1. ข่า
Alpinia galanga Swartz.
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุกเนื้ออ่อน มีเหง้าใต้ดิน ใบแข็งหนา มีสีเขียว มีดอกออกจากกอขึ้นไปเป็นช่อใหญ่ ดอกสีแดง ม่วงประเป็นจุด ลูกกลม ลำต้นเป็นก้านกลมแข็ง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เหง้า - ใช้เป็นยาขับลม แก้ปวดท้อง ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ใช้ภายนอกรักษาโรคผิวหนัง
2. ชุมเห็ดเทศ
Cassia alata Linn.
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มขนาดกลาง ใบกลมโตหนาแข็ง สีเขียว ดอกออกเป็นช่อใหญ่สีเหลืองสด มีฝักเป็นพู 4 พู ประสานกัน มีเมล็ดเล็กๆ สีดำ เกิดตามพื้นที่ชุ่มชื้น
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เมล็ด - ขับพยาธิ
ใบสดหรือแห้ง, ดอกสด - แก้อาการท้องผูก ถ่ายพยาธิลำไส้ ต้มรับประทาน ขับเสมหะ แก้หืด รักษาโรคผิวหนัง เช่น กลาก
3. ข่อย
Streblus asper Lour.
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง ใบค่อนข้างกลม ดอกเล็กเป็นช่อ สีขาว ลูกกลม เมล็ดโตขนาดเมล็ดพริกไทยอ่อน มีขึ้นทั่วๆ ไป ตามพื้นที่ราบ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เมล็ด - มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อโรคในช่องปากและทางเดินอาหาร
เปลือก - ต้มกับน้ำรับประทานแก้ไข้ แก้บิด แก้ท้องเสีย
4. ขันทองพยาบาท
Gelonium multiflorum A.Juss
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้นขนาดย่อม ใบสีเขียวสดดกหนาแข็งทึบเป็นมัน ดอกออกเป็นช่อสีเหลือง ผลกลมโตมี 3 พู ลูกแก่สีแดงปนส้ม ไม้นี้เกิดตามป่าเบญจพรรณ โปร่งแล้งทั่วๆ ไป
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เปลือก - ถูทำให้เหงือกแข็งแรง เป็นยาถ่ายรักษาโรคตับพิการ แก้โรคผิวหนัง
เนื้อไม้ - แก้ลมพิษ แก้ไข้ แก้กามโรค
5. ลำโพง
Datura metel Linn.
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มเนื้ออ่อน ใบค่อนข้างกลม มีสีเขียวนวล ดอกบานเป็นปากแตรโตและยาว สีขาวนวล มีขอบสีม่วงเข้ม บางทีมีชั้นเดียว 2 หรือ 3 ชั้นก็มี มีผลกลมโต ตลอดทั้งลูกมีหนามแหลมๆ เล็ก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ปรุงเป็นยา เย็นดับพิษไข้เซื่องซึม
เมล็ด - แก้โรคผิวหนัง แก้ปวดฟัน ทำให้ตาแข็ง
ใบ - พอกแผล ฝี แผลไหม้ รักษาไขข้ออักเสบ แก้กลากเกลื้อน
น้ำจากใบสดๆ - หยอดหูแก้ปวดหู
6. เปล้าน้อย
Croton subliratus Roxb.
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มขนาดเขื่อง ใบสีเขียวยาวหนาทึบ ดอกสีขาวเป็นไม้เกิด ตามป่าเบญจพรรณ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - ใช้บำรุงธาตุ แก้โรคกระเพาะ บำรุงโลหิต ประจำเดือน
ดอก - ขับพยาธิ
7. ทองพันชั่ง
Rhinacanthus communis Nees.
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มขนาดเล็ก ชอบดินที่ชุ่มชื้น ลำต้นกลม ใบมีสีเขียว หัวและท้ายเรียว ริมใบเรียบ มีดอกเล็กๆ ดอกสีขาว
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - เป็นยาปฏิชีวนะ
ใบหรือราก - รักษาโรคผิวหนัง กลาก เกลื้อน แก้พยาธิต่างๆ ริดสีดวงทวาร แก้ไอเป็นโลหิต
8. หนอนตายอยาก
Stemona collinsae Craib.
รูปลักษณะ
ไม้เลื้อยเนื้อแข็ง ใบแหลมสีเขียว เส้นในใบถี่มาก มีฝักเล็กๆ มีดอกเล็กเป็นกลีบ มี 2 ชนิด ดอกสีขาว และดอกสีแดงเกิดตามป่าเชิงเขา
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
หัว - รักษาริดสีดวงทวารหนัก
รากแห้ง - ใช้เป็นยาแก้ไอและขับเสมหะ แก้โรคผิวหนัง ยาขับเบื่อพยาธิ
ราก - รักษาวัณโรค
9. ออยปาล์ม
Elaeis guineensis Jacq.
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้นขนาดกลาง
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เมล็ดใน - ทำน้ำมันพืชปรุงอาหาร เนยเทียม เป็นยารักษาโรคบางประเภท, เป็นสารประกอบในเครื่องสำอาง ยาสีฟัน ทำสบู่ เทียนไข ผงซักฟอก ฯลฯ
10. พิลังกาสา
Ardisia colorata Roxb.
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้นขนาดเล็ก ใบเดี่ยวสีเขียว หนาแข็ง ค่อนข้างมัน ดอกเล็กเป็นช่อเป็นกระจุก สีชมพู มีลูกสีดำ กลมโต มีขึ้นตามป่าราบทั่วไป
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ใบ - แก้โรคตับพิการ แก้ท้องเสีย แก้ไอ
ดอก - ฆ่าเชื้อโรค
เมล็ด - แก้ลมพิษ
ราก - แก้กามโรคและหนองใน พอกปิดแผลถอนพิษงู
ผล - แก้ไข้ ท้องเสีย
ต้น - แก้โรคเรื้อน
11. ว่านมหากาฬ
Gynura pseudochina DC.
รูปลักษณะ
ไม้ล้มลุก ริมใบเป็นจัก มีสีเขียว ดอกเป็นกระจุกเล็ก สีเหลืองอมม่วงแดง เป็นไม้ลงหัวใต้ดิน
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
หัว - แก้พิษ อักเสบ เริม
ใบ - ขับระดู ตำกับเหล้าทาแก้ปวดแสบปวดร้อน พอกฝี
12. นางแย้ม
Clerodendron fragrans Vent
รูปลักษณะ
ไม้พุ่มขนาดกลาง พบในป่าดิบและป่าเบญจพรรณ ใบโต สีเขียว ดอกออกเป็นช่อใหญ่คล้ายดอกมะลิซ้อน มีกลิ่นหอม ดอกสีขาวแล้วกลายเป็นแดงเรื่อ
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
ราก - ใช้แก้ไข้ บำรุงประสาท
ใบ - ใช้รักษาโรคผิวหนัง ใช้ประคบรักษาไขข้ออักเสบ
13. ตะเคียน
Hopea odarata Roxb.
รูปลักษณะ
ไม้ยืนต้นขนาดใหญ่และสูง ใบสีเขียวดกหนาทึบ ดอกออกเป็นช่อ สีขาว เหลือง ลูกมีปีกสองปีก เป็นไม้ขยายพันธุ์ได้ไกลมาก
สรรพคุณและส่วนที่นำมาใช้เป็นยา
เนื้อไม้ - แข็งเหนียว ทนปลวกได้ดี
ชันของไม้ - ผสมน้ำมันยางทาไม้ ทำน้ำมันชักเงา ยาแนวเรือ ใส่แผลฆ่าเชื้อ