สรุปสิทธิและประโยชน์ตอบแทนของข้าราชการพลเรือน
                                                       
     ข้าราชการพลเรือน หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับบรรจุและแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. ระเบียบ
ข้าราชการพลเรือนให้รับราชการโดยได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือน ใน
กระทรวง ทบวง กรม ฝ่ายพลเรือน (พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535)
     ประเภท ข้าราชการพลเรือนมี 3 ประเภท คือ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการ
พลเรือนในพระองค์และข้าราชการประจำต่างประเทศพิเศษ
                                                สิทธิและประโยชน์ตอบแทน
     ข้าราชการพลเรือนได้รับสิทะิและประโยชน์ตอบแทนจากทางราชการทั้งในระหว่าง
รับราชการอยู่ เมื่อออกจากราชการแล้ว และการช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต สรุปได้ดังนี้
1.   สิทธิและประโยชน์ตอบแทนระหว่างรับราชการ
    1.1  สิทธิเกี่ยวกับการลา
         ข้าราชการมีสิทธิลาโดยได้รับเงินเดือนระหว่างลา ภายใต้ พ.ร.ฎ. การจ่ายเงิน
เดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญ และเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2522 ตามประเภท
ของการลาแห่งระเบียบว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ. 2535 ซึ่งกำหนดการลาออกเป็น
9 ประเภท คือ
         1.1.1  การลาป่วย ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการสงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตราย
หรือการป่วยเจ็บเพราะการปฏิบัติราชการ (พ.ร.บ. สงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตราย
หรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ พ.ศ. 2498) ลาได้โดยรับเงินเดือนระหว่างลา
ในปีหนึ่งไม่เกิน 60 วัน แต่ถ้าอธิบดีหรือผู้มีตำแหน่งเทียบท่าเห็นสมควรจ่ายเงินเดือนต่อ
ไปอีกก็ได้แต่ต้องไม่เกิน 60 วัน
         1.1.2   การลาคลอดบุตร ลาได้ไม่เกิน 90 วัน (โดยได้รับเงินเดือน) และมีสิทธิลากิจ
ส่วนตัวเพื่อเลี้ยงดูบุตรต่อเนื่องจากการลาคลอดบุตรได้อีกไม่เกิน 150 วันทำการ โดยไม่ได้
รับเงินเดือนระหว่างลา
         1.1.3   การลากิจส่วนตัว โดยได้รับเงินเดือนปีละไม่เกิน 45 วันทำการ
         1.1.4   การลาพักผ่อน ทีหนึ่งลาได้ 10 วันทำการ ถ้าปีใดลาไม่ครบกำหนดจะนำมา
สะสมในปีต่อไปได้รวมแล้วต้องไม่เกิน 20 วันทำการ สำหรับผู้ที่รับราชการมาไม่น้อยกว่า
10 ปี ให้สะสมวันลาได้ไม่เกิน 30 วันทำการ ผู้ที่เข้ารับราชยังไม่ถึง 6 เดือน ในปีที่ได้รับ
การบรรจุใหม่ไม่มีสิทธิลาพักผ่อน
          1.1.5   การลาอุปสมบท หรือการลาไปประกอบพิธีฮัจย์ ลาโดยได้รับเงินเดือนไม่
เกิน 120 วันแต่ถ้าลาในปีที่เริ่มเข้ารับราชการ ไม่มีสิทธิได้รับเงินเดือน
          1.1.6   การลาเข้ารับการตรวจเลือกหรือเข้ารับการเตรียมพล ต้องรายงานผู้บังคับ
บัญชาภายใน 48 ชั่วโมง เมื่อเสร็จกิจแล้วต้องกลับมารายงานตัวภายใน 7 วัน หากมีความ
จำเป็นต้องไม่เกิน 15 วัน หากกลับมารายงานเกินกำหนดนี้ มีสิทธิได้รับเงินเดือนไม่เกิน
15 วัน
           1.1.7   การลาไปศึกษา ฝึกอบรม ดูงานหรือปฏิบัติการวิจัย ลาได้ไม่เกิน 4 ปีนับแต่
วันไปจนถึงวันก่อนมารายงานตัวเพื่อเข้าปฏิบัติราชการ ทั้งนี้โดยได้รับเงินเดือน หากผู้
บังคับบัญชาเห็นสมควรให้ลาเกิน 4 ปี โดยได้รับเงินเดือนก็ได้แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกิน
6 ปี
           1.1.8   การลาไปปฏิบัติงานในองค์การระหว่างประเทศ ถือปฏิบัติตามกฎหมายว่า
ด้วยกำหนดหลักเกณฑ์การสั่งให้ข้าราชการไปทำการให้นับเวลาระหว่างนั้นเหมือนเต็ม
เวลาราชการ ซึ่งมีกำหนดระยะเวลาไม่เกิน 4 ปี ทั้งนี้ระหว่างการลานี้ไม่ได้รับเงินเดือน
แต่รับเงินเดือนจากองค์การนั้น ๆ
           1.1.9   การลาติดตามคู่สมรส (ไม่ได้รับเงินเดือน) ซึ่งต้องอยู่ปฏิบัติราชการ หรือ
ปฏิบัติงานในต่างประเทศเป็นระยะเวลาติดต่อกันในประเทศเดียวกันหรือไม่ก็ตาม ลาได้
2 ปี และในกรณีจำเป็นลาต่อได้อีกแต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 4 ปี ถ้าเกินกว่านี้ต้องลา
ออกจากราชการ
     ผู้มีอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต และอำนาจพิจารณาหรืออนุญาต จะมอบหมายหรือ
มอบอำนาจโดยทำเป็นหนังสือให้แก่ผู้ดำรงตำแหน่งใด เป็นผู้พิจารณาหรืออนุญาตแทนก็
ได้
     1.2   สิทธิและประโยชน์ตอบแทนในการปฏิบัติราชการ
ข้าราชการได้รับสิทธิและประโยชน์ตอบแทนจากทางราชการในการปฏิบัติราชการ คือ
           1.2.1   เงินเดือน ข้าราชการมีสิทธิได้รับเงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือน
เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการปฏิบัติราชการตามตำแหน่งโดยจ่ายเป็นเงินเดือนในวันสิ้นเดือน
ในปีหนึ่ง ๆ ข้าราชการที่เข้าหลักเกณฑ์จะได้รับการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามที่กำหนดในกฎ
ก.พ.
           1.2.2   เงินเพิ่มพิเศษรายเดือนนอกจากเงินเดือน ข้าราชการ นอกจากมีสิทธิได้รับ
เงินเดือนจากงบประมาณหมวดเงินเดือน เพื่อเป็นค่าตอบแทนในการปฏิบัติราชการตาม
ตำแหน่งเป็นรายเดือนแล้วยังอาจได้รับเงินเพิ่มค่าวิชา เงินเพิ่มสู้รบ เงินประจำตำแหน่ง
เงินเพิ่มประจำตำแหน่งที่ฝ่าอันตรายกว่าปกติ และเงินอื่นที่กระทรวงการคลังกำหนดให้
จ่ายเงินจากหมวดเงินเดือนด้วย
           1.2.3   เงินค่าเช่าบ้านข้าราชการ ตาม พ.ร.ฎ. ค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2527 แก้
ไขฉบับที่ 5 พ.ศ. 2539 ข้าราชการผู้ใดได้รับคำสั่งให้เดินทางไปประจำสำนักงานในต่าง
ท้องที่ (รวมกรณีที่หน่วยงานเดิมย้ายไปตั้งสถานที่ทำการในท้องที่ใหม่) มีสิทธิได้รับค่า
เช่าบ้านข้าราชการเท่าที่ต้องการจ่ายจริงตามที่สมควรแก่สภาพแห่งบ้านแต่อย่างสูงไม่เกิน
จำนวนเงินที่กำหนดไว้ในอัตราค่าเช่าบ้านข้าราชการท้ายพระราชกฤษฎีกา (เดือนละ800-
4,000 บาท อัตราตามเงินเดือนสุทธิได้รับ) ทั้งนี้ยกเว้นแต่ผู้นั้น (ก) ทางราชการได้จัดที่พัก
อาศัยให้อยู่แล้ว (ข) มีเคหสภานของตนเองหรือของสามีภริยาที่พออาศัยอยู่รวมกันได้ใน
ท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ (ค) ได้รับคำสั่งให้ไปประจำสำนักงานใหม่ ในท้องที่ที่
เริ่มรับราชการครั้งแรก หรือท้องที่ที่กลับเข้ารับราชการใหม่ (ง) เป็นข้าราชการวิสามัญ
     ในกรณีที่ข้าราชการซึ่งมีสิทธิได้รับเงินค่าเช่าบ้าน ตาม พ.ร.ฎ. นี้ ได้เช่าซื้อบ้านหรือ
ผ่อนชำระเงินกู้เพื่อชำระราคาบ้านอยู่ในท้องที่ที่ไปประจำสำนักงานใหม่ เพื่อใช้เป็นที่อยู่
อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงในบ้านนั้น มีสิทธินำหลักฐานมาผ่อนชำระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อน
ชำระเงินกู้ดังกล่าวมาเบิกค่าเช่าบ้านฯ ได้ไม่เกินจำนวนเงินที่กำหนดไว้ตามบัญชีอัตรา
ค่าเช่าบ้านฯ และต่อมาหากได้รับการแต่งตั้งให้ไปรับราชการในท้องที่อื่นซึ่งตนมีสิทธิได้
รับค่าเช่าบ้านฯ ยังมีสิทธินำหลักฐานการชำระค่าเช่าซื้อ หรือค่าผ่อนชำระเงินกู้ในท้องที่เดิม
มาเบิกค่าเช่าบ้านฯ ในท้องที่ใหม่ได้ โดยขออนุมัติตามระเบียบ ที่กระทรวงการคลังกำหนด
หมายเหตุ : เมื่อกระทรวงฯ ย้ายไปจังหวัดนนทบุรี เดิมเบิกค่าเช่าซื้อ (หรือค่าเช่า) บ้านใน
                 กรุงเทพ ฯ ก็ยังคงเบิกต่อไปได้ หรือจะไปเบิกค่าเช่าซื้อ (หรือค่าเช่า) บ้านใน
                 เขตจังหวัดนนทบุรีแทนก็ได้
            1.2.4   เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล และค่าตรวจสุขภาพ ข้าราชการ
หรือลูกจ้างประจำรวมทั้งข้าราชการบำนาญและทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัด คู่สมรส บิดา
มารดา และบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย 3 คนแรก ถ้ายังมีบุตรไม่ถึง 3 คน ต่อมามีบุตรแฝด
ทำให้เกิน 3 คนให้มีสิทธิเบิกเงินได้ตั้งแต่คนที่หนึ่งถึงคนสุดท้ายด้วยได้ (ไม่รวมบุตร
บุญธรรม) ซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
ตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตาม พ.ร.ฎ. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล
พ.ศ. 2523 แก้ไขเพิ่มเติมถึง(ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2534 และวิธีการเบิกจ่ายตามหลักเกณฑ์และ
วิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนดสรุปได้ดังนี้
         (1)   สถานพยาบาลของทางราชการ ทั้งประเภทผู้ป่วยภายนอกหรือผู้ป่วยภายในให้
เบิกค่ารักษาพยาบาลได้เต็มจำนวนที่ได้จ่ายไปจริง เว้นแต่ (ก) ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์
ในการบำบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซมให้เบิกได้ตามที่กระทรวงการคลังกำหนด (ข)
ค่าห้องและค่าอาหารให้เบิกได้ตามที่กระทรวงฯ กำหนด (ตั้งแต่ 1 เม.ย.35 ให้เบิกรวมกัน
ได้ไม่เกินวันละ 600 บาท)
        (2)   สถานพยาบาลของเอกชน เบิกได้เฉพาะประเภทผู้ป่วยภายใน ดังนี้
              (ก)   ค่าอวัยวะเทียมและอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรครวมทั้งค่าซ่อมแซม ค่า
ห้อง และค่าอาหารให้เบิกได้เช่นเดียวกับผู้ที่เข้ารับการรักษาพยาบาลของทางราชการ
              (ข)   ค่ารักษาพยาบาลประเภทอื่น ๆ ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของจำนวนที่จ่ายไปจริง
แต่จะต้องไม่เกินสามพันบาท สำหรับระยะเวลาภายในสามสิบวัน นับแต่วันเข้ารับการ
รักษาพยาบาล และในกรณีเข้ารับการรักษาพยาบาลเกินสามสิบวัน ให้เบิกได้ครึ่งหนึ่งของ
จำนวนที่ได้จ่ายไปจริงๆ แต่จะต้องไม่เกินวันละหนึ่งร้อยบาท
     ทั้งนี้   เว้นแต่กรณีที่มีอุบัติเหตุ หรือมีความจำเป็นรีบด่วนซึ่งหากผู้ป่วยมิได้รับการรักษา
พยาบาลในทันทีอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้นั้นได้ ถ้าได้เข้ารับการรักษาพยาบาล
ประเภทผู้ป่วยภายในจากสถานพยาบาลของเอกชนอื่น ซึ่งมิใช่สถานพยาบาลของเอกชน
ตาม พ.ร.ฎ. นี้ (หมายถึง สถานพยาบาลที่มีเตียงรับผู้ป่วยไว้ค้างคืนต่ำกว่า 26 เตียง หรือ
สถานพยาบาลที่กระทรวงการคลังแจ้งยกเลิกเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล) ให้เบิกค่ารักษา
พยาบาลตาม (ก) หรือ (ข) ได้
     นอกจากนี้ ข้าราชการยังเบิกค่าตรวจสุขภาพประจำปีได้ตาม พ.ร.ฎ. เงินสวัสดิการ
เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2523 และหนังสือกระทรวงการคลังที่
กค 0526.5/ว 166 ลว. 27 ธ.ค. 39 กำหนดให้ข้าราชการเบิกค่าตรวจสุขภาพประจำปีได้ คือ
       1.   ผู้มีสิทธิที่มีอายุไม่เกิน 35 ปี บริบูรณ์                                    ราคาไม่เกิน (บาท)
           1.1  Chest X -Ray                                           
              - Film   Chest                                                               140 หรือ
              - Mass Chest                                                                 30
           1.2  Routine Urine Examination                                           40
          1.3  Routine Stool  Examination                                           40
          1.4  CBC                                                                           20
          1.5  ตรวจมะเร็งปากมดลูก-ตรวจภายใน                                    50
                                               -Pap smear                              60
          1.6  Blood Group (A,B,O,) สำหรับผู้ที่ยังไม่เคยตรวจ              30               
       2.   ผู้มีสิทธิที่มีอายุต่ำกว่า 35 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป
          2.1  รายการที่ 1.1-1.6                                                             225
          2.2  Blood Chemistry       
             - Sugar                                                                          40
             - Cholesterlo                                                                  50
            -  Triglyceride                                                                 80
            -  BUN                                                                          40
            -  Creatinine                                                                   40
            -  SGOT                                                                        50
            -  SGPT                                                                        50  
            -  Alk Phosphatase                                                         50  
            -  Uric Acid                                                                      60
     ทั้งนี้ เห็นควรกำหนดให้ (1) พบแพทย์เพื่อให้คำปรึกษาก่อนไปตรวจสุขภาพประจำปี
ทุกครั้ง (2) เบิกจ่ายค่าแพทย์ได้ท่าที่จ่ายจริงไม่เกินครั้งละ 50 บาท
           1.2.5   เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำ
ข้าราชการบำนาญและทหารกองหนุนมีเบี้ยหวัดที่มีบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย มีจำนวน
3 คน ถ้ามีบุตรยังไม่ถึง 3 ต่อมามีบุตรแฝดทำให้เกิน 3 คน ให้มีสิทธิเบิกได้ตั้งแต่คนที่หนึ่ง
ถึงคนสุดท้ายให้ ซึ่งมีอายุไม่เกินยี่สิบห้าปีในวันที่ 1 พฤษภาคมของทุกปีแต่ไม่รวมถึงบุตร
บุญธรรม และบุตรซึ่งบิดามารดายกให้เป็นบุตรบุญธรรมของผู้อื่น มีสิทธิได้รับเงินสวัสดิ
การเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ตามหลักเกณฑ์และอัตราการจ่ายตาม พ.ร.ฎ. เงินสวัสดิการ
เกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2535 และแก้ไขถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2534 และวิธีการเบิก
จ่ายตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด สรุปได้ดังนี้
     (1)   สถานศึกษาของทางราชการ   ในหลักสูตรระดับไม่สูงกว่า ปวส. หรือเทียบเท่า
และหลักสูตรนั้นแยกต่างหากจากหลักสูตรปริญญาตรี ให้ได้รับ เงินบำรุงการศึกษาเต็ม
จำนวนตามที่จ่ายไปจริง แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินประเภทและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด
    (2)     สถานศึกษาของเอกชน   หลักสูตร ระดับไม่สูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลาย หรือ
เทียบเท่าให้ได้รับ เงินค่าเล่าเรียนเต็มจำนวนตามที่ได้จ่ายไปจริง แต่ไม่เกินประเภท และ
อัตราที่กระทรวงการคลังกำหนดหลักสูตรระดับสูงกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า
แต่ไม่สูงกว่าอนุปริญญาหรือเทียบเท่า และหลักสูตรนั้นแยกต่างหากจากหลักสูตรปริญญา
ตรี ให้ได้รับ เงินค่าเล่าเรียน ตามประเภทและอัตราที่กระทรวงการคลังกำหนด แต่ทั้งนี้
ต้องไม่เกินครึ่งหนึ่ง ของจำนวนที่จ่ายไปจริง
     เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตรนี้ กระทรวงการคลังได้แจ้งส่วนราชการต่าง ๆ
อนุมัตให้ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำยืมเงินเพื่อนำไปจ่ายเป็นเงินเกี่ยวกับการศึกษาของ
บุตร เพื่อบรรเท่าความเดือดร้อนได้
           1.2.6   เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือบุตร ข้าราชการและลูกจ้างประจำ ซึ่ง
สิทธิได้รับเงินช่วยเหลือบุตรเป็นรายเดือนตาม พ.ร.ฎ. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการช่วยเหลือ
บุตร พ.ศ. 2521 และแก้ไข (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2532 สำหรับบุตรที่เกิดก่อนวันที่ 1 เมษายน
พ.ศ. 2535 อยู่แล้วในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ให้ยังคงมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือ
บุตรดังกล่าวต่อไป จนกว่าบุตรนั้นจะมีอายุครบสิบแปดปีบริบูรณ์หรือมีอายุยังไม่ถึง
สิบแปดปีบริบูรณ์แต่เป็นผู้บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส หรือตายลงก่อนมีอายุครบสิบแปด
ปีบริบูรณ์(พ.ร.ฎ.ยกเลิกฯ พ.ศ. 2535)
            1.2.7   เงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ยกันดาร ตาม พ.ร.ฎ. เงินสวัสดิการเกี่ยวกับเบี้ย
กันดาร พ.ศ. 2524 ข้าราชการหรือลูกจ้างประจำที่ประจำอยู่ใน ท้องที่กันดาร ตามที่ราชการ
กำหนด ซึ่งได้แก่ ท้องถิ่นที่ทางคมนาคมไม่สะดวก ไม่มีรถยนต์หรือเรือยนต์โดยสารไปมา
ได้ตลอดปี มีโรคภัยไข้เจ็บชุกชุมโดยกระทรวงการคลังจะประกาศ ทุก 3 ปี จะได้รับการ
ช่วยเหลือเงินเบี้ยกันดารในอัตราส่วน ร้อยละ 10 ของเงินเดือน   แต่ไม่น้อยกว่าเดือนละ
200 บาท
            1.2.8   การสงเคราะห์เนื่องจากได้รับอันตราย หรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติ
ราชการ ข้าราชการหรือลูกจ้างได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะปฏิบัติราชการในหน้าที่
หรือเนื่องจากต้องไปปฏิบัติราชการนอกที่ตั้งสำนักงานหรือถูกประทุษร้าย เพราะเหตุกระทำ
ตามหน้าที่ จะยังสามารถรับราชการต่อไปได้หรือไม่ก็ตาม มีสิทธิได้รับการสงเคราะห์ตาม
พ.ร.บ. สงเคราะห์ข้าราชการ ผู้ได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ
พ.ศ. 2498 และได้รับเงินทำขวัญตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทำขวัญ
ข้าราชการและลูกจ้าง พ.ศ. 2516
            1.2.9   เงินค่าทดแทน ข้าราชการหรือลูกจ้างจะได้รับเงินค่าทดแทนตามระเบียบ
การจ่ายเงินค่าทดแทน และการพิจารณาบำเหน็จความชอบในการปราบปรามผู้ก่อการร้าย
คอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2510 โดยจะต้องได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการให้มีหน้าที่ปราบปราม
ผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และต้องได้รับอันตรายหรือป่วยเจ็บจากการปฏิบัติงานในหน้าที่
ดังกล่าว
            1.2.10 เครื่องราชอิสริยาภรณ์   ข้าราชการและลูกจ้างรวมทั้งบุคคลทั่วไป ที่เข้าหลัก
เกณฑ์การขอพระราชอิสริยาภรณ์ ตามระเบียบว่าด้วยการขอพระราชทาน เครื่องราชอิสริยา
ภรณ์ พ.ศ. 2511 และ หลักเกณฑ์ต่าง ๆ ซึ่งคณะรัฐมนตรีกำหนดจะได้รับการเสนอขอ
พระราชทานได้
            1.2.11 อายุราชการทวีคูณ ข้าราชการ และลูกจ้างประจำซึ่งรับราชการอยู่ใน
ระหว่างที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก หรือประกาศสถานกรณ์ฉุกเฉิน หรือรับราชการอยู่
ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกหรือเขตที่ประกาศสถานกรณ์ฉุกเฉิน จะได้รับการนับอายุ
ราชการ เพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญเป็นทวีคูณตามกฎหมายบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
อีกด้วย
     เวลาราชการทวีคูณระหว่างประกาศกฎอัยการศึก หรือสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันใช้
พ.ร.บ บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 จนถึงปัจจุบัน คือ
     เขตจังหวัดระยะเวลาที่ประกาศ                                                   รวมเวลา
     (1)  พระนคร ธนบุรี           30 มิ.ย.2494-5 ก.ย.2494                       2 เดือน 6 วัน
     (2) นอกเขต 26 จังหวัด      16 ก.ย.2500-3 ต.ค.2500                       17 วัน 
    (3) ในเขต 26 จังหวัด          17 ก.ย.2500-9 ม.ค.2501                        3 เดือน 23 วัน
     (4) ทั่วราชอาณาจักร           21 ต.ค.2501-28 ต.ค.2508                       7 ปี 9 วัน
     (5) ทั่วราชอาณาจักร            7 ต.ค.2519-5 ม.ค.2520                         3 เดือน
     (6) กรุงเทพมหานคร             9 ก.ย.2528-16 ก.ย. 2528                      7 วัน
     (7) ภูเก็ต                            23 มิ.ย.2529-30 มิ.ย.2529                      7 วัน
     (8) ทั่วราชอาณาจักร            23 ก.พ.2534-2 พ.ค.2534                       2 เดือน 10 วัน  
     1.3   สิทธิและประโยชน์ตอบแทนในการปฏิบัติราชการพิเศษหรือเพิ่มขึ้นจากปกติ
            ข้าราชการมีสิทธิได้รับประโยชน์ตอบแทนในการปฏิบัติราชการพิเศษหรือเพิ่มขึ้น
จากปกติอีกหลายกรณีด้วยกันดังต่อไปนี้
            1.3.1   ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและการฝึกอบรม
                    (1)   การเดินทางไปราชการในประเทศ
     แบ่งออกเป็น 3 กรณีด้วยกัน คือ การเดินทางไปราชการชั่วคราว การเดินทางไป
ราชการประจำ และการเดินทางกลับภูมิลำเนาเดิม ซึ่งค่าใช้จ่ายในการเดินทางต่าง ๆ ได้แก่
     - ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง   แบ่งออกเป็นอัตราประเภท ก. และประเภท ข.
     อัตราประเภท ก. ได้แก่ การเดินทางไปราชการนอกจังหวัดพื้นที่ หรือจากอำเภอหนึ่งไป
ยังอำเภอเมืองในจังหวัดเดียวกัน ส่วนประเภท ข. เป็นการเกินทางนอกจากประเภท ก.
รวมถึงการเดินทางไปราชการในเขตกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติ
ราชการปกติ
     สรุปค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางได้ดังนี้คือ
              ตำแหน่งระดับ                       ประเภท ก. วันละ                  ประเภท ข. วันละ
              1-2 หรือเทียบเท่า                          120 บาท                                36 บาท
              3-8 หรือเทียบเท่า                          180 บาท                               180 บาท
                 9 ขึ้นไปหรือเทียบเท่า                 120 บาท                               144 บาท
     ประเภท ก. ได้แก่ การเดินทางไปราชการ
          (1)   นอกจังหวัดพื้นที่สำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ
          (2)   ทางอำเภอหนึ่งไปราชการในอำเภอเมืองในจังหวัดเดียวกัน
     ประเภท ข.  ได้แก่ การเดินทางไปราชการ
          (1)   ในท้องที่อื่นนอกจากที่กำหนดในประเภท ก.
          (2)  ในเขตกทม. ซึ่งเป็นที่ตั้งสำนักงานซึ่งปฏิบัติราชการปกติ
     การเบิกเบี้ยเลี้ยงเดินทางสำหรับการเดินทางไปราชการเรื่องใดในสถานที่แห่งเดียวกัน
ให้เบิกได้ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน นับตั้งแต่วันที่ออกเดินทาง ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจาก
ปลัดกระทรวงเจ้าสังกัด
     - ค่าเช่าที่พัก (ตั้งแต่ 1 ต.ค. 39)
          ตำแหน่งระดับ                                                  ประเภท ก. วันละ
          1-2 หรือเทียบเท่า                                               ไม่เกิน      800  บาท
          3-8 หรือเทียบเท่า                                                ไม่เกิน 1,000  บาท
          9 ขึ้นไป หรือเทียบเท่า                                          ไม่เกิน 2,400  บาท 
          (ค่าอาหารและค่าเช่าที่พักสำหรับการฝึกอบรมให้ดูระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วย
การใช้จ่ายในการฝึกอบรมของส่วนราชการ พ.ศ. 2534 แก้ไขฉบับที่ 2 พ.ศ. 2539)
          การเบิกค่าเช่าที่พักให้เบิกได้ไม่เกินหนึ่งร้อยยี่สิบวัน ถ้าเกินต้องได้รับอนุมัติจาก
ปลัดประทรวงเจ้าสังกัด
     - ค่าพาหนะ   รวมถึงค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้อเพลิงหรือพลังงานสำหรับยานพาหนะ ค่า
ระวางบรรทุกค่าจ้างคนหาบหาม และอื่น ๆ ทำนองเดียวกัน มีรายละเอียดหลายประการ
ด้วยกัน
     การเดินทางไปราชการโดยปกติ ให้ใช้ยานพาหนะประจำทาง และให้เบิกค่าพาหนะได้
โดย ประหวัด ในกรณีไม่มียานพาหนะประจำทาง หรือมีแต่ต้องการความรวดเร็วเพื่อ
ประโยชน์แก่ราชการให้ใช้ยานพาหนะอื่นได้ แต่จะต้องชี้แจงเหตุผลและความจำเป็น
     - ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป็นต้องจ่ายเนื่องในการเดินทางไปราชการให้เบิกค่าใช้จ่ายนั้นได้
โดยประหยัด
                  (2)   การเดินทางไปราชการในต่างประเทศ แบ่งออกเป็น 2 กรณีคือ การเดิน
ทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว และการเดินทางไปราชการประจำต่างประเทศ
     การเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว
          ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการต่างประเทศชั่วคราว ได้แก่ (ก) ค่าเบี้ยเลี้ยงเดิน
ทาง (ข) ค่าเช่าที่พัก (ค) ค่าพาหนะรวมทั้งค่าเช่ายานพาหนะ ค่าเชื้องเพลิงหรือพลังงาน
สำหรับยานพาหนะ ค่าระวางบรรทุก ค่าจ้างคนหาบหามและอื่นๆ ทำนองเดียวกัน (ง)
ค่ารับรอง และ (จ) ค่าใช้จ่ายอื่นที่จำเป้นเนื่องในการเดินทางไปราชการเว้นแต่กรณีจำเป็น
ตามหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังกำหนด อาจเป็นค่าเครื่องแต่งตัวสำหรับตนเอง และคู่
สมรสได้ (ม.57)
     การเดินทางไปราชการประจำต่างประเทศ
          ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการประจำต่างประเทศ ได้แก่ (ก) ค่าเบี้ยเลี้ยงเดิน
ทาง (ข) ค่าเช่าที่พัก (ค) ค่าพาหนะ (ง) ค่าเครื่องแต่งตัว และ (ค) ค่าใช้จ่ายในการย้ายถิ่น
ที่อยู่
     1.3.2   เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ ข้าราชการที่ได้รับอนุมัติให้อยู่
ปฏิบัติราชการนอกเวลาราชการปกติ มีสิทธิได้รับเงินตอบแทนฯ ตามระเบียบว่าด้วยการ
จ่ายเงินตอบแทนฯ พ.ศ. 2536 ได้วันละครั้งเดียวตามหลักเกณฑ์ และอัตราดังนี้
     (1) วันละ100 บาท สำหรับการปฏิบัติราชการนอกเวลาราชการปกติ เป็นเวลาติดต่อกัน
ไม่น้อยกว่า 3 ชั่วโมง (2) วันละ 200 บาท สำหรับกรณีปฏิบัติราชการในวันหยุดราชการ
หรือลักษณะเป็นผลัด ซึ่งมีเวลาไม่น้อยกว่า 7 ชั่วโมง ไม่รวมเวลาหยุดพัก
     ถ้าปฏิบัติงานไม่ครบตามเกณฑ์ข้างต้นให้ได้รับชั่วโมงละ 30 บาท เศษของชั่วโมงให้
ติดทิ้ง
     2.   สิทธิและประโยชน์ตอบแทนเมื่อพ้นจากราชการแล้วรวมทั้งการช่วยเหลือที่ได้รับ
เมื่อเสียชีวิต
         ข้าราชการที่พ้นจากหน้าที่ราชการแล้วเพราะออกราชการก็ดี เพราะตายระหว่าง
ปฏิบัติหน้าที่ราชการก็ดี และตายหลังจากออกจากราชการแล้วก็ดี จะได้รับสิทธิประโยชน์
ตอบแทน รวมทั้งการช่วยเหลือต่างๆ จากทางราชการ ดังต่อไปนี้
         2.1   บำเหน็จบำนาญ   จ่ายให้แก่ข้าราชการที่ได้รับเงินเดือนจากงบประมาณประเภท
เงินเดือน แบ่งออกเป็น บำเหน็จบำนาญปกติ บำนาญพิเศษ และบำเหน็จตกทอดตาม พ.ร.บ.
บำเหน็จบำนาญข้าราชการ ตั้งแต่ 1 พ.ย. 2533 ผู้รับบำนาญปกติ และมีเวลาคำนวณบำเหน็จ
บำนาญ ครบ 25 ปี และขณะนี้กำลังรับบำนาญเงินช่วยค่าตรองชีพอยู่ โดยมีอายุและรับเงิน
ดังกล่าวไม่ถึงกำหนดต่อไปนี้ให้ได้รับเพิ่มจนครบจำนวนดังนี้
        อายุ 70 ปี แต่ไม่ถึง 80 ปีบริบูรณ์ ได้เพิ่มเป็น                     3,000 บาท/เดือน
        อายุ 80 ปี แต่ไม่ถึง 90 ปีบริบูรณ์ ได้เพิ่มเป็น                     5,000 บาท/เดือน
        อายุ 90 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ได้เพิ่มเป็น                                 6,000 บาท/เดือน
        นอกจากนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2535 ผู้ได้รับเบี้ยหวัด หรือบำนาญมีสิทธิได้รับเงิน
เพิ่ม ตาม พ.ร.ฎ. เงินช่วยค่าครองชีพผู้รับเบี้ยหวัดบำนาญ (ช.ค.บ.) (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2535
อีกดังนี้
         40% สำหรับผู้ที่ได้รับก่อน    2 ก.ย. 21
       20%   สำหรับผู้ที่ได้รับตั้งแต่  2 ก.ย. 21- 1 ม.ค. 32
        12% สำหรับผู้ที่ได้รับตั้งแต่  2 ก.ย. 32- 1 ม.ค. 35
        2.2  บำเหน็จ บำนาญ เงินสะสม เงินสมทบ เงินประเดิม เงินชดเชยและผลประโยชน์
ตอบแทนเงินดังกล่าว ตาม พ.ร.บ. กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราลการ พ.ศ. 2539
        2.3   บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษหรือการสงเคราะห์ ข้าราชการผู้ได้รับอันตราย
หรือเจ็บป่วยจนเสียชีวิต ทุพพลภาพ เนื่องจากปราบปรามผู้กระทำผิด หรือถึงแก่ความตาย
เนื่องจากได้รับอันตรายหรือถูกประทุษร้าย หรือได้รับการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ
ในหน้าที่ ซึ่งมิใช่ปราบปรามโจรผู้ร้าย และความตายนั้นมิได้เกิดจากความประมาทเลินเล่อ
อย่างร้ายแรง หรือจากความผิดพลาดของตนเอง มีสิทธิได้รับความชอบเป็นกรณีพิเศษตาม
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีด้วยการให้บำเหน็จความชอบเป็นกรณีพิเศษ พ.ศ. 2521 และ
(ฉบับ 2) พ.ศ. 2523 หรือระเบียบ อื่นแล้วแต่กรณี และมีสิทธิได้รับการสงเคราะห์ ตาม
พ.ร.บ. สงเคราะห์ข้าราชการผู้ได้รับอันตรา หรือป่วยเจ็บ เพราะเหตุปฏิบัติราชการ.
พ.ศ. 2498
        2.4  เงินค่าทดแทน ได้รับตามระเบียบการจ่ายค่าทดแทนและการพิจารณาบำเหน็จ
ความชอบในการปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ พ.ศ. 2510
        ข้าราชการที่จะได้รับเงินทกอทนต้องเป็นผู้ได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการให้มีหน้าที่
ปราบปรามผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ และได้รับอันตรายหรือเจ็บป่วยจากการปฏิบัติงานใน
หน้าที่ดังกล่าว
        2.5  เบี้ยหวัด จ่ายให้แก่ทหาร
        2.6   เงินช่วยพิเศษ ตามพ.ร.ฎ. การจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จบำนาญและเงินอื่นใน
ลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2522 ข้าราชการประจำตาย มีสิทธิได้รับ เงินช่วยพิเศษสามเท่าของ
เงินเดือน และถ้าข้าราชการบำนาญตาย มีสิทธิได้รับ เงินช่วยพิเศษหนึ่งเท่าของบำนาญ เงิน
ช่วยพิเศษนี้ จ่ายให้แก่บุคคลซึ่งข้าราชการผู้ตายได้แกสดงเจตนาระบุไว้เป็นหนังสือตาม
แบบที่กระทรวงการคลังกำหนด
        2.7   การช่วยเหลือเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญ
พิเศษเหตุทุพพลภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมี
เบี้ยหวัด ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด มีสิทธิได้รับการช่วยเหลือ
เกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พยาบาล เช่นเดียวกับข้าราชการประจำ ตาม พ.ร.ฎ.
เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ. 2523
        2.8   การช่วยเหลือเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร ผู้ได้รับบำนาญปกติหรือผู้ได้รับบำนาญ
พิเศษเหตุทุพพลภาพ ตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ และทหารกองหนุนมี
เบี้ยวหวัด ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยเงินเบี้ยหวัด มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือ
เกี่ยวกับการศึกษาของบุตร พ.ศ. 2523
        2.9   เงินสงเคราะห์ข้าราชการหรือนิสิตที่ติดเชื้อโรคเอดส์ จากการปฏิบัติหน้าที่และ
เสียชีวิตด้วยโรคเอดส์ ทายาทของบุคคลดังกล่าวมีสิทธิได้รับเงินสงเคราะห์ เป็นจำนวน
ไม่เกิน 1 ล้านบาท ตามระเบียบกระทรวงการคลัง พ.ศ. 2540