สรุปสาระสำคัญของพระราชบัญญัติ
โรงงาน พ.ศ. 2535

               1.   เหตุผลและวัตถุประสงค์
               โดยที่ พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2512 กำหนดให้โรงงานทุกลักษณะต้องขออนุญาต แต่ตาม
ลักษณะที่เป็นจริง โรงงานต่าง ๆ มีลักษณะแตกต่างกัน โรงงานบางประเภทไม่จำเป็นต้องควบคุม
ดูแลการตั้งโรงงาน เพียงแต่ดูแลการดำเนินงานเท่านั้น คงมีแต่โรงงานประเภทที่อาจเกิดอันตราย
จากการประกอบกิจการเท่านั้นที่ควรจะควบคุมการจัดตั้งอย่างเคร่งครัด และสมควรปรับปรุงวิธี
การอนุญาตให้เหมาะสมยิ่งขึ้น จึงจำเป็นต้องตรา พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 นี้
               2.   โรงงาน หมายความว่า
                    2.1   อาคาร สถานที่ หรือยานพาหนะ
                    2.2   ที่ใช้เครื่องจักรมีกำลังรวมตั้งแต่ 5 แรงม้าขึ้นไปหรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป
โดยจะใช้เครื่องจักรหรือไม่ก็ตาม
                    2.3   สำหรับทำ ผลิต ประกอบ บรรจุ ซ่อม ซ่อมบำรุง ทดสอบ ปรับปรุง แปรสภาพ
ลำเลียง เก็บรักษา หรือทำลายสิ่งใด ๆ
                   2.4   ตามประเภทหรือชนิดของโรงงานที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง(กฏกระทรวง)
ฉบันที่ 1 (พ.ศ.2535) (มาตรา 5)
               3.   ตั้งโรงงาน หมายความว่า
                    3.1   การก่อสร้างอาคารเพื่อติดตั้งเครื่องจักรสำหรับประกอบกิจการโรงงาน หรือ
                    3.2   นำเครื่องจักรสำหรับประกอบกิจการโรงงานมาติดตั้งในอาคาร สถานที่ หรือ
ยานพาหนะที่จะประกอบกิจการ (มาตรา 5)
               4.   แบ่งโรงงานออกเป็น 3 จำพวก
                    4.1   โรงงานจำพวกที่ 1 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาดที่สามารถประกอบ
กิจการโรงงานได้ทันทีตามความประสงค์
                    4.2   โรงงานจำพวกที่ 2 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่เมื่อจะประกอบ
กิจการโรงงานต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน
                    4.3   โรงงานจำพวกที่ 3 ได้แก่ โรงงานประเภท ชนิด และขนาด ที่การตั้งโรงงานจะ
ต้องได้รับใบอนุญาตก่อน (มาตรา 7)
               5.   พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 มิให้ใช้บังคับแก่โรงงานของทางราชการที่ดำเนินการโดย
ทางราชการ เพื่อประโยชน์แห่งความมั่นคงและความปลอดภัยของประเทศ (มาตรา 5)
               6.   ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (โรงงานจำพวกที่ 3) มีอายุการใช้ 5 ปีปฏิทิน
นับแต่ปีที่เริ่มประกอบการโรงงาน(มาตรา14)การขอต่ออายุใบอนุญาตต้องยื่นคำขอก่อนวันที่ใบ
อนุญาตภายในกำหนด60วันนับแต่วันที่ใบอนุญาตสิ้นอายุแล้วให้ถือว่าได้ยื่นคำขอต่ออายุภายใน
ระยะเวลาที่กำหนด แต่เมื่อได้รับอนุญาตให้ต่ออายุใบอนุญาตแล้ว จะต้องเสียค่าปรับเพิ่มอีกร้อยละ
20 ของค่าธรรมเนียมต่ออายุใบอนุญาต (มาตรา 15)
               7.   การขยายโรงงานได้แก่
                    7.1   เพิ่มจำนวน เปลี่ยนหรือเปลี่ยนแปลงเครื่องจักรทำให้มีกำลังรวมเพิ่มขึ้นตั้งแต่
ร้อยละห้าสิบขึ้นไป ในกรณีเครื่องจักรเดิมมีกำลังรวมไม่เกินหนึ่งร้อยแรงม้า หรือเพิ่มขึ้นตั้งแต่
ห้าสิบแรงม้าขึ้นไป ในกรณีเครื่องจักรเดิมมีกำลังรวมเกินกว่า ร้อยแรงม้า
                     7.2   การเพิ่ม หรือแก้ไขส่วนใดส่วนหนึ่งของอาคารโรงงาน ทำให้ฐานรากเดิมของ
อาคารโรงงานฐานใดฐานหนึ่งต้องรับน้ำหนังเพิ่มขึ้นตั้งแต่ห้าร้อยกิโลกรัมขึ้นไป (มาตรา 18)
               8.   การโอนและการขอรับโอนใบอนุญาต
                    8.1   ผู้รับใบอนุญาตโอนการประกอบกิจการโรงงาน ให้เช่า หรือให้เช่าซื้อ หรือขาย
โรงงาน ให้ถือว่าผู้นั้นเลิกประกอบกิจการโรงงานตั้งแต่วันที่ดำเนินการดังกล่าว แล้วแต่กรณี และ
ให้ผู้รับโอน ผู้เช่า หรือผู้เช่าซื้อหรือผู้ซื้อโรงงานขอรับโอนใบอนุญาตภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ถือ
ว่าผู้รับใบอนุญาตเลิกประกอบกิจการโรงงาน (มาตรา 21)
                     8.2   ในกรณีผู้รับใบอนุญาตตาย ให้ทายาทหรือผู้จัดการมรดกยื่นคำขอต่อผู้อนุญาต
เพื่อรับโอนใบอนุญาตภายในเก้าสิบวันนับแต่วันที่ผู้รับใบอนุญาตตาย (มาตรา 22)
               9.   มาตรการการกำจัดดูแลโรงงาน
                     9.1   พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผุ้ประกอบกิจการโรงงานที่ฝ่าฝืนหรือไม่
ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรงงานฯ โดยสั่งให้ระงับการกระทำที่ฝ่าฝืนหรือแก้ไขหรือปรับปรุงหรือ
ปฏิบัติให้ถูกต้องหรือเหมาะสมภายในระยะเวลาที่กำหนด (คำสั่งตามมาตรา 37)
           พนักงานเจ้าหน้าที่เมือได้รับอนุมัติจากปลัดกระทรวง หรือผู้ซึ่งปลัดมอบหมาย มีอำนาจ
ผูกมัดประทับตราเครื่องจักร เพื่อมิให้เครื่องจักรทำงานในระหว่างที่พนักงานเจ้าหน้าที่สั่งการให้
ปรับปรุงแก้ไขโรงงาน (มาตรา 37)
                    9.2   ปลัดกระทรวง หรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมาย มีอำนาจสั่งให้ผู้ประกอบ
กิจการโรงงานหยุดประกอบกิจการโรงงานทั้งหมด หรือบางส่วนชั่วคราวและให้ปรับปรุงแก้ไข
โรงงานเสียใหม่ ภายในระยะเวลาที่กำหนดในกรณีดังนี้ (มาตรา 39)
                         9.2.1   เมื่อไม่มีการปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ที่สั่งการ ตามมาตรา
37 โดยไม่มีเหตุอันสมควร
                         9.2.2   การประกอบกิจการอาจก่อให้เกิด อันตรายความเสียหายหรือความเดือด
ร้อนอย่างร้ายแรงต่อบุคคลหรือทรัพย์สิน
               หากผู้ประกอบกิจการโรงงานไม่ทำการปรับปรุงแก้ไขโรงงานภายในระยะเวลาที่
กำหนด ปลัดกระทรวง หรือผู้ซึ่งปลัดกระทรวงมอบหมายมีอำนาจสั่งปิดโรงงาน กรณีที่เป็น
โรงงานจำพวกที่ 3 คำสั่งปิดโรงงานเป็นการเพิกถอนใบอนุญาต (คำสั่งให้หยุดประกอบกิจการ
โรงงาน ใช้อำนาจตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง คำสั่งปิดโรงงานใช้อำนาจตามมาตรา 39 วรรคสาม)
                10.   หากราชการเข้าไปจัดการแก้ไขปัญหามลพิษ หรือผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิด
จากโรงงาน โดยขอรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและ
รักษาคุรภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติได้ (มาตรา 42 วรรคสอง)
               11.   ผู้ประกอบกิจการโรงงาน จำพวกที่ 2 และโรงงานจำพวกที่ 3 ต้องชำระค่า
ธรรมเนียมรายปีทุกปีจนกว่าจะเลิกประกอบกิจการโรงงาน ถ้ามิได้ชำระค่าธรรรมเนียมภายใน
เวลาที่กำหนด ให้เสียเงินเพิ่มอีกร้อยละห้าต่อเดือน และถ้าไม่ยินยอมชำระโดยไม่มีเหตุอันสมควร
พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ยุคประกอบกิจการโรงงานได้จนกว่าจะได้ชำระให้ครบถ้วน
(มาตรา 43)
               12.   ให้มีคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีความผิดตาม พ.ร.บ. โรงงาน 2535 ในเขต
กรุงเทพมหานคร และในส่วนภูมิภาคตามความเหมาะสม (มาตรา 65)
               13.   กรณีมีการการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. โรงงาน 2535 ให้ถือว่าบุคคลผู้อาศัยอยู่
ใกล้ชิดหรือติดกับโรงงานที่มีการกระทำความผิด เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายว่าด้วยวิธี
พิจารณาความอาญา (มาตรา 64)
               14.   เขตประกอบการอุตสาหกรรม คือท้องที่ใดท้องหนึ่งซึ่งรัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษา ให้เป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรม (มาตรา 30)
               15.   กรณีที่จะมีการตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรเพื่อปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
อาจกำหนดให้เอกชนเป็นผู้ดำเนินการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบแทนการปฏิบัติหน้าที่ของ
พนักงานเจ้าหน้าที่ก็ได้ (มาตรา 9)
               16.   การดำเนินคดีผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ. โรงงาน 2535 หากผู้ต้องหารับสารภาพ
ตามข้อกล่าวหาและยินยอมให้คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีทำการเปรียบเทียบปรับ ถือว่าคดีเลิก
กันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา หากไม่ยินยอมให้เปรียบเทียบปรับก็จะถูก
ดำเนินคดีต่อไปตามกฎหมาย
                    ความผิดที่ไม่อาจกระทำการเปรียบเทียบคดีได้ คือ ความผิดตามมาตรา 50 วรรค 2
หรือมาตรา 52 วรรค2 (มาตรา 65)
               17.   บรรดากฎกระทรวงและประกาสกระทรวงที่ออกตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน (ออก
ตาม พ.ร.บ. โรงงาน 2512) ให้คงใช้บังคับได้ต่อไปเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.
โรงงาน 2535 (มาตรา 68)
               18.   โรงงานจำพวกที่ 3 ในเขตนิคมอุตสาหกรรม หรือในเขตประกอบการอุตสาหกรรม
ได้รับยกเว้นเกี่ยวกับการขอรับใบอนุญาต และโรงงานจำพวกที่ 2 ได้รับการยกเว้นเกี่ยวกับการ
แจ้งประกอบกิจการโรงงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ (มาตรา 30

19.เพื่อประโยชน์ในทางเศรษฐกิจการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมความมั่นคงความปลอดภัยของประเทศ หรือของสาธารณชน รัฐมนตรคโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนด จำนวนของ
โรงงานที่จะให้ตั้งหรือขยาย หรือที่จะไม่ให้ตั้งหรือขยายในท้องที่หนึ่ง หรือจะกำหนดเกี่ยวกับเรื่อง
วัตถุดิบ กำหนดคุณภาพของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในโรงงาน หรือกำหนดเกี่ยวกับผลผลิตของโรงงานก็
ได้ (มาตรา 32)