อไต
ทางเดินอาหาร ตับ หัวใจ และระบบสืบพันธุ์เกิดขึ้น จะขึ้นอยู่กับประเภทและความเข้มข้นของสาร
มลพิษทางอากาศ และความยาวนานของการสัมผัสกับสารมลพิษทางอากาศ นอกจากนี้ สารมลพิษ
ทางอากาศบางชนิดยังอาจมีผลที่เสริมฤทธิ์กัน(Synergism) ทำให้ผลเสียหายที่เกิดขึ้นทวีความ
รุนแรงมากขึ้นกว่าผลเสียหายที่เกิดขึ้น หากมีเพียงสารพิษทางอากาศเพียงชนิดใดชนิดหนึ่งเท่านั้น
หรืออาจมีผลล้างซึ่งกันและกัน (Antagonism) ทำให้ผลเสียหายที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงน้อยลง
       4.1   ผลเสียหายที่มีต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์   เป็นผลเสียหายที่มีความสำคัญมากที่สุดเนื่อง
จากเกี่ยวพันถึงชีวิตและความแข็งแรงสมบูรณ์ของมนุษย์เรา อันตรายที่เกิดขึ้นอาจเริ่มตั้งแต่เพียงการ
ก่อให้เกิดความรำคาญ ระคายเคือง เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายโดยไม่แสดงอาการ จนกระทั่งมี
อาการชัดเจน และถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด นอกจากนี้แล้ว อันตรายต่อสุขภาพอาจจะไม่ได้เกิดขึ้น
โดยตรง เนื่องจากสารมลพิษทางอากาศเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดโดยทางอ้อมจากโรคแทรกซ้อนที่
เกิดขึ้นเมื่อร่างกายอ่อนแอลงจากการได้รับหรือสัมผัสกับสารมลพิษทางอากาศ โดยปกติแล้ว มนุษย์
เราจะรับสารมลพิษทางอากาศเข้าสู่ร่างรายโดยการหายใจ และโดยการสัมผัสทางผิวหนังและนัตย์ตา
ต่อไปนี้จะได้กล่าวถึงอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของสารมลพิษทางอากาศที่สำคัญ ๆ บางชนิด อย่าง
คร่าว ๆ
          -  ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์   เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีรสและกลิ่น เบากว่าอากาศเล็กน้อยเมื่อ
หายใจเข้าไป จะสามารถรวมตัวกับฮีโมโกลบิน (Haemoglobin) ในเม็ดเลือดแดงได้ดีกว่าก๊าซ
ออกซิเจน 200-250 เท่า เกิดเป้นคาร์บอกซีฮีโมโกลบิน (CarboxyhaemoglobinCHOb)
ทำให้เลือดนำออกซิเจนจากปอดไปยังเนื้อยเื่อต่าง ๆ น้อยลง การเกิด COHb ในเลือดมากหรือน้อย
ขึ้นอยู่กับปริมาณของก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ที่หายใจเข้าไป นั่นคือขึ้นอยู่กับความเข้มข้นและ
ระยะเวลาที่หายใจเข้าไปนั่นเอง ดังนั้น จะเห็นได้ว่า ก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์จะทำให้ร่างกายได้
รับก๊าซออกซิเจนไม่เพียงพอ ทำให้หัวใจต้องทำงานสูบฉีดเลือดมากขึ้น มีอาการมึนงง ตาพร่ามัว
ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อ่อนเพลีย เป็นลม หมดสติดและถึงตายได้ในที่สุดเมื่อร่างกายขาดออกซิเจน
          - ฝุ่นละออง   อันตรายของฝุ่นละอองจะขึ้นอยู่กับว่าเป็นฝุ่นประเภทใด มีองค์ประกอบอะไร
อยู่บ้าง แต่โดยทั่วไปแล้ว จะก่อให้เกิดความระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจเท่านั้นยกเว้นฝุ่น
ละอองบางชนิดที่มีพิษอยู่ในตัวของมันเอง เช่น ฝุ่นทราย ซึ่งมีซิลิก้า (Silica) เป็นองค์ประกอบ เป็น
อันตรายต่อปอดมาก ทำให้เป็นโรค Silicosis และฝุ่นละอองของโลหะหนักต่าง ๆ
          - ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์เป็นก๊าซไม่มีสี เกิดจากการรวมตัวกันของสารกำมะถันที่เจือปนอยู่
ในเชื้อเพลิงกับก๊าซออกซิเจนในขณะที่เชื้อเพลิงถูกเผาไหม้ สามารถละลายน้ำได้ดีพอสมควรและถูก
ดูดซึมได้ดีในระบบทางเดินหายใจส่วนบนซึ่งชื้น ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) จะค่อยทำปฏิ-
กิริยากับก๊าซออกซิเจนในอากาศ เกิดเป็นก๊าซซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ (SO3) ซึ่งเมื่อรวมตัวกับความ
ชื้นในอากาศจะเกิดเป็นก๊าซซัลฟูริค (H2SO4) ทั้ง SO2,SO3 และ H2 SO4 อาจก่อให้เกิด
ความระคายเคืองและเป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจทำให้เป็นโรคระบบทางเดินหายใจได้ง่าย
และบ่อยขึ้น เช่น โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังโรคทางเดินหายใจและโรคปอดอื่น ๆ อันตรายจะรุนแรง
มากขึ้นเมื่ออยู่รวมกับฝุ่นละอองโดยเพิ่มความต้านทานการเคลื่อนที่ของอากาศในทางเดินหายใจ และ
เพิ่มความระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในระบบหายใจ นอกจากนี้ ฝุ่นละอองของโลหะบางชนิด ยังเป็นตัว
เร่งปฏิกิริยาให้ SO2 กลายเป็นกรด H2 SO4 ได้เร็วขึ้น
          -  ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน   ที่สำคัญคือ ก๊าซไนตริกออกไซด์ (NO) และก๊าซไนโตร-
เจนไดออกไซด์ (NO2) ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาทางเคมีของไนโตรเจนกับออกซิเจนในระหว่าง
การเผาไหม้เชื้อเพลิงประเภทต่าง ๆ ที่อุณหภูมิสูง ๆ โดยทั่วไปแล้ว NO ในอากาศจะถูกออกซิไดซ์
ไปเป็น NO2   ยังไม่มีรายงานยืนยันว่าระดับของ NO2 ที่พบในอากาศทั่วไปจะทำให้เกิดอันตราย
ต่อสุขภาพได้ สำหรับ NO2 เมื่อหายใจเข้าไปแล้ว อาจทำให้เกิดความระคายเคืองในถุงลม
(Alveoli) ทำให้เกิดอาการคล้ายกับโรคหลอดลมตีบตัน (Emphysema) โดยเฉพาะในบุคคล
ที่เป็นโรคหืดอยู่แล้ว นอกจากนี้ NO2 ในปอด ยังอาจเปลี่ยนไปเป็น Nitrosamines ซึ่งทำให้
เกิดมะเร็งในปอดได้
          - ก๊าซโอโซน    เป็นสารโฟโตเคมีคัลออกซิแดนท์ประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาเคมี
Photochemical Oxidation ระหว่างสารประกอบไฮโดรอาร์บอนและก๊าซออกไซด์ของ
ไนโตรเจน โดยมีแสงแดดเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นสารโฟโตเคมีคัลออกซิแดนท์อื่น ได้แก่สารประกอบ
พวก อัลดีไฮด์ (Aldehydes) คีโตน (Ketones) และ Peroxyacety Nitrate (PAN)
ก่อให้เกิดสภาพที่เรียกว่า Photochemical Smog ซึ่งมีลักษณะเหมือนหมอกสีขาว ๆ ปกคลุม
อยู่ทั่วไปในอากาศ โดยทั่วไปแล้ว ก๊าซโอโซนจะก่อให้เกิดการระคายเคืองตา และระคายเคืองต่อ
ระบบทางเดินหายใจ ลดความสามารถในการทำงานของปอดลง เหนื่อยเร็วโดยเฉพาะในเด็ก คนชรา
และคนที่เป็นโรคปอดเรื้อรังอยู่แล้ว
          -  ตะกั่ว ที่อยู่ในอากาศ โดยเฉพาะในเขตเมือง จะมาจากยานพาหนะที่ใช้น้ำมันเบนซิน
เนื่องจากในน้ำมันเบนซินจะมีสาร Tetraethyl Lead หรือ Tetramethyl Lead ผสมอยู่
เพื่อเพิ่มค่า Octane ให้แก่น้ำมันเบนซิน สำหรับปกป้องการ Knock ของเครื่องยนต์ตะกั่วจะถูก
ระบายออกมาทางท่อไอเสียในรูปของอนุภาคของแข็ง ตะกั่วเป็นโลหะหนักที่มีความเป็นพิษสูง และ
จะรุนแรงมากในเด็ก ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้หลายอย่างทำลายไขกระดูกและเม็ดเลือดแดง
ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง สามารถถูกถ่ายทอดจากมารดาผ่านรกไปยังทารกที่อยู่ในครรภ์ได้ นอกจากนี้
ยังทำอันตรายต่อระบบประสาทส่วนกลางทำให้เกิดอาการ ชัก หมดสติ เป็นอันตรายต่อไต ทางเดิน
อาหาร ตับ หัวใจ และระบบสืบพันธุ์
        4.2   ผลเสียหายที่มีต่อพืชและสัตว์   สารมลพิษทางอากาศที่เป็นอันตรายต่อพืชที่สำคัญ ได้แก่
ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ก๊าซโอโซน PAN ฝุ่นละออง ก๊าซคลอรีน ก๊าซแอมโมเนียและปรอทเป็น
ต้น โดยปกติแล้ว สารมลพิษทางอากาศที่อยู่ในรูปก๊าซ จะเข้าสู่ต้นไม้ได้โดยการหายใจของต้นไม้
ผ่านรูใบ (Stomata) และจะไปทำลายคลอโรฟิลล์ และการสังเคราะห์แสงของพืช ทำให้พืชชะงัก
การเจริญเติบโต และตายในที่สุด สีของใบจะเปลี่ยนไปเนื่องจากคลอโรฟิลล์ถูกทำลาย สีที่เปลี่ยนไป
จะขึ้นอยู่กับชนิดของสารมลพิษ เช่น SO2 ทำให้ใบซีด แอมโมเนียทำให้ใบเหลือง โอโซนทำให้ใบ
เปลี่ยนเป็นสีเงิน สำหรับฝุ่นละออง จะทำให้เกิดอันตรายต่อพืช โดยตกลางจับบนใบและส่วนอื่น ๆ
ของพืช ทำให้ก๊าซผ่านเข้าสู่ใบน้อยลง ใบจะเหลืองและเฉาไปในที่สุด นอกจากนี้ ฝุ่นละอองที่ตก
เคลือบอยู่บนผิวใบยังกั้นและสะท้อนแสงแดดในช่วงความยาวคลื่นสั้น (400 ถึง 700 นาโนเมตร) ซึ่ง
พืชใช้ในการสังเคราะห์แสงไว้ ทำให้พืชสังเคราะห์แสงได้น้อยลง ขณะเดียวกันกลับดูดแสงแดดช่วง
ความยาวคลื่นยาว (1,750-1,850 นาโนเมตร) ซึ่งเป็นรังสีความร้อน ทำให้อุณหภูมิภายในใบสูงขึ้น
ใบจะเกิดการเหี่ยวเฉา
         สำหรับผลเสียหายของสารมลพิษทางอากาศต่อสัตว์จะมีลักษณะคล้ายกับผลเสียหายที่เกิดขึ้น
ต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
         4.3   ผลเสียหายที่เกิดกับวัสดุต่าง ๆ   เช่น ทำให้เกิดความสกปรก สีซีดจาง โลหะเป็นสนิม
สึกและผุกร่อน ทำให้ยางและพลาสติกเปราะและแตกในที่สุด ผ้าเปื่อยและขาด กระดาษเหลืองและ
กรองทำให้ผิววัสดุ เช่น เซรามิก ด้าน ลดความันเงา
        4.4   ผลเสียหายที่เกิดกับระบบนิเวศวิทยา   เป็นผลที่เกิดจากฝนกรด โดยธรรมชาติ น้ำฝนจะมี
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่ เมือคิดถึงความสามารถในการละลายน้ำของก๊าซคาร์บอนไดออก-
ไซด์ในทางทฤษฎีแล้ว น้ำฝนตามธรรมชาติจะมีสภาพเป็นกรดเล็กน้อยอยู่แล้ว คือ มีความเป็นกรด
เป็นด่างที่ประมาณ 5.6 (ความเป็นกรดเป้นด่างที่ 7.0 จัดว่าสภาพเป็นกลาง) อย่างไรก็ตาม ก๊าซซัล-
เฟอร์ไดออกไซด์และก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน เป้นารมลพิษทางอากาศสำคัญที่สามารถทำให้
น้ำฝนมีสภาพเป็นกรดมากขึ้นได้ การที่ฝนมีความเป็นกรดมากขึ้น ทำให้เกิดอันตรายต่อระบบนิเวศ
วิทยาใต้ดิน แหล่งน้ำ ป่าไม้ ที่ได้รับน้ำฝน เนื่องจากสิ่งมีชีวิตทั้งที่เป็นพืชและสัตว์ที่อาศัยอยู่ มีความ
ไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาวะความเป็นกรดเป็นด่างของสิ่งแวดล้อมที่มันอาศัยอยู่ ทำให้การ
เจริญเติบโตช้าลง การแพร่พันธุ์ลดลง และตายได้
         4.5   ผลเสียหายต่อสภาวะภูมิอากาศ   การที่มีฝุ่นละอองแขวนลอยอยู่ในบรรยากาศเป็นจำนวน
มาก หรือการเกิด Photochemical Smog จะบดบังทัศนวิสัย (Visibility) ทำให้ระยะทาง
ในการมองเห็นผ่านอากาศลดลง ไม่สามารถมองเห็นวัตถุในระยะทางไกล ๆ ได้ นอกจากนี้ฝุ่นละออง
ยังทำหน้าที่กั้นและสะท้อนแสงแดดที่ส่งมายังผิวโลก ทำให้ผิวโลกมีอุณหภูมิเย็นลง
5.   การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ (Air Quality Management)
        
จากที่ได้กล่าวมาทั้งหมดในเบื้องต้น ได้แสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบของระบบของภาวะมล-
พิษทางอากาศที่เกิดขึ้น ที่จะกล่าวต่อไปนี้ จะเกี่ยวกับการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ
(Air Quality Management) ซึ่งจะนำไปสู่การควบคุม ป้องกัน และแก้ไขภาวะมลพิษทาง
อากาศ เพื่อให้ได้มาซึ่งคุณภาพอากาศที่ดี
         เมื่อได้เข้าใจถึงระบบของภาวะมลพิษทางอากาศแล้ว จะเห็นได้ว่า การจัดการคุณภาพสิ่งแวด
ล้อมด้านอากาศ (Air Quality Mangement) ก็คือ การจัดการส่วนประกอบต่าง ๆ ภายใน
ระบบของภาวะมลพิษทางอากาศ โดยทำการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขภาวะของมลพิษทางอากาศ
เพื่อรักษาอากาศให้มีคุณภาพที่มีอยู่ในสภาวะที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความ
ผาสุกของมนุษย์ ตลอดจนไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตและสภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ด้วย
รูปที่ 3 เป็นแผนภูมิ แสดงถึงระบบการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ (Air Quality
Management System) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงส่วนประกอบและความสัมพันธ์ของส่วนประกอบ
ของระบบการจัดการคุณคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ ตลอดจนความสัมพันธ์ที่มีกับระบบของ
ภาวะมลพิษทางอากาศที่ได้กล่าวมาแล้วในเบื้องต้น
         ระบบการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศที่แสดงเป็นแผนภูมิอยู่ในรูปที่ 3 ประกอบด้วย
ส่วนประกอบต่าง ๆ ซึ่งจะได้กล่าวในรายละเอียด เรียงเป็นลำดับ ๆ ไป ดังต่อไปนี้
        5.1   เกณฑ์คุณภาพอากาศ  (Air Quality Criteria) เป็นเกณฑ์ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของ
ข้อมูลและผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ซึ่งบ่งบอกถึงผลเสียหายและอันตรายของสารมลพิษทาง
อากาศแตะละชนิดที่จะเกิดขึ้น หากสัมผัสกับสารมลพิษทางอากาศนั้น ๆ ที่ระดับความเข้มข้นและ
ระยะเวลาสัมผัสต่าง ๆ กัน ดังนั้น เกณฑ์คุณภาพอากาศจะมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ไปตามการ
เปลี่ยนแปลงของข้อมูลและผลการศึกษาวิจัยทางวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ ต้องมีการทบทวนเกณฑ์คุณภาพ
อากาศเป็นระยะ ๆ อย่างสม่ำเสมอ รูปที่ 4 และรูปที่ 5 เป็นตัวอย่างเกณฑ์คุณภาพของก๊าซซัลเฟอร์-
ไดออกไซด์ ฝุ่นละออง ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ และก๊าซโอโซน โดยปกติแล้วจะใช้เกณฑ์คุณภาพ
อากากาศเหล่านี้ประกอบการประเมินความเสี่ยงของผลเสียหายหรืออันตรายที่จะเกิดขึ้นและใช้ใน
การกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ
         5.2   มาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ   (Ambient Air Quality Standard)
คือ เป้าหมายระดับคุณภาพอากาศ (Air Quality Goals) ที่ต้องการ ซึ่งแสดงอยู่ในรูปของความ
เข้มข้นเฉลี่ยในช่วงระยะเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งสารมลพิษทางอากาศแต่ละชนิดที่ยอมให้มีได้ใน
บรรยากาศหรืออาจจะจำกัดจำนวนครั้งที่ยอมให้มีระดับเกินมาตรฐานในช่วงระยะเวลาที่กำหนดใน
การกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศจะใช้ข้อมูลเกณฑ์คุณภาพอากาศเป็นพื้นฐานหลัก
แก่อาจจะต้องใช้ปัจจัยอื่น ๆ ประกอบด้วย เช่น ปัจจัยทางเทคโนโลยีและปัจจัยทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
ดังนั้นมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศจะต้องได้รับการทบทวนและปรับปรุงให้เหมาะสมกับ
สถานการณ์เป็นระยะ ๆ เช่นเดียวกับเกณฑ์คุณภาพอากาศ โดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่งมาตรฐาน
คุณภาพอากาศในบรรยากาศออกได้เป็น 2 ระดับ คือ
          1.   มาตรฐานคุณภาพอากาศปฐมภูมิ (Primary Ambient Air Quality Stan-
dards) เป็นระดับมาตรฐานที่มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องสุขภาพอนามัยของคน
          2.   มาตรฐานคุณภาพอากาศทุติยภูมิ (Secondary Ambient Air Quality
Standards) เป็นระดับมาตรฐานที่มีจุดประสงค์เพื่อปกป้องความผาสุก (Welfare) ของคน
ดังนั้นจะมีความเข้มงวดมากกว่ามาตรฐานคุณภาพอากาศปฐมภูมิ ทั้งนี้เนื่องจาก นอกจากจะปกป้อง
สุขภาพอนามัยของคนแล้ว ยังต้องสามารถปกป้องสิ่งอื่น ๆ ที่นำความผาสุกมาให้คนด้วย เช่น ต้อง
สามารถปกป้องพืชและสัตว์ และทัศนียภาพด้วย เป็นต้น
         5.3   มาตรฐานอากาศเสียจากแหล่งกำเนิด (Emission Standards) เป็นระดับจำกัดของปริมาณหรือความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศชนิดต่าง ๆ ที่ยินยอมให้
ระบายออกจากแหล่งกำเนิดแต่ละประเภท การกำหนดมาตรฐานอากาศเสียจากแหล่งกำเนิด สามารถทำให้ 2 ลักษณะ คือ
         1.   ใช้เกณฑ์คุณภาพอากาศและมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศเป็นเกณฑ์        
เป็นการกำหนดมาตรฐานอากาศเสียจากแหล่งกำเนิด โดยมีหลักการว่า ปริมาณของสารมลพิษทาง
อากาศที่ถูกระบายอออกจากแหล่งกำเนิดสู่บรรยากาศ จะถูกจำกัดอยู่ที่ระดับที่จะไม่ทำให้คุณภาพ
อากาศเสื่อมโทรเลวร้ายไปกว่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศที่กำหนดไว้ วิธีนี้จะต้องใช้
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ เกี่ยวกับการแพร่กระจายของสารมลพิษทางอากาศในบรรยากาศเป็น
เครื่องมือช่วยในการกำหนด มักจะใช้ได้ดีกับแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศเป็นราย ๆ ไป และจะเป็น
มาตรฐานใช้เฉพาะในพื้นที่นั้น ๆ เท่านั้น การกำหนดมาตรฐานโดยวิธีนี้จะยุ่งยากมากขึ้น หากมี
แหล่งกำเนิดมลพิษ ทางอากาศอยู่ในพื้นที่เป็นจำนวนมาก ๆ
          2.   ใช้เทคโนโลยีการควบคุมเป็นเกณฑ์    เป็นการกำนหดมาตรฐานอากาศเสียจากแหล่งกำเนิด
โดยมีหลักการว่า ระดับปริมาณของสารมลพิษทางอากาศที่ยินยอมให้ระบายออกจากแหล่งกำเนิดจะ
ต้องเป็นระดับต่ำที่สุดเท่าที่เทคโนโลยีการควบคุมที่มีอยู่จะสามารถทำได้ (Best Available
Control Technology) หรืออาจจะพิจารณาถึงความเป็นไปได้ในทางเศรษฐกิจประกอบด้วย
(Reasonable Availaable Control Technology) โดยไม่ได้นำมาตรฐานคุณภาพ
อากาศในบรรยากาศมาพิจารณาประกอบด้วยเลย ดังนั้น มาตรฐานอากาศเสียจากแหล่งกำเนิดที่
กำหนดโดยวิธีจะไม่สามารถรับประกันได้ว่า อากาศในบรรยากาศจะมีคุณภาพอยู่เกณฑ์มาตรฐาน
คุณภาพอากาศในบรรยากาศที่กำหนดไว้ทั้งนี้ เพราะว่าหากมีแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศเป็น
จำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ แม้ว่าแต่ละแหล่งจะถูกควบคุมให้เป็นไปตามมาตรฐานอากาศเสียจากแหล่ง
กำเนิดที่กำหนดไว้ แต่ปริมาณสารมลพิษทางอากาศที่ถูกระบายออกสู่บรรยากาศจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
ตามจำนวนของแหล่งกำหนดที่เพิ่มขึ้น และในที่สุดที่อาจจะสามารถทำให้คุณภาพอากาศเสื่อมโทรม
เลวร้ายไปกว่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ
         5.4   การติดตามตรวจสอบการระบายอากาศเสียจากแหล่งกำเนิด    (Emission Inventory หรือ Emission Surveillance) เพื่อเป็นการควบคุมการระบายสารมลพิษ  
ทางอากาศจากแหล่งกำเนิดต่าง ๆ ให้เป็นไปตามมาตรฐานอากาศเสียจากปหล่งกำเนิดที่กำหนดไว้ นอกจากนี้ ข้อมูลที่ได้รับยังสามารถใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีก เช่น ใช้เป็นข้อมูลสำหรับแบบ
จำลองทางคณิตศาสตร์เกี่ยวกับการแพร่กระจายตัวของสารมลพิษทางอากาศในบรรยากาศ ใช้
ประกอบการกำหนดเกณฑ์การลดการระบายสารมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดประเภทต่าง ๆ
ใช้ประกอบการกำหนดสถานที่ที่จะตั้งสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ใช้ประกอบ
การกำหนดมาตรการการควบคุมมลพิษทางอากาศและการวางแผนการใช้ที่ดิน ใช้ในการติดตาม
แนวโน้มปริมาณการระบายสารมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด และใช้ประกอบการประเมิน
ผลความสำเร็จในการควบคุมการระบายอากาศเสียจากแหล่งกำเนิด
        5.5   การติดตามตรวจสอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศ (Air Quality Surveillance)
เป็นการติดตามตรวจวัดความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาศชนิดต่าง ๆ ในบรรยากาศเป็นประจำ
สม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นการประเมินถึงคุณภาพของอากาศในบรรยากาศในพื้นที่ โดย
เปรียบเทียบกับมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศที่กำหนดไว้ และใช้ในการติดตามแนวโน้ม
การเปลี่ยนแปลงของคุณภาพอากาศในบรรยากาศ นอกจากนี้ ยังใช้ประกอบการประเมินผลเสียหาย
หรืออันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ ใช้ประกอบการกำหนดและปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพ
อากาศในบรรยากาศ ใช้ประกอบการพิจารณาว่าจะต้องทำการลดปริมาณการระบายสารมลพิษ
ทางอากาศจากแหล่งกำเนิดลงเท่าใด จึงจะสามารถควบคุมมลพิษทางอากาศ ใช้ประกอบการ
ประกาศใช้แผนฉุกเฉินเพื่อลดและบรรเท่าภาวะมลพิษทางอากาศ และใช้ประกอบการประเมินผล
ความสำเร็จในการควบคุมมลพิษทางอากาศ
         5.6   การติดตามตรวจสอบภาวะทางอุตุนิยมวิทยา (Meteorological Surveillance)  โดยปกติแล้ว จะทำการติดตามตรวจสอบสภาวะทางอุตุนิยมวิทยาไปพร้อม ๆ กับการติดตามตรวจ
สอบคุณภาพอากาศในบรรยากาศ เพื่อให้ทราบถึงความสามารถของบรรยากาศในการแพร่กระจาย
และเจือจางสารมลพิษทางอากาศที่ถูกระบายออกจากแหล่งกำเนิด ตลอดจนทิศฯทาง ความเร็ว และ
ระยะทางในการเคลื่อนที่และแพร่กระจายไปในอากาศของสารมลพิษ นอกจากนนี้ ในการใช้แบบ
จำลองทางคณิตศาสตร์เพื่อคาดประมาณคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ต้องใช้ข้อมูลสภาวะทางอุตุ-
นิยมวิทยาประกอบด้วย เช่น ความเร็วของทิศทางกระแสลม การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของ
บรรยากาศตามระดับความสูง ความเข้มของรังสีแสงอาทิตย์ และความคงตัวของบรรยากาศ และยัง
สามารถใช้ข้อมูลสภาวะทางอุตุนิยมวิทยาในการเลือกสถานที่ตั้งของแหล่งกำเนิดสารมลพิษทาง
อากาศ โดยปกติแล้วความเข้มข้นของสารมลพิษในอากาศจะถูกกำหนดโดยปัจจัย 2 ประการ คือ
ปริมาณสารมลพิษทางอากาศที่ถูกระบายออกจากแหล่งกำเนิด และสภาวะทางอุตุนิยมวิทยา ในแต่
ละวัน ปริมาณสารมลพิษทางอากาศที่ถูกระบายออกจากแหล่งกำเนิด มักจะแปรเปลี่ยนไปไม่มาก
นักเหมือนกับการแปรเปลี่ยนของสภาวะอุตุนิยมวิทยา ดังนั้น สภาวะทางอุตุนิยมวิทยาจะเป็น
ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพอากาศในบรรยากาศ จึงจำเป็นต้องมีการติดตาม
ตรวจสอบสภาวะทางอุตุนิยมวิทยาเป็นประจำสม่ำเสมออย่างต่อเนื่องเช่นเดียวกัน
         5.7   การติดตามตรวจสอบผลเสียหายหรืออันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ    (Air
Pollution Effects Surveillance) เป้าหมายสุดท้ายของการดำเนินการให้มีการจัดการ
คุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ คือ การปกป้องสุขภาพอนามัยของคนเราและสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ
ไม่ให้ได้รับอันตรายจากมลพิษทางอากาศ ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการติดตามตรวจ
สอบเป็นระยะ ๆ ว่ามีผลเสียหายหรืออันตรายที่มีสาเหตุมาจากมลพิษทางอากาศเกิดขึ้นหรือไม่
และหากพบว่ามี จะต้องทำการค้นหาว่าอะไรคือสาเหตุ เพื่อที่จะได้ดำเนินการควบคุมและแก้ไข
ได้ทันท่วงที นอกจากนี้ยังสามารถใช้ในการประเมินผลว่ามาตรการต่าง ๆ ที่กำลังดำเนินอยู่เพื่อ
ควบคุมภาวะมลพิษทางอากาศนั้น เพียงพอหรือไม่อย่างไร 
         5.8   การดำเนินการควบคุมมลพิษทางอากาศ   (Air Pollution Control Activities)
เป็นการกำหนด ดำเนินการ และบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ ในทางปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
คุณภาพอากาศที่กำหนดไว้  คือ ให้มีคุณภาพอากาศที่ดี อยู่ในสภาวะที่จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อ
สุขภาพอนามัยและความผาสุกของมนุษย์ ตลอดจนไม่ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิ่งมีชีวิตและ
สภาวะแวดล้อมต่าง ๆ ด้วยโดยอาจแบ่งเป็น
         *   มาตรการเพื่อลดปริมาณการระบายสารมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด ให้เป็นไปตาม
เป้าหมายของมาตรฐานการระบายอากาศเสียจากแหล่งกำเนิดที่กำหนดไว้ เช่น
            -   บังคับใช้มาตรฐานการระบายอากาศเสียจากแหล่งกำเนิด
            -   ติดตามตรวจสอบแหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศ
            -   ใช้เชื้อเพลิงที่มีมลพิษต่ำ หรือปรับปรุงคุณภาพเชื้อเพลิงให้ดีขึ้น
            -   ปรับปรุงการจราจรให้คล่องตัวขึ้น
            -   การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านอากาศของโครงการต่าง ๆ
            -   เข้มงาดในการออกใบอนุญาตดำเนินการของแหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศต่าง ๆ
         *   มาตรการเพื่อส่งเสริมให้สารมลพิษทางอากาศมีการกระจายตัวได้ดีในบรรยากาศ เช่น
            -   การวางแผนการใช้ที่ดินและการวางผังเมือง
            -   ใช้สภาวะทางอุตุนิยมวิทยา เป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาสถานที่ตั้งของกิจกรรมที่
                สามารถก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศ
            -   การควบคุมการก่อสร้างอาคารและสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ โดยเฉพาะอาคารสูง
            -   การจำกัดปริมาณการระบายสารมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด เมื่อสภาวะทาง
               อุตุนิยมวิทยาไม่เอื้ออำนวยต่อการแพร่กระจายตัวของสารมลพิษของอากาศ
         *   มาตรการเพื่อป้องกันและบรรเทาผลเสียหายหรืออันตรายจากมลพิษทางอากาศที่อาจเกิด
             ต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อม เช่น
            -   การรายงานผลคุณภาพอากาศเป็นประจำ
            -   แผนฉุกเฉิน สำหรับกรณีภาวะมลพิษทางอากาศขั้นวิกฤต
            -   การประชาสัมพันธ์
            -   การสำรวจผลเสียหายหรืออันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศเป็นระยะ ๆ
            -   การป้องกันส่วนบุคคลจากมลพิษทางอากาศ
        5.9   การประชาสัมพันธ์ (Public Relations) จากที่กล่าวมาทั้งหมดข้างต้น จะเห็นได้
ว่าระบบของภาวะมลพิษทางอากาศมีความเกี่ยวข้องกับคนเป็นอย่างมาก การเกิดภาวะมลพิษทาง
อากาศส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากการกระทำของคน ขณะเดี่ยวกัน ผลเสียหายหรืออันตรายจากมลพิษ
ทางอากาศที่สำคัญก็คือ อันตรายที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัยของคน ความเข้าใจและความร่วมมือ
จากประชาชนจึงมีส่วนสำคัญมากต่อความสำเร็จในการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขภาวะมลพิษทาง
อากาศให้ได้ผลอย่างมีประสิทธิภาพ การประชาสัมพันธ์ให้ความรู้และข่าวสารต่าง ๆ แก่ประชาชน
จะทำให้ประชาชนมีความเข้าใจถึงรากฐาน คุณภาพของอากาศและความรุนแรงของปัญหาภาวะ
มลพิษทางอากาศที่เป็นอยู่ รวมทั้งอันตรายที่อาจเกิดขึ้นด้วย ซึ่งมีความสำคัญมากต่อกลุ่มคนบางกลุ่ม
ที่มีความไวต่ออันตรายที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ เช่น เด็ก คนชรา และคนที่เป็นโรคทางเดินหายใจ
เรื้อรัง เป็นต้นเพื่อที่จะได้หาทางป้องกันและหลีกเลี่ยงจากการสัมผัสกับมลพิษทางอากาศ เมื่อเกิดมี
ปัญหาขึ้น การให้ข่าวสารเกี่ยวกับคุณภาพของอากาศเพียงอย่างเดียว ยังไม่เพียงพอที่จะนำไปสู่การ
แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศอย่างจริงจัง จะต้องให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
กับการก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศด้วยว่า จะทำการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขได้อย่างไร ตลอดจน
รับฟังความคิดเห็นและข้อร้องเรียนต่าง ๆ จากสาธารณชนด้วย เพื่อประกอบการวางแผนและกำหนด
มาตรการต่าง ๆ ในการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศต่อไป
6.   ขั้นตอนการดำเนินการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ
         เมื่อได้เข้าใจถึงส่วนประกอบแต่ละส่วนของระบบการจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้านอากาศ
แล้วในลำดับต่อไปจะได้กล่าวถึง ขั้นตอนในการดำเนินการเพื่อให้การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมด้าน
อากาศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และบรรลุเป้าหมายที่ได้กำหนดไว้ ดังแสดงเป็นแผนภูมิอยู่ในรูป
ที่ 6 และรูปที่ 7 และมีรายละเอียดของแต่ละขั้นตอน ดังต่อไปนี้
          *   ทำการศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับผลเสียหายหรืออันตรายของสารมลพิษทางอากาศต่าง ๆ ที่
              ระดับความเข้มข้นและระยะเวลาสัมผัสต่าง ๆ กัน ทั้งผลเสียหายที่เกิดขึ้นต่อสุขภาพอนามัย
              ของคน สัตว์ พืช และวัสดุสิ่งของ
          *   พิจารณาเลือกว่าต้องการที่จะป้องกันผลเสียหายใดไม่ให้เกิดขึ้นในระดับใด
          *   พิจารณากำหนดเป้าหมายคุณภาพอากาศ (Air Quality Goals) ที่ต้องการ หรืออีก
              นัยหนึ่งมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ (Ambient Air Quality Stan
dard)                     ซึ่งระดับความเข้มข้นของสารมลพิษทางอากาสที่ยอมให้มีได้ใน
           บรรยากาศ โดยไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายขึ้น
     *  ทำการติดตาม ตรวจวัด และประเมินผล ความเข้มข้นในบรรยากาศของสารมลพิษทาง
        อากาศประเภทต่าง ๆ
     *  ทำการคำนวณดูว่า หากต้องการที่จะรักษาคุณภาพอากาศในบรรยากาศให้อยู่ภายใต้มาตร
       ฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ ในภาพรวมทั้งหมดแล้ว จะต้องทำการลดปริมาณการ
       ระบายสารมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิดลงเท่าใด
     *  ทำการตรวจวัด หรือคาดประมาณว่า แหล่งกำเนิดแต่ละประเภทที่มีอยู่ในพื้นที่ในขณะนั้น
       มีการระบายสารมลพิษทางอากาศออกสู่อากาศเป็นปริมาณเท่าใด
     *   พิจารณากำหนดเกณฑ์ปริมาณสารมลพิษทางอากาศ ที่จะยินยอมให้ระบายออกสู่อากาศ
       ได้จากแหล่งกำเนิดแต่ละประเภท โดยที่จะไม่ทำให้คุณภาพอากาศเสื่อมโทรมลงจะเกิน
       ระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศ
     *   พิจารณเลือกใช้และกำหนดมาตรการในการลดปริมาณการระบายสารมลพิษทางอากาศ
       จากแหล่งกำเนิด เพื่อให้บรรลุเกณฑ์การระบายสารมลพิษทางอากาศที่กำหนดไว้
     *  พิจารณากำหนดว่า ควรจะต้องเริ่มทำการควบคุมแหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศแต่ละ
       ประเภทเมื่อใด
     *   พิจารณากำหนดมาตรฐานอากาศเสีย หรืออีกนัยหนึ่ง ปริมาณสารมลพิษทางอากาศที่
       ยินยอมให้ระบายออกจากแหล่งกำเนิดสารมลพิษทางอากาศ สำหรับแหล่งกำเนินแต่ละ
       ประเภท
     *   ทำการบังคับใช้มาตรการควบคุมต่าง ๆ รวมทั้งมาตรฐานอากาศเสียจากแหล่งกำเนิดที่
       กำหนดไว้
     *   ทำการติดตามและตรวจสอบการระบายสารมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด รวมทั้ง
       คุณภาพอากาศ เป็นประจำสม่ำเสมออย่างต่อเนื่อง เพื่อให้แน่ใจว่าได้บรรละเป้าหมาย
       คุณภาพอากาศที่ได้กำหนดไว้