นโยบายการดำเนินงาน ของ กระทรวงอุตสาหกรรม
ภายใต้แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม
และมาตรการบรรเทาปัญหาการว่างงาน และส่งเสริมการจ้างงานภาคอุตสาหกรรม

1. บทเกริ่นนำ

* ในโอกาสที่มีการจัดสัมมนาอุตสาหกรรมจังหวัดและศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคในวันนี้ ขอมอบนโยบาย การดำเนินงานที่ต้องเร่งรัดเพื่อสนองนโยบายการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล โดยใช้กรอบของแผนปรับ โครงสร้างอุตสาหกรรม และภารกิจในการส่งเสริมการจ้างงานภาคอุตสาหกรรมเป็นสำคัญ

2. ความเป็นมาของแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม

* แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม เป็นแผนซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้เป็นแกนกลางจัดทำขึ้นโดยการมี ส่วนร่วมอย่างกว้างขวางจากหน่วยงานและผู้เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน มีวัตถุประสงค์เพื่อขจัดหรือ ลดปัญหาความอ่อนแอในโครงสร้างของอุตสาหกรรมไทย และมุ่งให้เกิดการปรับตัวไปสู่การผลิตสินค้า อุตสาหกรรมที่มีคุณภาพและมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นมีขีดความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกสูงขึ้น ส่งผลใน การกระจายงานและรายได้ไปสู่ชนบท และลดผลกระทบในทางลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เนื่องจาก
หลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่เคยได้รับฟังเกี่ยวกับแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม จึงขอท้าวความโดยสรุป ดังนี้

* ปัญหาความอ่อนแอในโครงสร้างของอุตสาหกรรมไทย เมื่อมองในภาพรวมทั้งหมด พบว่ามีปํญหาสำคัญ อยู่หลายประการ ที่สำคัญที่สุดคือ

* ผลิตภาพของอุตสาหกรรมอยู่ในเกณฑ์ต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่งในตลาดโลก โรงงานส่วนใหญ่ใช้ เครื่องจักและเทคโนโลยีล้าสมัยที่ได้นำเข้ามาเมื่อกว่า 10-20 ปีมาแล้ว ทำให้ประสิทธิภาพและคุณภาพ ของสินค้าที่ผลิตได้ต่ำกว่าคู่แข่ง

* ความสามารถในการเจาะตลาดและขยายช่องการการตลาดยังไม่เข้มแข็ง การส่งออกส่วนใหญ่เป็นการ ขายให้กับ importers ซึ่งให้ผลกำไรต่ำ อาจจะเพียง 2-3% ถ้าสามารถเจาะเข้าไปถึง retailers หรือ designers ของต่างประเทศจะได้ราคาดีกว่ามาก สินค้าแต่ละชนิดในแต่ละประเทศ ก็มีช่องทางจำหน่าย ที่แตกต่างกันไป ซึ่งผู้ส่งออกต้องศึกษาและต้องพยายามสร้างพันธมิตรร่วมค้าในประเทศผู้ซื้อ

* แรงงานในภาคอุตสาหกรรมของไทย ส่วนใหญ่ (ประมาณ 3 ใน 4) เป็นแรงงานไร้ฝีมือ ระดับการศึกษา โดยเฉลี่ย เพียงชั้นประถม 4 จึงกลายเป็นข้อจำกัดในการเรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีและเครื่องจักรสมัยใหม่ หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมปรับปรุงคุณภาพและประสิทธิภาพการผลิต

*เราขาดแคลนอุตสาหกรรมสนับสนุนที่หลากหลาย ทำให้ต้องนำเข้าเครื่องจักรวัสดุ และชิ้นส่วนเป็นมูลค่าสูง ทุกปี สินค้าอุตสาหกรรมหลาย ๆ ประเภทที่เราส่งออกได้มาก แต่มูลค่าเพิ่มที่เกิดขึ้นในประเทศก็ไม่ได้สูง เท่าที่ควร

* การวิจัยและพัฒนาในประเทศยังไม่เข้มแข็ง ทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รูปแบบสินค้าเพื่อให้มีมูลค่า เพิ่มสูงขึ้น หรือการพัฒนาและประยุกต์เทคโนโลยีที่ได้ลงทุนนำเข้ามาแล้ว ให้ใช้ประโยชน์ได้คุ้มค่าสำหรับ วัตถุดิบและสภาพการผลิตในประเทศ

*อุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดเล็ก หรือที่เรียกว่า SME ซึ่งต้องถือเป็นฐานรากที่สำคัญของภาค อุตสาหกรรม ยังมีความอ่อนแออยู่มาก ในเรื่องการบริหารการจัดการ ในประเทศที่พัฒนาแล้วจะให้ความ สำคัญต่อการพัฒนา SME เป็นอย่างมาก

* และปัญหาสำคัญอีกข้อหนึ่งที่จะมองข้ามไปไม่ได้ คือการกระจุกตัวของโรงงานในกรุงเทพฯ และ ปริมณฑล ซึ่งส่งผลกระทบหลาย ๆ ด้าน ทั้งปัญหามลภาวะ ปัญหาสภาพความเป็นอยู่ที่แออัดของแรงงาน มี ผลถึงจิตใจและประสิทธิภาพการทำงานการเปลี่ยนแปลงบ่อย ๆ เพื่อให้ได้ปรับอัตราค่าจ้าง แต่ไม่มีโอกาส ได้ยกระดับฝีมือหรือพัฒนาผลิตภาพ ธุรกิจเองก็ไม่สามารถขยายพื้นที่การผลิต มีปัญหาการขนส่งและค่าใช้ จ่ายสูง สังคมชนบทขาดความสมดุลเพราะขาดแรงงานหนุ่มสาว

* เพื่อปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรม จึงได้เสนอแผนแม่บทการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมประกอบด้วย 8 แผนงาน คือ

* แผนงานที่ 1 ปรับปรุงผลิตภาพและปรับกระบวนการผลิตให้มีต้นทุนและการส่งมอบสินค้าที่แข่งขันได้
* แผนงานที่ 2 ยกระดับขีดความสามารถทางเทคโนโลยี และปรับเปลี่ยนเทคโนโลยีและเครื่องจักรใน อุตสาหกรรมเป้าหมาย
* แผนงานที่ 3 ยกระดับขีดความสามารถของแรงงาน ไปสู่แรงงานฝีมือในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
* แผนงานที่ 4 บ่มเพาะและเสริมสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมสนับสนุนขนาดกลางและขนาดย่อม
* แผนงานที่ 5 ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ รูปแบบผลิตภัณฑ์ และช่องทางการจำหน่ายในตลาดโลก
* แผนงานที่ 6 กระจายและเคลื่อนย้ายหน่วยผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นและมีมลภาวะน้อยไปสู่ภูมิภาค และชนบทเพื่อกระจายงานและรายได้
* แผนงานที่ 7 ชักจูงการลงทุนจากต่างประเทศ ในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสำหรับอนาคต
* แผนงานที่ 8 จัดระบบอุตสาหกรรมที่มีมลภาวะสูง และส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสะอาดเพื่อลดมลภาวะ อุตสาหกรรม

*จากกรอบของแผนแม่บทฯ ได้มีการจัดประชุมระดมความคิดเพื่อประเมินสภาะและปัญหาของ อุตสาหกรรมแต่ละสาขา รวม 13 สาขา มีการลงคะแนนจัดลำดับความสำคัญของปัญหา มีการกำหนด วิสัยทัศน์ของอุตสาหกรรม ซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่จะพัฒนาไปให้ถึงใน 5 ปีข้างหน้า มีการกำหนดกลยุทธ์ ในการพัฒนาและปรับปรุงอุตสาหกรรมแต่ละสาขา และมีการจัดทำข้อเสนอโครงการจากหน่วยงานต่าง ๆ กว่า 50 หน่วยงาน บรรจุไว้ในแผนปฏิบัติการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม

* อุตสาหกรรม 13 สาขา ที่อยู่ในแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ได้แก่
01- อาหารและอาหารสัตว์
02- สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม
03- รองเท้าและเครื่องหนัง
04- ผลิตภัณฑ์ไม้และเครื่องเรือน
05- ยาและเคมีภัณฑ์
06- ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง
07- ผลิตภัณฑ์พลาสติก
08- เซรามิกส์และแก้ว
09- เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
10- ยานยนต์และชิ้นส่วน
11- อัญมณีและเครื่องประดับ
12- เหล็กและเหล็กกล้า
13- ปิโตรเคมี
แต่ละสาขาที่กล่าวถึงนี้ ยังครอบคลุมประเภทกิจการย่อย ๆ ลงไปอีก เช่น สาขาสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ครอบคลุมตั้งแต่การผลิตเส้นใยเส้นด้าย การผลิตผ้าผืน ผ้าทอ ผ้าถัก การฟอก ย้อม พิมพ์ ตกแต่งสำเร็จ ไปจนถึงการผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป เมื่อรวมทั้ง 13 สาขาแล้ว จะครอบคลุมจำนวนโรงงานกว่าร้อยละ 90 ของจำนวนโรงงานทั้งหมด

*แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมนี้ ได้มีการนำเสนอและได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีมาเป็น ลำดับชั้น คือ
แนวทางการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ได้รับความเห็นชอบเมื่อ 30 กันยายน 2540
แผนแม่บทการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม ได้รับความเห็นชอบเมื่อ 20 มกราคม 2541
กลยุทธ์หลัก วิสัยทัศน์และกลยุทธ์อุตสาหกรรม 13 สาขา ได้รับความเห็นชอบเมื่อ 31 มีนาคม 2541
แผนปฏิบัติการ ได้รับความเห็นชอบเมื่อ 16 มิถุนายน 2541

*แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม เป็นแผนระยะ 5 ปี ตั้งแต่ปี 2541 ถึง 2545 ในแผนปฏิบัติการ ประกอบด้วยโครงการต่าง ๆ กว่า 400 โครงการ ซึ่งจะดำเนินการโดยหน่วยงานของราชการและเอกชน เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงแรงงาน กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงการคลัง สภาอุตสาหกรรมฯ สมาคมอุตสาหกรรม และสถาบันอิสระต่าง ๆ เป็นต้น
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโครงการเหล่านี้ มีทั้งที่ใช้งบประมาณของราชการ งบปกติของหน่วยงาน เอกชน และที่จะใช้เงินกู้จากต่างประเทศ ซึ่งได้เสนอไว้ในวงเงิน 1,192 ล้านเหรียญสหรัฐ
เงินกู้จากต่างประเทศนี้ ส่วนใหญ่ (ประมาณ 995 ล้านเหรียญสหรัฐ) จะนำมาปล่อยกู้ต่อให้กับธุรกิจ เอกชน เพื่อนำไปใช้ลงทุนปรับปรุงเครื่องจักรและสายการผลิต กระจายการผลิตไปยังภูมิภาค หรือจ้าง ผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษาแนะนำเพื่อปรับปรุงกิจการ ฯลฯ โดยมีหลักการว่าธุรกิจที่ขอกู้จะต้องผ่านกระ บวนการประเมินสถานประกอบการ และมีผู้เชี่ยวชาญให้การรับรองว่าเป็นโครงการที่เหมาะสมและมี ศักยภาพที่จะสร้างรายได้เพื่อนำมาชำระคืนเงินกู้

3. การเร่งรัดดำเนินงานตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม

*มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้รวมการเร่งรัดดำเนินงานตามแผนปรับโครงสร้าง อุตสาหกรรม เป็น 1 ใน 25 มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงครึ่งหลังของปี 2541 ของรัฐบาล โดยจะ นำเงินกู้จากต่างประเทศจำนวน 122.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณเกือบ 5,000 ล้านบาท) มาใช้สนับ สนุนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมในปี 2541 นี้ด้วย

* เนื่องจากแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมเป็นแผนซึ่งมีเนื้อหาสาระครอบคลุมกว้างขวางมาก แต่ละ ประเทศกำลังอยู่ในภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการเงิน ซึ่งมีผลกระทบถึงการจ้างงาน รัฐบาล จึงเน้นให้เร่งรัดการดำเนินงานในส่วนที่จะมีผลได้เร็วในการ.....
* ช่วยเหลือให้ภาคธุรกิจดำเนินกิจการต่อไปได้
* ชะลอการปลดคนงาน
* ให้ความมั่นใจแก่สถาบันการเงินในการปล่อยสินเชื่อแก่ภาคธุรกิจ
* กระจายเม็ดเงินสู่สังคมในวงกว้างเพื่อสร้างอำนาจซื้อภายในประเทศ
* สร้างงานรองรับแรงงานที่กลับสู่ภูมิลำเนา
*ตลอดจนสร้างงานรองรับผู้ตกงานจากภาคการเงินที่มีความรู้และประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ต่อการ พัฒนาอุตสาหกรรม

* แผนงานที่จะต้องเร่งรัดดำเนินการก่อน มีอยู่ 4 แผนงาน คือ
* แผนงานที่ 1 ปรับปรุงผลิตภาพและปรับกระบวนการผลิต ให้มีต้นทุนและการส่งมอบสินค้าที่แข่งขันได้
* แผนงานที่ 3 ยกระดับขีดความสามารถของแรงงาน ไปสู่แรงงานฝีมือในอุตสาหกรรมเป้าหมาย
* แผนงานที่ 4 บ่มเพาะและเสริมสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมสนับสนุนขนาดกลางและขนาดย่อม
* แผนงานที่ 6 กระจายและเคลื่อนย้ายหน่วยผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นและมีมลภาวะน้อยไปสู่ภูมิภาคและ ชนบทเพื่อกระจายงานและรายได้
ใน 4 แผนงานเร่งด่วนนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลักในแผนงานที่ 1,4 และ 6 ส่วนในแผน งานที่ 3 นั้น จะมีกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเป็นหน่วยงานหลัก โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ก็จะต้องร่วมดำเนินงานอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การพัฒนาแรงงานสอดคล้องกับความต้องการของภาค อุตสาหกรรมอย่างแท้จริง

4. บทบาทของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ในการสนับสนุนแผนงานเร่งด่วน
*ในแผนงานที่ 1 เรื่องการปรับปรุงผลิตภาพและปรับกระบวนการผลิตให้มีต้นทุนและการส่งมอบสินค้า ที่แข่งขันได้ โครงการที่จะต้องเร่งดำเนินการคือ การให้ความช่วยเหลือแก่โรงงานอุตสาหกรรมเพื่อปรับ ปรุงการผลิต ลดต้นทุน โดยบทบาทที่สำคัญของสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด คือการประชาสัมพันธ์ให้ผู้ ประกอบการได้ทราบถึงความช่วยเหลือนี้ และเป็นผู้กลั่นกรองคัดเลือกโรงงานที่มีศักยภาพเข้าร่วมโครง การโดยเฉพาะผู้ประกอบการที่มีประวัติการประกอบการที่ดี มีความรับผิดชอบในการบริหารการเงิน มีความมุ่งเน้นและทัศนคติที่ดีในการพยายามปรับปรุงกิจการของตนเอง หน่วยงานส่วนกลางที่รับผิดชอบ แผนงานนี้และจะประสานงานกับสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดต่อไป คือ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม และ สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย

* ในแผนงานที่ 3 เรื่องการยกระดับขีดความสามารถของแรงงาน กลุ่มเป้าหมายที่ต้องเร่งช่วยเหลือ คือ แรงงานที่กำลังจะถูกเลิกจ้าง เนื่องจากโรงงานต้องการลดปริมาณการผลิตและลดจำนวนพนักงาน หรือ โรงงานอาจจะต้องหยุดการผลิตหรือปิดกิจการ แรงงานที่กำลังจะเป็นส่วนเกินนี้ รัฐจะต้องสนับสนุนให้ได้ รับการฝึกอบรมปรับทักษะ เพื่อให้สามารถทำงานในกระบวนการผลิตแบบใหม่ที่โรงงานอาจจะกำลังปรับ ปรุง จะต้องช่วยเจรจาให้ผู้ประกอบการชะลอการเลิกจ้างไว้ก่อน โดยรัฐอาจจะต้องมีเงินชดเชยค่าแรงให้ เพื่อให้แรงงานยังได้รับการจ่ายค่าจ้างในขณะเดียวกันก็ช่วยแบ่งเบาภาระการจ่ายค่าจ้างของผู้ประกอบการ ในช่วงวิกฤตนี้ ในเรื่องนี้ได้มีการหารือกับทางกระทรวงแรงงานฯ และจะกำหนดวิธีปฏิบัติที่ชัดเจนต่อไป
สำหรับแรงงานบางส่วนที่จะต้องถูกเลิกจ้าง กระทรวงอุตสาหกรรมควรจะมีบทบาทในการประสานจัดหา แหล่งจ้างงานใหม่ที่จะรองรับได้

โดยสรุปแล้ว ในแผนงานนี้ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด จะต้องรับบทบาทสำคัญในการสอดส่องรวบรวม และรายงานข้อมูลว่ามีโรงงานใดที่มีแนวโน้มจะลดจำนวนพนักงาน เป็นพนักงานที่มีประสบการณ์ทำงาน มาอย่างไร ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะต้องได้มาจากการติดตามข่าวคราวความเคลื่อนไหวในวงการอุตสาหหกรรม ของจังหวัดด้วย ไม่ใช่เฉพาะข้อมูลที่มีผู้มาแจ้งตามพระราชบัญญัติโรงงานเท่านั้น
ในขณะนี้เดียวกัน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจะต้องติดตามรวบรวมข้อมูลว่ามีโรงงานที่จัดตั้งใหม่หรือ ขยายกิจการ ซึ่งจะต้องการแรงงานเพิ่มจำนวนเท่าใด เป็นแรงงานประเภทใด เพราะเป็นแหล่งที่จะรองรับ ผู้ตกงานจากโรงงานอื่นได้
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดจะต้องปฏิบัติงานเชิงรุก ในการประสานงานให้มีการถ่ายโอนแรงงานใน ลักษณะนี้ ในกรณีที่จะต้องจัดให้แรงงานได้รับการฝึกอบรมปรับทักษะ ก็ให้ประสานงานกับกรมส่งเสริม อุตสาหกรรม ซึ่งจะดำเนินงานร่วมกับกรมพัฒนาฝีมือแรงงานในเรื่องนี้

*สำหรับแผนงานที่ 3 เรื่องการบ่มเพาะอุตสาหกรรมสนับสนุนขนาดกลางและขนาดย่อม ประเภทกิจการ ที่เป็นเป้าหมายสำคัญ คือ ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์,ชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเล็กทรอนิส์, ผู้ประกอบการ งานโลหะ (เช่น งานกลึง,งานหล่อ,งานปั้มโลหะ),ผู้ผลิตชิ้นส่วนพลาสติก,ผู้ผลิตบรรจุภัณฑ์ มีโครงการสำคัญ คือ โครงการพัฒนาผู้ผลิตชิ้นส่วน ซึ่งกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเป็นหน่วยงานหลัก บทบาทของสำนักงาน อุตสาหกรรมจังหวัดในเรื่องนี้จะคล้ายคลึงกับในแผนงานที่ 1 คือ การกลั่นกรองคัดเลือกผู้ประกอบการที่ มีศักยภาพ เชิญชวนให้เข้าร่วมโครงการ

* ในแผนงานที่ 6 เรื่องการกระจายหน่วยผลิตที่ใช้แรงงานเข้มข้นและมีมลภาวะน้อย ไปสู่ภูมิภาคและ ชนบท มีโครงการสำคัญก็คือ โครงการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท ของกรมส่งเสริมอุตสาห กรรม หรือโครงการเร่งรัดพัฒนาอุตสาหกรรมชนบท ของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมนั่นเอง

ตามแผนงานนี้ มีกลุ่มเป้าหมายอยู่ 2 ระดับ คือ โรงงานที่จะเป็นแม่ข่าย ซึ่งอาจตั้งอยู่ในตัวจังหวัดหรือ อำเภอ และจะเป็นผู้จ่ายงานให้กับโรงงานบริวารซึ่งอยู่ตามหมู่บ้าน

สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ควรมีบทบาทในการเชิญชวนผู้ประกอบการที่มีศักยภาพในจังหวัด ให้เข้า ร่วมโครงการในฐานะโรงงานแม่ข่าย ในบางกรณีอาจมีโรงงานจาก กทม.และปริมาณฑ?สนใจไปจัดตั้ง โรงงานแม่ข่ายในต่างจังหวัด สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ควรเป็นผู้ประสานงานจัดหาสถานที่ตั้งโรงงาน ที่เหมาะสมและสอดคล้องกับการจัดผังเมือง โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมที่ได้มีการริเริ่มจัดตั้งขึ้นบ้างแล้ว

นอกจากนี้ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สามารถเป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับหมู่บ้านหรือกลุ่มราษฏรที่มี ศักยภาพจะเป็นโรงงานบริเวรได้เป็นอย่างดี

5. บทสรุป

* แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม จะเป็นแผนหลักในการดำเนินงานของทุกหน่วยงานในกระทรวงอุตสาห กรรม ต่อไปอีกหลายปี ในวันนี้ ขอเน้นภารกิจเร่งด่วนที่จะต้องร่วมมือกันดำเนินงานในช่วงที่เหลือของปี 2541 ตามแนวทางที่ได้กล่าวมา

* สำหรับรายละเอียดวิธีการปฏิบัติและการประสานงาน เช่น ในเรื่องการเร่งรัดสนับสนุนสินเชื่อแก่อุตสาห กรรมขนาดกลางและขนาดย่อม และการสนับสนุนอุตสาหกรรมชนบท จะได้มีการประสานงานและจัดอบรม สัมมนาเจ้าหน้าที่เฉพาะเรื่องในโอกาสต่อ ๆ ไป