สรุปสาระสำคัญ แผนแม่บทอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2540-2544)

แผนแม่บทอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2540-2544) เป็นแผนที่กระทรวงอุตสาหกรรมจัดทำขึ้น สำหรับใช้เป็นส่วนหนึ่งของนโยบายส่วนรวม และได้คำนึงถึงแผนความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับภาค เศรษฐกิจอื่น และระบบเศรษฐกิจ เพื่อกำหนดกรอบแนวทางพัฒนาอุตสาหกรรมที่เหมาะสม และมี แนวทาง/มาตรการที่สอดคล้องกับภาวะการณ์ในปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์หลัก ให้ภาคอุตสาหกรรม สามารถปรับตัวเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทั้งด้านประสิทธิภาพและคุณภาพให้สอดคล้อง กับสภาพการแข่งขันในตลาดโลก

แผนแม่บทอุตสาหกรรม ฉบับที่ 1 นี้ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน 2539 โดยมีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้.-

ภาพรวมเศรษฐกิจไทย
-เศรษฐกิจไทยมีการขยายตัวสูง ระหว่างปี 2539-2538 มีอัตราขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 9.4
-โครงสร้างทางเศรษฐกิจ เปลี่ยนจากการพึ่งพาภาคเกษตรเป็นหลักมาเป็นภาคอุตสาหกรรม มีความ สำคัญ โดยในปี 2538 มีสัดส่วนใน GDP ร้อยละ 32 ขณะที่ภาคเกษตรมีสัดส่วนร้อยละ 11
-เป็นเศรษฐกิจเปิดมากขึ้น มีองศาการเปิดประเทศสูงถึงร้อยละ 92 ในปี 2538
-โครงสร้างการส่งออกเปลี่ยนจากสินค้าเกษตรเป็นหลัก มาเป็นสินค้าอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2538 โดย ในปี 2538 มีสัดส่วนเป็นร้อยละ 82 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด

ภาคอุตสาหกรรมของไทย
-ภาคอุตสาหกรรมมีการขยายตัวสูงกว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมมาโดยตลอด โดยมีอัตรา การขยายตัวเฉลี่ยร้อยละ 11 ต่อปี ในระหว่างปี 2523-2536
- อุตสาหกรรมเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญของประเทศ และมีการขยายตัวสูง โดยระหว่างปี 2529-2538 มีการขยายตัวถึงร้อยละ 23 ต่อปี สินค้าส่งออกที่สำคัญส่วนใหญ่เป็นสินค้าที่ใช้แรงงานเป็น ปัจจัยการผลิตหลัก ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม คอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณีและ เครื่องประดับ และเครื่องใช้ไฟฟ้า
-แม้อุตสาหกรรมจะมีความสำคัญต่อการส่งออกและสัดส่วน GDP แต่บทบาทต่อการจ้างงานยังต่ำอยู่ โดยมีสัดส่วนต่อการจ้างงานรวมเพียงร้อยละ 13 ในปี 2538 ขณะที่ภาคเกษตรมีสัดส่วนร้อยละ 5
-ลักษณะที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ โรงงานอุตสาหกรรมมีการกระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล

สาเหตุของการเจริญเติบโต
สาเหตุที่ทำให้ภาคอุตสาหกรรมไทยในระยะที่ผ่านมามีการขยายตัวสูงอย่างต่อเนื่อง เนื่องมาจาก ปัจจัยภายนอก ปัจจัยภายใน และนโยบายของรัฐบาลหลายประการคือ
-ค่าเงินเยนของญี่ปุ่น และค่าแรงในประเทศ Asian NICS สูงขึ้นทำให้เกิดการย้ายฐานการผลิตมาไทย และอุตสาหกรรมส่งออกของไทยที่ใช้แรงงานมากมีความได้เปรียบโดยเปรียบเทียบ
- นโยบายของรัฐบาลที่มีทั้งปกป้อง คุ้มครองและส่งเสริมในอุตสาหกรรมส่งออก และอุตสาหกรรม พื้นฐาน อย่างต่อเนื่องมาตลอดตามลำดับ
-ค่าแรงในระดับต่ำและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ โดยเฉพาะผลผลิตการเกษตรในอดีต ก็เป็นปัจจัยภายในที่เกื้อหนุนต่อการขยายตัวของอุตสาหกรรมไทยในช่วงที่ผ่านมา
แต่ในระยะ 10 ปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน สภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวด เร็ว ซึ่งได้แก่
-การเจรจาค้าหลายฝ่ายประสบผลจนมีการจัดตั้งองค์การการค้าโลก (WTO) ทำให้ประเทศสมาชิกต้อง ปรับลดการดีกกันและการอุดหนุนทั้งในแง่การผลิตและการส่งออกลง
-มีการนำมาตรการกีดกันใหม่ ๆ มาใช้ในด้านการค้าระหว่างประเทศ ได้แก่ คุณภาพ มาตรฐาน
สุขอนา มัย สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรมทางการค้า ซึ่งมักสร้างข้อจำกัดในการส่งออก
ให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา นอกจากนี้ GSP ที่ไทยเคยได้รับก็ได้ถูกจำกัดหรือตัดทอนอย่างต่อเนื่อง
-การรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจที่ไทยเป็นสมาชิก ได้แก่ AFTA และ APEC มีผลให้ต้องปรับลดการ คุ้มครอง รวมทั้งการมีข้อตกลงทางการค้าที่ไทยไม่ได้เป็นสมาชิก ได้แก่ ANFTA และ EU มีผลให้ เกิดการเบี่ยงเบนทางการค้าไปสู่ประเทศสมาชิกในกลุ่มมากขึ้น ซึ่งมีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทย
-มีสัญญาณจากการส่งออกในช่วงครึ่งแรกของปี 2539 ที่มีการชะลอตัวลง โดยมีการขยายตัวเพียง ร้อยละ 5 และมีการขยายตัวของการส่งออกติดลบในสินค้าบางรายการ เช่น รองเท้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก ผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ปลากระป๋อง เป็นต้น เนื่องมาจากความได้เปรียบด้านค่าแรงลดลง
-ปัจจุบันได้เกิดข้อจำกัดที่สำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมขึ้น 2 ประการ คือ
1. นโยบายคุ้มครองและส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศถูกจำกัดจากข้อผูกพันและกติกาการค้า- การลงทุนใหม่ ๆ
2. ระยะ 5 ปี ข้างหน้าจะมีข้อจำกัดด้านการจัดหาทุนจากต่างประเทศ เนื่องจากการขาดดุลบัญชีเดิน สะพัดที่สะสมมาจนปัจจุบัน

ความจำเป็นในการมีแผนแม่บท
สภาพการณ์ดังกล่าวข้างต้น ได้ส่งผลให้เกิดปรากฏการณ์ที่แสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอของ อุตสาห กรรมส่งออกของไทย จึงจำเป็นต้องมีแนวทางในระยะยาวที่ชัดเจน เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมไทยมี ความพร้อมที่จะเผชิญกับการแข่งขันทุกรูปแบบ และสามารถขยายตัวต่อไปได้อย่างต่อเนื่องมั่นคง รวมทั้งกรอบแนวทางมาตรการที่จำเป็นที่จะปฏิบัติร่วมกัน เพื่อให้อุตสาหกรรมไทยสามารถปรับตัว เข้ากับสภาพแวดล้อมใหม่ในระบบเศรษฐกิจโลก

แนวทางและมาตรการ
แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมแผนแม่บทนี้ จะเน้นบทบาทของกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหลัก แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

1. แนวทางและมาตรการทั่วไป
1.1 การแก้ปัญหาโครงสร้างอุตสาหกรรมโดยจะต้อง
-จัดลำดับความสำคัญในการลงทุน ซึ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพของอุตสาหกรรมขนาดกลาง/ขนาดย่อม
(SMIS) โดยยังต้องส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศต่อไป
-แก้ปัญหาความขัดแย้งทางโครงสร้างระหว่างอุตสาหกรรม โดยใช้นโยบายภาษีที่เป็นกลาง
1.2 ปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต และเพิ่มคุณภาพผลผลิต โดยขจัดปัญหาลดต้นทุนสินค้าส่งออก ปรับปรุงประสิทธิภาพคุณภาพ และมาตรฐานการผลิต โดยเฉพาะใน SMIS
1.3 ส่งเสริมความเชื่อมโยงของอุตสาหกรรมที่เกื้อหนุนกัน (Supporting Industry)
1.4 จัดให้มีโครงการสร้างพื้นฐานทางการค้าภายในประเทศ ไม่ให้ประสบกับภาวะการแข่งขันที่ไม่เป็น ธรรม ซึ่งได้แก่
-ออกกฏหมายป้องกันการทุ่มตลาด (Anti-Dumping) และการตอบโต้ การอุดหนุน (Countervailing Duty) เป็นการเร่งด่วน
-ศึกษาวิธีการควบคุมการนำเข้าสินค้าบางประเภทผ่านมาตรการที่เป็นที่ยอมรับทางสากล
-จัดระบบการทำงานของรัฐเพื่อรองรับมาตรการข้างต้น

2. แนวทางและมาตรการเฉพาะด้าน
แผนแม่บทได้กำหนดแนวทางและมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมเฉพาะด้านไว้ 6 ประการ คือ
2.1 อุตสาหกรรมส่งออก เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมส่งออกไทยให้ทัน กับการเปลี่ยนแปลงของโลก
แนวทาง ส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมเฉพาะประเภทขึ้น
มาตรการ
(1) สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันอิสระของกลุ่มอุตสาหกรรมส่งออก
(2) สนับสนุนงบประมาณ เพื่อจัดตั้งศูนย์ทดสอบที่จำเป็น
(3) สนับสนุนการกระจายงานรับรองมาตรฐานให้กับสถาบันอิสระดังกล่าว
(4) ส่งเสริมให้มีระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning)
(5) สนับสนุนการจัดตั้ง EPZ และเขตประกอบการอุตสาหกรรม

2.2 อุตสาหกรรมขนาดกลาง/ขนาดย่อม (SMIS) เพื่อยกระดับขีดความสามารถของ SMIS โดยเฉพาะในด้านประสิทธิภาพการผลิตและคุณภาพผลิตภัณฑ์
แนวทาง กำหนดให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญกับ SMIS ในลำดับต้น ๆ และหาวิธี
ส่งเสริม/สนับสนุน SMIS

มาตรการ
(1) สนับสนุนงบประมาณและบุคลากรแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(2) เพิ่มงบประมาณให้สถาบันเพิ่มผลผลิต เพื่อใช้สนับสนุน SMIS ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50
(3) สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันอิสระที่ทำ R & D ให้ SMIS
(4) สนับสนุนการรวมตัวในระดับประเทศของ SMLSในลักษณะของสหพันธ์
(5) จัดตั้งศูนย์บริการแบบเบ็ดเสร็จ (One Stop Service)

2.3 การพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมรายสาขา เพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างของอุตสาหกรรมรายสาขา ให้เข้มแข็ง ยืดหยุ่น และสอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป

แนวทาง แยกอุตสาหกรรมรายสาขาออกเป็นกลุ่ม ๆ ส่งเสริมโดยใช้มาตรการทางภาษีที่เป็นกลาง และไม่ใช้มาตรการส่งเสริมที่ไม่เป็นที่ยอมรับทางสากล

มาตรการ จัดทำแผนแม่บทหรือแผนกลยุทธพัฒนาอุตสาหกรรมรายสาขาให้แล้วเสร็จภายใน 1 ปี
2.4 การย้ายฐานการผลิตภายในประเทศ เพื่อกระจายความเจริญและรายได้ไปสู่ภูมิภาครวมทั้งลด ต้นทุนการผลิตด้านค่าแรง ค่าขนส่ง สิ่งแวดล้อม และปัญหาสังคม

แนวทาง จัดพื้นที่เฉพาะเพื่อรองรับการย้ายฐานการผลิต และกำหนดเป้าหมายเร่งด่วนของอุตสาหกรรม ที่ควรมีการย้ายฐานเป็นรายประเภท

มาตรการ
(1) สนับสนุนการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมขึ้นมารองรับการย้ายฐานการผลิตในภูมิภาค
(2) สนับสนุนทางการเงินในการย้ายฐาน
(3) สนับสนุนงบประมาณและบุคลากรให้แก่โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชนและชนบทของ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.)
(4) กำหนดให้มีแผนยุทธศาสตร์การลงทุนอุตสาหกรรมในพื้นที่กลุ่มจังหวัด
(5) ปรับปรุงระบบตรวจสอบโรงงาน โดยให้ กสอ.เข้ามาร่วมมีบทบาทในการดูแลช่วยเหลือ

2.5 การจัดการเทคโนโลยีและการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและยกระดับ เทคโนโลยีการผลิตของอุตสาหกรรมไทย

แนวทาง กำหนดให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นเงื่อนไขหนึ่งในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และให้ ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรของ SMLS

มาตรการ
(1) กำหนดสิทธิประโยชน์การลงทุนให้สัมพันธ์กับการถ่ายทอดเทคโนโลยี
(2) จัดตั้งกองทุนเพื่อการปรับเปลี่ยนเครื่องจักร
(3) เร่งรัดการผลิตกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
(4) สนับสนุนการรับช่วงการผลิตระหว่างอุตสาหกรรมขนาดใหญ่กับ SMLS

2.6 การจัดการสิ่งแวดล้อมทางอุตสาหกรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและ อุบัติภัยทางอุตสาหกรรม

แนวทาง กำหนดยุทธศาสตร์การจัดการด้านสิ่งแวดล้อมและอุบัติภัยในเชิงรุกรวมทั้งเข้มงวดที่จะใช้้ หลักการ "ผู้สร้างมลพิษเป็นผู้จ่าย" (Polluter-Pays-principle) และ "กันไว้คุ้มกว่าแก้"

มาตรการ
(1) กำหนดเกณฑ์ในรายละเอียดเพื่อนำหลักการ "ผู้สร้างมลพิษเป็นผู้จ่าย" และ "กันไว้คุ้มกว่าแก้" มาใช้
(2) จัดทำแผนแม่บทกำจัดกากให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน
(3) ให้กระทรวงอุตสาหกรรม ดูแลผลประโยชน์ของประเทศให้สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ ด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัย สุขอนามัยของประชาชน

*****************************************