ตอนที่ 7 - การกำจัดกากตะกอนและการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
         การบำบัดน้ำเสียจะสมบูรณ์ไม่ได้ หากกากตะกอนที่เกิดจากกระบวนการบำบัดน้ำเสียยังไม่
ได้ถูกกำจัดจนถึงขั้นสุดท้าย กากตะกอนที่เกิดจากกระบวนการบำบัดมาจากถังตกตะกอน กาก
ตะกอนที่เกิดจากถังตกตะกอนถังแรกจะมีคุณสมบัติของสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์รวมกัน ส่วน
ตะกอนจากถังตกตะกอนที่สองจะเป็นมวลอินทรีย์ เว้นเสียแต่ว่าเป้นการกำจัดทางเคมี จึงจะเป็น
ตะกอนเคมีล้วน ๆ เราจึงสามารถแยกกากตะกอนพวกนี้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ
         1.   การตกตะกอนเคมี หรืออนินทรีย์ (Chemical Sludge) กากตะกอนนี้เกิดจาก
              กระบวนการบำบัดน้ำเสียทางเคมี ส่วนใหญ่เป็นเกลืออนินทรีย์ บางชนิดอาจเป็นสารพิษ
              ยากต่อการบำบัดและมีราคาแพง
         2.   กากตะกอนอินทรีย์ (Organic Sludge) อาจมาจากถังเกรอะ ถังตกตะกอนที่สอง
          ส่วนใหญ่จะเป้นมวลอินทรีย์หรือมวลจุลินทรีย์ หากปล่อยทิ้งไว้จะเกิดการเน่าเสียส่ง
          กลิ่นเหม็นได้ กากตะกอนส่วนนี้มีลักษณะเป็นของเหลวข้นที่มีของแข็งแขวนลอย
          ประมาณร้อยละ 0.25-12 โดยน้ำหนัก ไม่สามารถรักษารูปทรงได้ จำเป็นต้องมีภาชนะ
          ปริมาตรมาก ขนย้ายลำบากหากเป็นตะกอนสด (Fresh Sludge) จะมีสีออกน้ำตาล
          มีกลิ่นไม่รุนแรง และมีสารอินทรีย์สูง กากตะกอนนี้เมื่อนำมาย่อยสลายแล้ว (Diges-
          ted Sludge) สีตะกอนจะเปลี่ยนเป็นสีเท่าหรือดำ มีปริมาณสารอินทรีย์ลดน้อยลง
การกำจัดกากตะกอน (Sludge Treatment) 
       การกำจัดกากตะกอนเพื่อลดปริมาตรและปริมาณของสารอินทรีย์ให้มีความเข้มข้นน้อยลง
เป็นการเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของของแข็งให้มีมากขึ้น เพื่อที่ให้กากตะกอนสามารถรักษารูปทรงไว้ได้
สะดวกในการขนย้าย หรือการนำไปเปลี่ยนสภาพเป็นก๊าซชีวภาพดังที่ได้กล่าวแล้วในบทก่อน
วิธีลดปริมาตรด้วยการลดปริมาณน้ำในกากตะกอนทำได้หลายวิธี คือ
         1.   ลานตากตะกอนฐานทราย (Sand Drying Bed)
       2.   ระบบรีดด้วยความดัน (Filter Press)
       3.   การรีดด้วยสายพาน (Belt Filter Press)
ลานตกตะกอนฐานทราย (Sand Drying Bed)  
       การนำกากตะกอนมาตากแดดบนฐานทราย เป็นการลดปริมาณน้ำที่มีอยู่ในกากตะกอนด้วย
วิธีง่าย ๆ โดยอาศัยแดด ลม และการซึมผ่านวัสดุกรองทรายที่เตรียมไว้ เป็นการลดน้ำที่ดีวิธีหนึ่ง
         กากตะกอนจะถุกสูบมาตากบนฐานทรายที่เตรียมไว้ ให้มีความหนาประมาณ 10-20 เซนติ-
เมตรน้ำจะซึมผ่านชั้นทรายซึ่งหนาประมาณ 10-25 เซนติเมตรลงมายังชั้นกรวดที่หนาประมาณ
20-40 เซนติเมตร และผ่านเข้ามายังท่อระบาย น้ำส่วนหนึ่งจะระเหยไปด้วยลมและความร้อน
กำหนดให้ตะกอนตกแห้งในวันเดียว ตะกอนที่ตากแห้งแล้วจะมีของแข็งมากกว่า 30% สามารถ
ตักใส่รถขนย้ายได้ง่าย
         การตากตะกอนบนฐานทรายนี้จะมีปัญหาในฤดูผน จึงอาจต้องมีหลักคากั้น (เลื่อนได้) กาก
ตะกอนจะแห้งช้าลงจึงควรลดความหนาให้น้อยลง วิธีนี้จะใช้พื้นที่มาก แต่ไม่ต้องใช้เครื่องจักร
ดูแลควบคุมง่าย วิธีนี้มีราคาถูกหากที่ดินบริเวณนั้นมีราคาไม่สูง
ระบบรีดด้วยความดัน (Filter Press)
       ระบบนี้จะต้องใช้เครื่องมือในการรีดเอาน้ำออก เครื่องรีดจะประกอบด้วยแผ่นเหล็กหลายๆ
แผ่นประกบกันอยู่บนโครง โดยมีผ้ากรองหนาแทรกอยู่ระหว่างแผ่นเหล็ก ตัวแผ่นเหล็กจะเจาะรู
ขนาดเล็กเป็นจำนวนมากเพื่อให้น้ำไหลออก กากตะกอนที่จะป้อนเข้าเครื่องรีดจะต้องผสมสารเคมี
บางชนิดเช่น สารส้ม ปูนขาว เกลือเหล็ก และโพลิเมอร์ เป็นต้น ในอัตราส่วนที่พอเหมาะ โดยมีค่า
พีเอชไม่เกิน 10 แล้วสูบเข้าเครื่องรีดตรงกลางโครงแผ่นเหล็กจนเต็ม แผ่นเหล็กจะถูกแรงดันอัดเข้า
หากันด้วยระบบไฮโดรลิก รีดน้ำให้ผ่านผ้ากรองและรูเล็ก ๆ ที่เจาะเอาไว้ ส่วนเนื้อกากตะกอนจะ
ติดอยู่ภายใน เมื่ออุดตันแรงดันจะสูงขึ้นจนถึงจุดที่ตะกอนแห้งเครื่องจึงหยุดทำงานและคลายแผ่น
เหล็กออก กวาดเอากากตะกอนที่ติดอยู่ออกมา แล้วจึงล้างผ้ากรอง บรรจุผ้ากรองกลับเข้าไปใหม่
เพื่อทำการกรองครั้งต่อไป การทำงานจะทำเป็นช่วง ๆ ในแต่ละช่วงจะใช้เวลาประมาณ 2-3
ชั่วโมง ตะกอนที่กวาดออกมาจะมีของแข็งประมาณร้อยละ 20-35 ตะกอนที่แห้งขนย้ายได้สะดวก
หรือจะนำไปตากหรืออบแห้งเก็บไว้บำรุงต้นไม้ต่อไป การรีดน้ำออกด้วยวิธีนี้จะแพงกว่าวิธีแรก
เพราะต้องใช้เครื่องมือและผู้ควบคุมที่มีความรู้ และยังต้องใช้สารเคมีอีกด้วย อย่างไรก็ตามวิธีก็ยัง
เป็นที่นิยมกัน เพราะใช้พื้นที่น้อย ประสิทธิภาพการลดปริมาณน้ำสูง น้ำที่รีดออกมาสะอาดพอที่
จะนำไปรดต้นไม้ได้
การรีดด้วยสายพาน (Belt Filter Press)
       ระบบนี้จะใช้เครื่องรีดด้วยสายพาน เครื่องรีดจะประกอบด้วยลูกกลิ้งเป็นจำนวนมากกับ
สายพานกรองสองชุด กากตะกอนที่ผสมกับสารเคมีแล้วจะถูกระบายลงบนสายพานกรอง น้ำบาง
ส่วนจะไหลลงผ่านผ้ากรองโดยแรงโน้มถ่วง เมื่อสารพานเครื่องผ่านลูกกลิ้ง ลูกกลิ้งจะรีดเอาน้ำ
ออก ส่วนเนื้อตะกอนจะติดอยู่ที่สายพานกรอง แล้วจะถูกมีดปาดให้หลุดออกมา สายพานกรองจะ
ถูกทำความสะอาด โดยการฉีดน้ำย้อนกลับ และสายพานจะหมุนกลับไปรับกากตะกอนใหม่ ทำ
อย่างนี้เรื่องไปจนหมดกากตะกอนที่เตรียมไว้ กากตะกอนที่ถูกมีดปาดลงมาจะมีของแข็งสูง
ประมาณร้อยละ 20-35 แห้งมากพอที่จะทำการขนย้ายไปได้ง่าย วิธีนี้สะดวกกว่าวิธีรีดด้วยความ
ดัน จึงเป็นที่นิยมกันมากกว่า
         ข้อดีของการรีดเอาน้ำออก
         1.   การรีดเอาน้ำออกเป็นการลดปริมาตรของกากตะกอน   และเพิ่มเปอร์เซ็นต์ของของแข็ง
              ทำให้กากตะกอนแห้ง ขนถ่ายได้สะดวก
         2.   สามารถนำกากตะกอนไปอบแห้ง ทำปุ๋ย หรือนำไปถมดิน หรือเผาได้ง่ายขึ้น
         3.   การรีดเอาน้ำออกทำให้แบคทีเรียตายหรือไม่ทำงาน มีกลิ่นน้อยลง
        ข้อควรระวัง
         หากนำกากตะกอนที่รีดเอาน้ำออกแล้วไปถมที่ จะต้องให้ไกลจากแหล่งน้ำผิวดิน ไม่ตรง
กับจุดที่น้ำไหลลงชั้นบาดาล หรือบริเวณที่มีระดับน้ำใต้ดินสูง เพราะจะทำให้เกิดการปนเปื้อนได้
ง่าย หากมีความจำเป็นที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ควรปูพื้นด้วยดินเหนียวกันซึม หรือยางสัง-
เคราะห์ซึ่งจะทำให้ต้องลงทุนสูง
การฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ (Disinfection)
       การฆ่าเชื้อแบคทีเรียในน้ำทิ้ง แม้ว่าจะไม่ใช้ข้อกำหนดในมาตรฐานน้ำทิ้งก็ตามแต่ก็เป็นสิ่ง
ที่ควรทำ โดยเฉพาะน้ำทิ้งที่จะต้องระบายลงแหล่งน้ำขนาดเล็กที่มีความสามารถในการเจือจาง
น้อย เนื่องจากจุลินทรีย์ที่ยังเหลืออยู่ในน้ำทิ้งอาจมีแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคปนอยู่ ซึ่งจะแพร่
กระจายได้ง่ายหากบริเวณนั้นเป็นแหล่งน้ำดิบเพื่อการอุปโภคและบริโภคด้วยแล้วจำเป็นอย่างยิ่ง
ที่จะต้องฆ่าเชื้อจุลินทรีย์เสียก่อน เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้ใช้
คลอรีน (Chlorine,Cl2)
       การใช้สารคลอรีนสำหรับฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ นอกจากจะฆ่าพวกแบคทีเรียไม่ให้แพร่กระจาย
ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้น้ำมีความปลอดภัยจากโรคแล้ว คลอรีนยังช่วยดับกลิ่นอีกด้วย เพราะคลอรีนจะทำ
ปฏิกิริยากับสารประกอบแอมโมเนียที่อยู่ในน้ำให้หมดไป การเติมคลอรีนในน้ำเสียต้องให้มี
ปริมาณพอเหมาะ(ทดสอบด้วยวิธี Jar Test) เมื่อทำปฏิกิริยาสมบูรณ์แล้วจะต้องมีคลอรีนอิสระ
ไม่เกิน 1 มิลลิกรัมค่อลิตรจึงจะรบายสู่แหล่งน้ำตามธรรมชาติได้ หากมีความเข้มข้นสูงจะทำให้
ระบบนิเวศน์วิทยาเสียหายได้
         ข้อดีของการใช้คลอรีน คือ หาซื้อได้ง่าย ราคาถูก มีทั้งในรูปของของเหลว และของแข็ง ใน
ขณะเดียวกันก็มีข้อเสีย เพราะคลอรีนจะทำปฏิกิริยากับสารประกอบเฮไรด์ เช่น โบรมีน หรือ
ไอโอดีน นอกจากนี้แล้วยังรวมกับกรดอินทรีย์ และฟีนอล กลายเป็นสารก่อมะเร็งได้ด้วย