บริการของกระทรวงอุตสาหกรรม

I. บริการด้านพัฒนาอุตสาหกรรม

1. งานให้บริการ
* ให้บริการในหลายระดับ ทั้งการจัดฝึกอบรมทางเทคนิค การให้ข้อมูลอุตสาหกรรมและบริการเงินกู้ ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ
*. ให้คำปรึกษาและแนะนำเรื่องการผลิต การจัดการ การออกแบบ การบรรจุหีบห่อและการตลาด เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
* มีศูนย์บริการ one-stop service ในเรื่องของการออกใบอนุญาตประกอบกิจการเพื่อความรวดเร็ว ในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการ

2. ส่งเสริมการลงทุน
* เป็นศูนย์กลางส่งเสริมและประสานงานระหว่างผู้ประกอบการไทยและต่างประเทศ ที่ประสงค์จะหา ผู้ร่วมลงทุนในธุรกิจอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม
* ให้บริการภาคเอกชนในการเลือกและกำหนดโอกาสการลงทุน และอำนวยความสะดวกในการติดต่อ กับนักลงทุน กระทรวงอุตสาหกรรมมีสำนักงานในต่างประเทศอยู่ 4 แห่ง ที่จะอำนวยความสะดวกให้ ในเรื่องดังกล่าว และพร้อมที่จะช่วยส่งเสริมการติดต่อระหว่างนักธุรกิจของไทยกับนักธุรกิจ ต่างประเทศให้กว้างขวางขึ้น

3. กำหนดเขตอุตสาหกรรม
*เพื่อลดความหนาแน่นของอุตสาหกรรมทั้งใ
นเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เพื่อให้เกิดการ กระจายรายได้ไปสู่ชนบท กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นทั่วประเทศ นิคม อุตสาหกรรมเหล่านี้มีความพร้อมทางด้านสาธารณูปโภค และสิ่งอำนวยความสะดวกต่าง ๆ อย่างดีเยี่ยม นอกจากนี้ยังจัดให้มีเขตอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออก ซึ่งแต่ละแห่งให้สิทธิประโยชน์ ด้านภาษีอากรและอำนวยความสะดวกด้านการขออนนุญาตประกอบการต่าง ๆ และสิทธิพิเศษอื่น ๆ เพื่อจูงใจผู้ประกอบการและสนับสนุนการลงทุน

4. การร่วมลงทุน
* กระทรวงอุตสาหกรรมยินดีจะลงทุนร่วมกับเอกชนในโครงการอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และเหมืองแร

II. บริการด้านพัฒนาทรัพยากรมนุษย์

การฝึกอบรม

*กระทรวงอุตสาหกรรมจัดหลักสูตรฝึกอบรมในหลาย ๆ ระดับเป็นประจำ ปีละกว่า 40 หลักสูตร เพื่อ ยกระดับความรู้ ความชำนาญของเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในโรงงาน เจ้าของกิจการและผู้จัดการให้ สูงขึ้น
*จัดฝึกอบรมเพื่อเพิ่มความชำนาญในอุตสาหกรรมสาขาต่าง ๆ อาทิเช่น อุตสาหกรรมโลหะการ งาน หล่อและงานพิมพ์ อุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ไฟเบอร์กลาส และอื่น ๆ ซึ่ง กระทรวงอุตสาหกรรมยินดีจัดฝึกอบรมให้เพื่อเป็นบริการแก่ธุรกิจเอกชน โดยขอให้แจ้งความจำนง มายังกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
*สถาบันฝึกอบรมแห่งใหม่ของกระทรวงอุตสาหกรรมจะจัดการฝึกอบรมหลักสูตรพิเศษ โดยมุ่งเน้นให้ ผู้รับการฝึกอบรมได้เรียนรู้เทคโนโลยีและเทคนิคประกอบการอุตสาหกรรมที่ก้าวหน้าโดยเฉพาะ เพื่อ รองรับกับความต้องการแรงงานที่มีฝีมือของภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง

III. มาตรฐานและคุณภาพ

ปัจจุบันประเทศไทย โดยสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ได้ดำเนินการด้านมาตรฐาน และคุณภาพในระดับมาตรฐานสากล เพื่อประโยชน์แก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมของไทยดังนี้

1. การรับรองคุณภาพ
*ให้การรับรองคุณภาพผลิตภัณฑ์โดยการออกใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน
* ให้การรับรองระบบคุณภาพ มอก.-ISO 9000
* ให้การรับรองห้องปฏิบัติการภายในประเทศ

2. การทดสอบ
* ให้บริการทดสอบแก่อุตสาหกรรม เพื่อรองรับคุณภาพของผลิตภัณฑ์และพัฒนามาตรฐาน ผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมใหม่ ๆ

3. การฝึกอบรม
* ให้บริการจัดฝึกอบรม เรื่องมาตรฐานและคุณภาพ ISO 9000 และการรับรองห้องปฏิบัติการแก่ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน

4. การส่งเสริมมาตรฐานและอุตสาหกรรม
*ส่งเสิรมให้มีการนำมาตรฐานและคุณภาพไปใช้อย่างกว้างขวาง
*ส่งเสริมผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และกระบวนการผลิตที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

5. กิจการในอนาคต
* ส่งเสริมและให้การรับรองระบบการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของโรงงาน (ISO 14000)
* โครงการฉลากสีเขียวเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
* การให้การรับรองหน่วยงานที่จะดำเนินการรับรองคุณภาพตามมาตรฐาน ISO 9000 และ
ISO 14000
* เป็นศูนย์ตอบข้อซักถามของความตกลง 2 ฉบับ คือ Agreement on Technical Barriers to Trade และ Agreement on Phytosanitary and Sanitary ให้กับสมาชิก WTO รวมทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนในประเทศ

IV. สิ่งแวดล้อม

กระทรวงอุตสาหกรรมตระหนักถึงความสำคัญของมาตรการที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จึงกำหนดมาตร การใหม่ ๆ เพื่อแก้ไขมลภาวะอันเกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม ดังนี้

1. ข้อมูลสนเทศ
*จัดระบบข้อมูลเกี่ยวกับของเสีย
* จัดระบบข้อมูลเกี่ยวกับการควบคุมและการป้องกันปัญหาด้านมลพิษอุตสาหกรรม

2. การให้การส่งเสริมและบริการ
* การให้บริการบำบัดกากอุตสาหกรรมแก่ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรม
* ส่งเสริมให้มีการลงทุนในธุรกิจสิ่งแวดล้อม
* จัดโครงการเพื่อพัฒนาทักษะและความชำนาญของภาครัฐในเรื่องของเทคโนโลยีที่สะอาด
* การตรวจสอบมลพิษจากท่อไอเสียของยานพาหนะ

V. แร่ธาตุและพลังงาน

ระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายที่จะพัฒนาทรัพยากรแร่และพลังงานของประเทศด้วยมาตรการ
ต่าง ๆ คือ

1. ด้านการส่งเสริม
*กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับบริษัทเอกชน ได้สำรวจและแสวงหาแหล่งปิโตรเลียม ทั้งในประเทศ และจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า มาเลเซีย และเวียดนาม เพื่อจัดหาให้มีปริมาณเพียงพอต่อ ความต้องการของประเทศในอนาคต
* จัดจำหน่ายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งในประเทศและจากประเทศเพื่อนบ้าน โดยลงทุนสร้างท่อส่ง ก๊าซและจัดส่งให้โรงงานของลูกค้า
* ร่วมลงทุนกับภาคเอกชนจัดตั้งโรงกลั่นน้ำมันในประเทศ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านการ จัดหาพลังงานของประเทศ
* ส่งเสริมให้มีการนำก๊าซธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ
* ร่วมลงทุนกับประเทศสมาชิกอาเซียน ผลิตปุ๋ยโปแตช จำหน่าายให้แก่ประเทศสมาชิกอาเซียนและ ใช้ภายในประเทศ

2. ด้านการพัฒนา
* ดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในการกำหนดราคาขายปลีกของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมภายใน ประเทศให้สอดคล้องกับราคาน้ำมันในตลาดโลก
* กำหนดมาตรการเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการพัฒนาและการผลิตพลังงาน โดยจัดหาผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ช่วยลดมลพิษ อาทิเช่น จัดหาน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว น้ำมันดีเซล ชนิดกำมะถันต่ำ ใช้ในธุรกิจขนส่งและจัดหาน้ำมันเตากำมะถันต่ำเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น
*สนับสนุนให้มีการขนส่งน้ำมันทางท่อ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งให้เป็นระบบที่ทันสมัย มีความปลอดภัยสูง ลดอุบัติเหตุและมลพิษทางอากาศ ทั้งยังช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด ในกรุงเทพมหานครและปริมาณฑล

*****************************