สรุปบทบาทของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดในการร่วมมืออำนวยสินเชื่อกับ บอย.
ตามนโยบายของกระทรวงอุตสาหกรรม

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด
บอย.

1.ประชาสัมพันธ์สินเชื่อเชิงรุก (ส่งเจ้าหน้าที่
เข้าหากลุ่มลูกค้าเป้าหมาย)

2. รับคำร้องขอกู้เงิน และรวบรวมข้อมูลจำเป็น ที่ใช้ในการวิเคราะห์โครงการ และส่งต่อให้ บอย. วิเคราะห์ในรายละเอียด

3. ดำเนินการตามข้อ 2 และวิเคราะห์โครงการเบื้องต้น (โครงการขนาดเล็ก) และส่งต่อให้ บอย. กลั่นกรอง หรือ อนุมัติ (หากมีขีดความสามารถ)

4. ตั้งเป้าหมาย จำนวนราย (โครงการ) และจำนวนเงินกู้
ที่แต่ละจังหวัด คาดว่าจะผลักดันให้ผ่านการอนุมัติจาก
บอย. (ในปีงบประมาณ 2542)

5. การตั้งเป้าหมายตามข้อ 4 (ให้หารือกับ บอย.ด้วย)
และรายงานผลการดำเนินงานให้กระทรวงทราบทุก
เดือน โดยผ่านกองแผนงานและประสานราชการ สปอ.
หมายเหตุ อุตสาหกรรมเป้าหมายหรือลูกค้า เป้าหมายคือ สาขาอุตสาหกรรมตามแผน ปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม หรือตามที่ บอย. กำหนด

1. สนับสนุนด้านเอกสารและข้อมูล

 

2. จัดการฝึกอบรมเกี่ยวกับการรวบรวมข้อมูล
และหลักการวิเคราะห์สินเชื่อเบื้องต้น และสนับสนุน
ปัจจัยอำนวยความสะดวกที่จำเป็น

3.. เช่นเดียวกับ 2

4. ประสานงานกับสำนักงานอุตสาหกรรม จังหวัดกำหนดเป้าหมายของแต่ละจังหวัด ให้ชัดเจน.

 

 

 

 

 

 

 

 

แนวนโยบายเกี่ยวกับการพัฒนาธุรกิจชุมชนของกระทรวงอุตสาหกรรม

แนวความคิดในปัจจุบัน เน้นให้มีการพัฒนาสังคมชนบทให้มีความมั่นคง เป็นหลักที่สำคัญของการ พัฒนาเศรษฐกิจประเทศ โดยมุ่งเป้าหมายไปที่การพัฒนาคนในชุมชน ธุรกิจชุมชน หรือในส่วนที่รับผิดชอบ ของกระทรวงอุตสาหกรรม คือ อุตสาหกรรมชุมชน ก็เป็นกิจกรรมหนึ่งที่สำคัญในการพัฒนาคน องค์กร ชุมชน รวมทั้งสร้างรายได้ให้แก่ชาวบ้านในชนบท ความกินดี อยู่ดี และพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น รวมทั้ง ก่อให้เกิดการเรียนรู้ และพัฒนาศักยภาพของตนเองให้สามารถแข่งขันกับความเปลี่ยนแปลงของประเทศ และของโลกได้

แนวทางในการดำเนินการในการพัฒนาอุตสาหรรมชุมชน ของกระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญต่อการ ดำเนินธุรกิจเอกชนเข้ามาช่วยในการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชน บางหลักการขอให้ธุรกิจเอกชนช่วยในทาง อื่น เช่น การบริจาคเงินเพื่อช่วยชุมชน เป็นต้น ทั้งนี้เพราะการที่ธุรกิจเอกชนเข้ามาช่วย และทำธุรกิจร่วมกับ ชุมชน จะส่งผลดีต่อสังคมชนบทในวงกว้าง ทั้งธุรกิจเอกชนและชุมชนต่างก็ได้รับผลประโยชน์ ซึ่งสามารถ ดำเนินกิจกรรมได้อย่างต่อเนื่อง และมีการขยายพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว ในขณะที่การบริจาคจะทำได้ไม่มาก เนื่องจากข้อจำกัดด้านการเงินของธุรกิจเอกชนเอง

ในการพัฒนาอุตสาหกรรมชุมชน จะต้องมีองค์กรหลัก ซึ่งปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบให้ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นผู้ดูแล องค์กรหลักก็จะมีหน้าที่ในการจัดระบบงาน และประชาสัมพันธ์ ผลงานให้เป็นที่รู้จักแพร่หลาย แต่ประการสำคัญ คือ จะต้องประสานกับหน่วยปฏิบัติในภูมิภาค ให้งานมีผล กระทบถึงชุมชนนี้ ซึ่งหมายถึง จะต้องทำงานร่วมกันกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด และศูนย์ส่งเสริม อุตสาหกรรมภาค ทั้งสองหน่วยงานจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบในพื้นที่ ชักจูงให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมใน โครงการ กำกับดูแลองค์กรพัฒนาเอกชนที่เข้ามาช่วยดำเนินงานในโครงการ การพัฒนาที่ได้ผลสูงสุด ควร เป็นการรวมพลังของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง โดย

-ภาครัฐ คือ กระทรวงอุตสาหกรรม ในด้านนโยบาย ระบบจูงใจด้านภาษีอากรและการจูงใจอื่น โครงสร้าง พื้นฐาน เป็นต้น
-องค์กรธุรกิจเอกชน ในต้นทุนดำเนินงาน เทคโนโลยี การตลาด และการบริหารจัดการ
-องค์การชุมชน ซึ่งจะเข้ามาช่วยดูแลชุมชน ความเข้าใจถึงปัญหาของชุมชน และความต้องการของชุมชน จะมีส่วนช่วยให้มีความเข้าใจกันมากขึ้น
-องค์กรพัฒนาเอกชน ซึ่งจะช่วยในด้านการปฏิบัติงาน เพื่อพัฒนาชุมชน และประสานงานระหว่างองค์กร ชุมชน และองค์กรภายนอก

**************************