ÊÃØ»ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535
                                                    (แก้ไข พ.ศ. 2539)

                       ผู้มีอำนาจพิจารณา หรือ อนุญาต และการมอบอำนาจ (ข้อ8)
   
ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต และการพิจารณาหรืออนุญาตการลา ให้ถือปฏิบัติ
ตามตารางที่กำหนดไว้ท้ายระเบียบนี้
     ถ้าส่วนราชการหรือหน่วยงานใดมีข้าราชการหลายประเภทให้เป็นอำนาจของผู้มี
อำนาจของผู้มีอำนาจในส่วนราชการหรือหน่วยงานนั้น เป็นผู้พิจารณาและอนญาต
     กรณีที่ผู้มีอำนาจดังกล่าวไม่สามารถปฏิบัติหน้าราชการได ้ ให้เสนอใบลาต่อผู้มี
อำนาจเหนือขึ้นไปพิจารณาอนุญาตเมื่อได้รับอนุญาตแล้วให้แจ้งให้ผู้มีอำนาจอนุญาต
ตามระเบียบที่กำหนดทราบด้วย
     ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาตการลา จะมอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรง
ตำแหน่งใดพิจารณาหรืออนุญาตแทนได้
     ถ้าการลาเกิดในระหว่างที่ผู้นั้นไปช่วยราชการที่หน่วยงานอื่น ให้เสนอใบลาต่อ
หัวหย้าหน่วยงานนั้นรายงานจำนวนวันลาให้หน่วยงานต้นสังกัดทราบอย่างน้อย
ปีละครั้ง
การนับวันเวลา(ข้อ 10)
     ให้นับตามปีงบประมาณ(1 ตุลาคม-30 กันยายน ของปีถัดไป)
     การนับวันลาเพื่อประโยชน์ในการเสนอหรือจัดส่งใบลา อนุญาตให้ลา และคำนวน
วันลาให้นับต่อเนื่องกันโดยนับวันหยุดราชการที่อยู่ในระหว่างวันลาประเภทเดียวกัน
รวมเป็นวันลาด้วย เว้นแต่การนับเพื่อคำนวณวันลาป่วยที่มิใช่วันลาป่วยตามกฏหมาย
ว่าการสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตรายหรือการป่วย เจ็บ เพราะเหตุปฏิบัติราชการ
     ตามวันลากิจส่วนตัว และวันลาพักผ่อน ให้นับเฉพาะวันทำงาน
     การลาป่วยหรือลากิจส่วนตัวซึ่งมีระยะเวลาต่อเนื่องกันเป็นปีเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
ให้นับเป็นการลาครั้งหนึ่งถ้าจำนวนวันลาในครั้งหนึ่งรวมกันแล้วเกินอำนาจของผู้มี
อำนาจระดับใด ให้เสนอขึ้นไปตามลำดับจนถึงผู้มีอำนาจอนุญาต
     ถ้าทางราชการเรียกตัวกลับก่อนครบกำหนด ให้ถือว่าวันลาสุดท้ายลงในวันก่อน
วันเดินทางกลับ และวันออกเดินทางกลับถือเป็นวันราชการเป็นต้นไป
การลาครึ่งวัน ให้นับตามประเภทของการลานั้น ๆ
     ผู้ขอยกเลิกวันลาที่ยังไม่ได้หยุดราชการให้เสนอขอถอนต่อผู้มีอำนาจอนุญาต และ
ให้ถือว่าหมดเขตเพียงวันที่ขอถอนวันลานั้น
     ใบลาและการขออนุญาตไปต่างประเทศในระหว่างการลาหรือในวันหยุดราชการ
และการขออนุญาตไปต่างประเทศที่มีเขตแดนติดประเทศไทย (ข้อ 11-15)
     ให้ส่วนราชการจัดทำบัญชีลงเวลาตามแบบที่กำหนดหรือจะใช้เครื่องบันทึกเวลา
ปฏิบัติราชการแทนก็ได้หรือส่วนราชการที่เห็นว่าจำเป็นจะใช้วิธีควบคุมสำหรับการ
ปฏิบัติราชการในลักษณะพิเศษตามที่เห็นสมควรก็ได้ แต่ต้องมีหลักฐานให้สามารถ
ตรวจสอบได้
     ให้ใช้ใบลาตามแบบที่กำหนด กรณีที่จำเป็นหรือรีบด่วน จะใช้ใบลาที่ไม่ถูกต้อง
ตามแบบก็ได้ ตามต้องส่งใบลาตามแบบอีกในวันแรก ที่มาปฏิบัติราชการ
     ผู้ประสงค์จะไปต่างประเทศในระหว่างที่ลาอยู่ หรือในวันหยุดราชการให้เสนอขอ
อนุญาตต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วนราชการ หรือหัวหน้าส่วนราชการ
ขึ้นตรง และเมื่ออนุญาตแล้วให้รายงานให้ปลัดกระทรวงทราบด้วย
    ปลัดกระทรวง มีอำนาจอนุญาตการลาของหัวหน้าส่วนราชการ
     รัฐมนตรีเจ้าสังกัด มีอำนาจอนุญาตการลาของหัวหน้าส่วนราชการ
     ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร มีอำนาจอนุญาตการลาของปลัดกรุงเทพมหานคร
    การขออนุญาตไปต่างประเทศที่มีเขตแดนติดประเทศไทย สำหรับข้าราชการบริหาร
ส่วนภูมิภาคในสังกัดจังหวัดหรืออำเภอนั้น ๆ
     ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจอนุญาตให้ไปได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 7 วัน
     นายอำเภอ มีอำนาจอนุญาตให้ไปได้ครั้งหนึ่งไม่เกิน 3  วัน
     กรณีที่ข้าราชการใดไม่สามารถปฏิบัติราชการได้ เนื่องจากมีพฤติการณ์พิเศษเกิดขึ้น
โดยมิใช่เพราะความประมาทเลินเล่อหรือความผิดของผู้นั้นเอง ซึ่งเป็นเหตุขัดขวางทำให้
ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการ ให้รีบรายงานพฤติกรรมที่เกิดขึ้นรวมทั้งอุปสรรคขัดขวาง
ทำให้ไม่สามารถมาปฏิบัติราชการได้ ต่อผู้บังคับบัญชา ตามลำดับจนถึงหัวหน้าส่วน
ราชการหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
     สำหรับผู้เป็นหัวหน้าส่วนราชการให้รายงานต่อปลัดกระทรวง หัวหน้าส่วนราชการ
ขึ้นตรง รายงานต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ส่วนปลัดกรุงเทพมหานครให้รายงานต่อผู้ว่า
ราชการกรุงเทพมหานคร
     กรณีที่ผู้มีอำนาจดังกล่าว พิจารณาเห็นว่าเป็นเพราะพฤติการณ์พิเศษจริงแล้ว ให้สั่ง
การหยุดราชการของข้าราชการผู้นั้นโดยไม่นับเป็นวันลาตามจำนวนวันที่ไม่สามารถ
มาปฏิบัติราชการได้ และถ้าเห็นว่าพฤติการณ์พิเศษดังกล่าวยังไม่มีเหตุสมควรพอ
ก็ให้ถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันลากิจส่วนตัว
ประเภทการลา (ข้อ 16)
     1. ลาป่วย 
     2. ลาคลอดบุตร
     3. ลากิจส่วนตัว
     4. ลาพักผ่อน
     5. ลาอุปสมบท หรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์
     6. ลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือลาเข้ารับการเตรียมพล
     7. ลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบติการวิจัย
     8. ลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
     9. ลาติดตามคู่สมรส
การลาป่วย (ข้อ 17)
     การลาป่วยเพื่อรักษาตัว ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับจนถึง
ผู้มีอำนาจอนุญาตก่อน หรือในวันที่ลานั้น หากมีกรณีจำเป็นจะเสนอหรือจะส่งใบลา
ในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการก็ได้ ถ้ามีอาการป่วยจนไม่สามารถลงชื่อในใบลาได้
จะให้ผู้อื่นลาแทน หรือเมื่อสามารถลงลายมือชื่อในใบลาได้ก็ให้เสนอหรือจัดส่งใบลา
โดยเร็ว
     การลาป่วย 30 วันขึ้นไป ต้องแนบใบรับรองของแพทย์ซึ่งขึ้นทะเบียนและรับใบ
อนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมไปพร้อมกับใบลาด้วย กรณีจำเป็นหรือเห็นสมควร
ผู้มีอำนาจจะสั่งให้มีใบรับรองของแพทย์ผู้มีอำนาจอนุญาตเห็นชอบแทนก็ได้
    การลาป่วยครั้งเดียวหรือหลายครั้งติดต่อกันแต่ไม่ถึง 30 วัน ผู้มีอำนาจจะสั่งให้มีใบ
รับรองของแพทย์แนบไปด้วยหรือจะสั่งให้ผู้ลาไปรับการตรวจจากแพทย์ของทางราชการ
เพื่อประกอบการพิจารณาก็ได้
การลาคลอดบุตร (ข้อ 18)
     การยื่นใบลาให้ถือปฏิบัติตามการลาป่วยครั้งแรก และให้มีสิทธิลาคลอดบุตรครั้งหนึ่ง
ได้ 90 วัน โดยได้รับเงินเดือน และ ไม่ต้องมีใบรับรองของแพทย์(ลาในวันที่คลอด ก่อน
หรือหลังวันคลอดก็ได้)
     ถ้าลาคลอดแล้วไม่คลอดตามกำหนดจะถอนวันลาคลอดก็ได้ โดยถือวันที่ได้หยุด
ราชการไปแล้วเป็นวันลากิจส่วนตัว
     ถ้าการลาประเภทอื่นยังไม่ครบกำหนดการลา และต้องลาคลอดบุตรในระหว่างนั้น
ให้ถือว่าการลาประเภทนั้นสิ้นสุดลงโดยให้นับเป็นวันลาคลอดบุตรแทนตั้งแต่วันเริ่ม
ลาคลอดบุตร
การลากิจส่วนตัว (ข้อ 19-23)
     การลากิจส่วนตัวให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับและเมื่อได้รับ
อนุญาต แล้วจึงจะหยุดราชการได้ ถ้ามีเหตุจำเป็นที่ไม่สามารถรอรับอนุญาตได้ทัน จะ
เสนอใบลาพร้อมระบุเหตุจำเป็นแล้วหยุดราชการไปก่อนได้ แต่ต้องชี้แจงเหตุผลให้ผู้มี
อำนาจอนุญาตทราบโดยเร็ว
     กรณีที่ไม่อาจปฏิบัติตามวรรคแรก ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาพร้อมทั้งเหตุผลและ
ความจำเป็นต่อผู้บังคับบัญชาทันที่ในวันแรกที่มาปฏิบัติราชการ
     การลากิจส่วนตัว มีสิทธิลาโดยได้รับเงินเดือนปีละไม่เกิน 45 วันทำการ
     ผู้ที่ลาคลอดบุตรแล้วหากประสงค์จะลากิจส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรให้ลาต่อเนื่องได้อีก
ไม่เกิน 150 วันทำการโดยไม่สิทธิได้รับเงินเดือนระหว่างลา
      ผู้ได้รับอนุญาตให้ลากิจส่วนตัว (เว้นแต่กรณีการลากิจส่วนตัวต่อเนื่องเพื่อเลี้ยงดูบุตร)
ซึ่งได้หยุดราชการยังไม่ครบกำหนด ถ้ามีราชการจำเป็นเกิดขึ้นผู้บังคับบัญชาหรือผู้มี
อำนาจอนุญาตจะเรียกตัวกลับมาปฏิบัติราชการก็ได้
การลาพักผ่อน (ข้อ 24-29)
     ข้าราชการมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีหนึ่งได้ 10 วันทำการ เว้นแต่ข้าราชการดัง
ต่อไปนี้ไม่มีสิทธิลาพักผ่อนประจำปีในปีที่ได้รับบรรจุเข้ารับราชการยังไม่ถึง 6 เดือนคือ
     1. ได้รับบรรจุเข้าราชการเป็นข้าราชการครั้งแรก
     2.   ลาออกจากราชการเพราะเหตุส่วนตัว แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีก
     3.   ลาออกจากราชการเพื่อดำรงตำแหน่งทางการเมือง หรือเพื่อสมัครรับเลือกตั้ง แล้ว
ต่อมาได้รับบรรจุเข้ารับราชการอีกหลัง 6 เดือนนับแต่วันออกจากราชการ
     4.   ถูกสั่งให้ออกจากราชการในกรณีอื่นนอกจากกรณีไปรับราชการทหารตามกฎหมาย
หรือกรณีไปปฏิบัติงานใด ๆ ตามความประสงค์ของทางราชการ แล้วต่อมาได้รับบรรจุเข้า
รับรับราชการอีก
     ผู้ที่ไม่ได้ลาพักผ่อนประจำปี หรือลาพักผ่อนไม่ครบ 10 วันทำการ ให้นำวันมาสะสม
เข้ากับปีต่อไปได้ แต่วันที่สะสมเมื่อรวมกับวันลาพักผ่อนในปีปัจจุบันต้องไม่เกิน 20 วัน
ทำการ ถ้าหากข้าราชการผู้นั้นรับราชการติดต่อกันมาแล้วไม่น้อยกว่า 10 ปี ให้มีสิทธินำ
วันสะสมรวมกับวันลาพักผ่อนปีปัจจุบันได้ไม่เกิน 30 วันทำการ
     ผู้ที่เสนอหรือจัดส่งใบลาดังกล่าว เมื่อได้รับอนุญาตแล้ว จึงจะหยุดราชการได้
     ผู้มีอำนาจอนุญาตจะอนุญาตให้ลาครั้งเดียวหรือหลายครั้งก็ได้ โดยมิให้เสียหายแก่
ราชการ และหากการหยุดราชการดังกล่าวยังไม่ครบกำหนดวันลา ถ้ามีราชการจำเป็นเกิด
ขึ้น ผู้บังคับบัญชา หรือผู้มีอำนาจอนุญาต จะเรียกตัวกลับมาปฏิบัติราชการก็ได้
     ข้าราชการประเภทใดที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษา และมีวันหยุดภาคการศึกษาหากได้
หยุดราชการตามวันหยดุภาคการศึกษาเกินกว่าวันลาพักผ่อนตามระเบียบนี้แล้ว ไม่มีสิทธิ
ลาพักผ่อนอีก
การลาอุปสมบทหรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ (ข้อ 30-31)
     การลาอุปสมบทในพระพุทธศาสนาหรือลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบียต้องเสนอหรือจัดส่งใบลาตามระเบียบก่อนวันอุปสมบทหรือวัน
ออกเดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ไม่น้อยกว่า 60 วันถ้าไม่อาจปฏิบัติดังกล่าวได้ทันตาม
เวลากำหนดนี้ ให้ชี้แจงเหตุผลความจำเป็นประกอบใบลา ซึ่งอยู่ในดุลยพินิจของผู้มี
อำนาจจะพิจารณาให้ลาหรือไม่ก็ได้
     ผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ลาอุปสมบทหรือผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ไป
ประกอบพิธีฮัจย์แล้ว ต้องดำเนินการดังกล่าวภายใน 10 วันนับแต่วันเริ่มลานั้น ๆ และต้อง
กลับมารายงานตัวเข้าปฏิบัติราชการภายใน 5 วัน นับแต่วันลาสิกขาหรือวันเดินทางกลับ
ถึงประเทศไทย ถ้าหากการลาดังกล่าวทั้ง 2 กรณีซึ่งได้หยุดราชการไปแล้ว แต่มมีปัญหา
อุปสรรคทำให้ไม่สามารถอุปสมบทหรือไปประกอบพิธีฮัจย์ได้ตามที่ขอลาไว้เมื่อได้
รายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการตามปกติและขอถอนวันลา เมื่อผู้มีอำนาจอนุญาตให้
ถอนวันลาได้ให้ถือว่าวันที่หยุราชการไปนั้น เป็นวันลากิจส่วนตัว
การลาเข้ารับการตรวจเลือก หรือเข้ารับการเตรียมผล (ข้อ 32-33)
     ข้าราชการผู้ได้รับหมายเรียกเข้ารับการตรวจเลือก ให้รายงานลาต่อผู้บังคับบัญชาก่อน
วันเข้ารับการตรวจเลือกไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง สำหรับหมายเรียกเข้ารับการเตรียมพล
ให้รายงานภายใน 48 ชั่วโมง นับแต่เวลารับหมายเรียกและให้ไปรับการตรวจเลือกหรือ
การเตรียมพลตามวันเวลาในหมายเรียกนั้นโดยไม่ต้องรอรับคำสั่งอนุญาต และให้ผู้บังคับ
บัญชาเสนอรายงานลาจนถึงหัวหน้าส่วนราชการหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง
     ถ้าผู้ลาเป็นหัวหน้าส่วนราชการให้รายงานลาต่อปลัดกระทรวง ถ้าเป็นหัวหน้าส่วน
ราชการขึ้นตรงให้รายงานลาต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด สำหรับปลัดกรุงเทพมหานคร ให้ราย
งานต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร และเมื่อผู้ลานั้นพ้นจากการตรวจเลือกหรือเข้ารับการ
เตรียมพลแล้ว ให้มารายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการต่อผู้บังคับบัญชาภายใน 7 วัน หาก
มีกรณีจำเป้นผู้มีอำนาจอาจขยายเวลาให้ได้ แต่เมื่อรวมแล้วไม่เกิน 15 วัน
การลาไปศึกษาฝึกอบรม ดูงาน หรือปฏิบัติการวิจัย (ข้อ 34) 
     ผู้ประสงค์จะลาไปศึกษาฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัย ณ ประเทศ ให้เสนอหรือ
จัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาจนถึงปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง เพื่อ
พิจารณาอนุญาต
     ถ้าเป็นการลาภายในประเทศ ให้เสนอหรือจัดส่งใบลาต่อผู้บังคับบัญชาจนถึงหัวหน้า
ส่วนราชการหรือหัวหน้าส่วนราชการขึ้นตรง เพื่อพิจารณาอนุญาต
     ถ้าผู้ลาเป็นหัวหน้าส่วนราชการ ให้เสนอต่อปลัดกระทรวงสำหรับหัวหน้าส่วนราชการ
ขึ้นตรง และข้าราชการในราชบัณฑิตยสถาน ให้เสนอต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ส่วนปลัด
กรุงเทพมหานครให้เสนอต่อผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาอนุญาต
การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ (ข้อ 35-42)
     ผู้ประสงค์จะลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ให้เสนอใบลาต่อผู้บังคับ
บัญชาตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัด
     หลักเกณฑ์การไปปฏิบัติงานในองค์การต่างประเทศ มี 2 ประเภท คือ
     ประเภทที่ 1 มี 3 กรณี
     1.   กรณีซึ่งประเทศไทยเป็นสมาชิกและเป้นวาระที่จะต้องส่งไปปฏิบัติงานในองค์การ
นั้น
     2.   กรณีที่รัฐบาลไทยมีข้อผูกพันที่จะต้องส่งไปปฏิบัติงานตามความตกลงระหว่าง
ประเทศ
     3.   กรณีประเทศไทยต้องส่งไปปฏิบัติงานเพื่อพิทักษ์รักษาผลประโยชน์ของประเทศ
ตามความต้องการของรัฐบาลไทย
     ประเภทที่ 2 เป็นกรณีไปปฏิบัติงานนอกเหนือจากประเภทที่ 1
     คุณสมบัติของผู้ที่จะขอลามีดังนี้
     1.   เป็นข้าราชการประจำซึ่งรับราชการติดต่อกันมาไม่น้อยกว่า 5 ปี ก่อนถึงวันที่ได้
ีลาและลดลงเป็น 2 ปี สำหรับผู้ที่ไปปฏิบัติงานในองค์การสหประชาชาติ ผู้ที่เคยไปปฏิบัติ
งานในองค์การระหว่างประเทศในประเภทที่ 2 มาแล้ว ต้องมีเวลาปฏิบัติงานในส่วน
ราชการแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี นับแต่วันที่เริ่มกลับเข้าปฏิบัติหน้าราชการซึ่งเป็นครั้งหลังสุด
     2.  ต้องมีอายุไม่เกิน 52 ปีบริบูรณ์ นับถึงวันที่ได้รับอนุญาตให้ไปปฏิบัติราชการ
สำหรับประเภทที่ 2
     3.   เป็นผู้มีความรู้ความสามารถเหมาะสม ความประพฤติเรียบร้อย และไม่อยู่ใน
ระหว่างถูกสอบสวนว่ากระทำผิดวินัย
     การขอยกเว้นหรือผ่อนผัน ตามข้อ (1) วรรค 2 และข้อ (2) ให้เสนอเหตุผลความจำเป็น
ต่อรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณา
     ผู้ได้รับการคัดเลือกให้ไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ เสนอใบลาต่อผู้
บังคับบัญชาตามลำดับจนถึงรัฐมนตรีเจ้าสังกัดพิจารณา เมื่อได้รับอนุญาตแล้วให้ถือว่า
เป็นการไปทำการที่จะนับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการโดยไม่ได้รับเงินเดือน
และมีเงื่อนไขสำหรับประเภทที่ 1 ต้องไม่เกิน 4 ปี และปรเภทที่ 2 ไม่เกิน 1 ปี ถ้าอัตรา
เงินเดือนที่ได้รับจากองค์การต่ำกว่าเงินเดือนที่ได้รับอยู่ก่อนไป ให้มีสิทธิได้รับเงินเดือน
จากทางราชการสมทบจนครบ 
     หากผู้ที่ได้รับอนุญาตประสงค์จะอยู่ปฏิบัติงานต่อให้ยื่นเรื่องพร้อมเหตุผลและความ
จำเป็นและประโยชน์ที่ท่าราชการจะได้รับ เมื่อได้รับการพิจารณาอนุญาตแล้วให้นับเวลา
ระหว่างนั้นเหมือนเต็มเวลาราชการตามกฎหมายฯ แต่เมื่อรวมเวลาแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี
สำหรับผู้ไปปฏิบัติงานประเภทที่ 2 ถ้าเกิน 1 ปีให้ผู้บังคับบัญชาสั่งให้ออกได้
     ผู้ที่อยู่ในประเภที่ 2 ต้องทำสัญญาว่าจะกลับมารับราชการเป็นเวลาหนึ่งเท่าของระยะ
เวลาที่ไปปฏิบัติงาน ถ้าไม่ครบตามสัญญาจะต้องชดใช้เงินเบี้ยปรับดังนี้
     1.   ไม่กลับมารับราชการเลยให้ชดใช้โดยคิดเงินเดือนๆ สุดท้ายคูณด้วยระยะเวลาเป็น
เดือนที่ไปปฏิบัติงาน เศษของเดือนถ้าเกิน 15 วัน ให้นับเป็น 1 เดือน
     2.   ให้ลดลงตามส่วนที่กลับมารับราชการไม่ครบตามสัญญา ผู้ที่กลับมาจากการปฏิบัติ
งานดังกล่าวแล้วให้รายงานตัวเข้าปฏิบัติหน้าที่ภายใน 10 วัน นับแต่วันเสร็จจากการ
ปฏิบัติงานโดยใช้แบบรายงานที่กำหนด
การลาติดตามคู่สมรส (ข้อ 43-45) 
     การเสนอและจัดส่งใบลาตามระเบียบจนถึงปลัดกระทรวงหรือหัวหน้าส่วนราชการ
ขึ้นตรง โดบปกติจะได้รับอนุญาตให้ลาได้เพียง 2 ปี และต่อได้อีก 2 ปี ในกรณีจำเป็น แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี ถ้าเกินให้ลาออกจากราชการ
     การพิจารณาการลาประเภทนี้ อาจได้รับอนุญาตให้ลาครั้งเดียวหรือหลายครั่งก็ได้ โดย
มิเป็นการเสียหายแก่ทางราชการ และต้องเป็นกรณีที่คู่สมรสอยู่ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือ
ปฏิบัติงานในต่างประเทศในระยะเวลาติดต่อกันในประเทศเดียวกันหรือไม่ก็ตาม
     สิทธิในการติดตามคู่สมรสครบกำหนดในช่วงเวลาที่คู่สมรสอยู่ในต่างประเทศมาครั้ง
ที่หนึ่งแล้วจะมีสิทธิลาได้อีกในเมื่อคู่สมรสกลับมาปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงาน
ในประเทศไทยแล้ว แต่ได้รับคำสั่งให้ปฏิบัติหน้าที่ราชการหรือปฏิบัติงานในต่างประเทศ
ครั่งใหม่อีก
การลาของข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรม (ข้อ 46-52)
     ประธานศาลฏีกามีสิทธิใช้ดุลยพินิจในการลาทุกประเภท รวมทั้งการหยุดราชการ
เพราะพฤติกรรมพิเศษและไปต่างประเทศ โดยแจ้งคณะกรรมการตุลาการทราบและให้
เลขานุการคณะกรรมการตุลาการแจ้งกระทรวงยุติธรรมทราบ
     ประธานคณะกรรมการตุลาการเป็นผู้อนุญาตการลาทุกประเภทการหยุดราชการ การ
ไปต่างประเทศของอธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ อธิบดีผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค
อธิบดีผู้พิพากษาศาลขั้นต้น อธิบดีศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางและอธิบดีผู้พิพากษาภาค
แจ้งคณะกรรมการตุลาการและกระทรวงยุติธรรมทราบ
     นอกจากการลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ให้ข้าราชการตุลาการและ
ดะโต๊ะยุติธรรมถือปฏิบัติตามตารางหมายเลข 6 เว้นกรณีตามข้อ 50 คือ ข้าราชการที่ไป
ทำงานในตำแหน่งข้าราชการตุลาการหรือการเมืองในกระทรวงยุติธรรมรวมทั้งผู้ช่วย
ผู้พิพากษาที่มิได้ไปปฏิบัติหน้าที่ในศาล ให้เป็นอำนาจของปลัดกระทรวงยุติธรรมเป็น
ผู้อนุญาต
     ข้าราชการตุลาการและดะโต๊ะยุติธรรมลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้อนุญาตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
ตุลาการ
     ผู้พิพากษา ผู้ช่วยผู้พิพากษาดะโต๊ะยุติธรรม ที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการอยู่ในศาลที่มีอาณา
เขตติดต่อกับต่างประเทศให้หัวหน้าผู้พิพากษาศาลในห้องที่นั้นๆ มีอำนาจอนุญาตได้ไม่
เกิน 7 วัน
การลาของข้าราชการการเมืองและข้าราชการกรุงเทพมหานคร (ข้อ 53-55)
     การลาทุกประเภทและการไปต่างประเทศของนายกรัฐมนตรี อยู่ในดุลยพินิจของ
นายกรัฐมนตรีโดยแจ้งให้คณะรัฐมนตรีทราบ
     สำหรับข้าราชการการเมือง นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้ารัฐบาลหรือรัฐมนตรีเจ้า
สังกัด รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีเจ้าสังกัด แล้วแต่กรณีเป็นผู้อนุญาต
     ข้าราชการกรุงเทพมหานคร มีผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร หรือประธานสภา
กรุงเทพมหานครแล้วแต่กรณีเป็นผู้อนุญาต
หมายเหตุ  1.   ประกาศใน รจ. เล่ม 109   ตอนที่ 2 ลว. 9 ม.ค. 35 เริ่มใช้ตั้งแต่ 10 ม.ค. 35
                2.   ระเบียบนี้อนุโลมใช้แก่ลูกจ้างประจำด้วย
                3.   ลูกจ้างชั่วคราวใช้ระเบียบว่าด้วยการจ่ายค่าจ้างของส่วนราชการ
                4.   การอนุญาตให้ลาได้ตามที่เห็นสมควร ให้คือปฏิบัติตามนัยแห่งหนังสือ
                      สำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นว 1002/3737 ลว. 31 พ.ค. 31
                5.   ระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2539 ประกาศ
                      ณ วันที่ 30 เม.ย. 39