ตอนที่ 4 - บ่อบำบัดน้ำเสีย
         บ่อบำบัดน้ำเสียมีทั้งแบบใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจนส่วนใหญ่จะใช้พื้นที่มาก ยกเว้น
บ่อเกรอะในที่นี้จะกล่าวถึงระบบบ่อที่นิยมใช้กันในประเทศไทยเท่านั้น
บ่อเกรอะ (Septic Tank)
       บ่อเกรอะหรือถังเกรอะ เป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบติดอยู่กันที่ สำหรับบำบัดน้ำเสียจาก
อาคาร บ้านเรือน เป็นถังสี่เหลี่ยมหรือทรงกระบอกสองถังติดกัน มีท่อเปิดที่ผนังส่วนที่ติดกัน
สำหรับให้น้ำเสียไหลผ่านจากถังหนึ่งไปยังอีกถังหนึ่งได้ (รูปที่ 4.1) ถังนี้จะถูกฝังอยู่ใต้ติน ทำหน้า
ที่แยกของแข็งออกจากของเหลว สำหรับถังแรกทำหน้าที่คล้ายถังตกตะกอน ถังหมัก และถังเก็บ
กากตะกอน ส่วนถังที่สองทำหน้าที่เป็นถังตกตะกอน โดยช่วยตกตะกอนส่วนที่เหลือจากถังแรก
เพื่อดไม่ให้ตะกอนส่วนที่เหลือไหลออกไปนอกถัง ถังเกรอะส่วนใหญ่จะออกแบบให้เก็บกักน้ำเสีย
ได้นานประมาณ 24 ชั่วโมง ตะกอนที่ตกลงกันถังจะถูกจุลินทรีย์ที่ปนมากับน้ำเสียย่อยสลายไป
เรื่อย ๆ เป็นปฏิกิริยาย่อยสลายที่ไม่ต้องใช้ออกซิเจนทำให้ได้ก๊าซมีเทน (CH4) และก๊าซคาร์
บอนไดออกไซด์ (CO2) เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ถังเกรอะจึงต้องมีท่อระบายอากาศด้วย ส่วนน้ำเสีย
ที่ผ่านถังเกรอะแล้วอาจยังมีเชื้อจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคได้ ไม่ควรปล่อยออกสู่ท่อระบายน้ำโดย
ตรง แต่ควรให้ซึมผ่านดินเอง ส่วนตะกอนที่ตกอยู่ในบ่อจะต้องสูบไปบำบัดต่อราว 2-3 ปีต่อครั้ง
บ่อซึม (Soak-away)
     
บ่อซึมเป็นระบบบำบัดน้ำเสียต่อจากถังเกรอะ บ่อซึมจะสร้างด้วยคอนกรีตมีรูพรุนโดยรอบ
รอบนอกของถังจะกรุด้วยกรวดขนาดใหญ่และเล็กตามลำดับ เพื่อให้น้ำเสียสามารถซึมผ่านลงดิน
ได้ดีขึ้นจุลินทรีย์ที่อยู่ในดินจะช่วยย่อยสลายสารอินทรีย์ในน้ำเสีย และกรองจุลินทรีย์ที่เป็นเชื้อ
โรคไว้
บ่อหมักไร้อากาศ (Anaerobic Pond)
      การบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีบ่อหมักไร้อากาศ   มักจะใช้กับน้ำเสียที่มีความเข้มข้นสูงหรือพวกกาก
ตะกอนจากระบบบำบัดอื่น น้ำเสียที่มีสารอินทรีย์สูงไม่เหมาะกับระบบเติมอากาศ แต่สามารถนำมา
บำบัดในระบบน้ำได้ บ่อหมักไร้อากาศส่วนใหญ่จะเป็นบ่อดินเปิด แคบ และลึกราว 6 เมตร เพื่อรักษา
อุณหภูมิและป้องกันออกซิเจนในอากาศไม่ให้ลงไปรบกวนการทำงานของแบคทีเรียชนิดไม่ใช้
ออกซิเจนบ่อหมักไร้อากาศจึงง่ายต่อการออกแบบและควบุคม ราคาถูกแต่ประสิทธิภาพ มิหนำซ้ำ
ยังมีกลิ่นอีกด้วยน้ำเสียที่ผ่านระบบหลังจากถูกเก็บกักไว้นาน 10-30 วัน ยังไม่ได้มาตรฐานน้ำทิ้ง
จะต้องนำไปบำบัดในระบบอื่นต่อไป เว้นเสียแต่ว่าจะต่อบ่อเป็นแบบอนุกรมเป็นการเพิ่มประสิทธิ
ภาพของระบบ แต่ก็ต้องใช้พื้นที่เพิ่มมากขึ้นจึงไม่เป็นที่นิยมกัน
        การทำงานของบ่อหมักไร้อากาศมีสองขั้นตอน ขั้นตอนแรกน้ำเสียที่สารอินทรีย์สูง พวกที่มี
โมเลกุลใหญ่ เช่น คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน จะถูกย่อยสลายให้มีขนาดเล็กลงโดยแบคทีเรียที่เรา
เรียกว่า แอซิดฟอร์เมอร์ (Acid Former) กลายเป็นกรดอะซิติก (Acetic Acid) โพรพิ-
โอนิค (Propionic Acid) แอลกอฮอล์ (Alcohol) อัลดีไฮด์ (Aldehyde) ไฮโดรเจน
(Hydrogen,H2) แอมโมเนีย (Ammonia,NH3) และคาร์บอนไดออกไซด์ (Carbon
Dioxide, CO2) แบคทีเรียในกลุ่มนี้ได้แก่ Pseudomonas,Flavobacterium,
Coliform, Alcaligenes แบคทีเรียกลุ่มนี้ทำงานและเจริญเติบโตเร็ว ทนต่อสภาพการเปลี่ยน
แปลงของสิ่งแวดล้อมได้ดี ไม่ตายง่าย อยู่ได้ในสภาพที่มีและไม่มีออกซิเจน
        แบคทีเรียกลุ่มที่สองจะทำงานต่อจากการทำงานของแบคทีเรียกลุ่มแรก คือ จะเปลี่ยนก๊าซ
ไฮโดรเจนและคาร์บอนไดออกไซด์มาเป็นก๊าซมีเทน (Methane, CH4) และเปลี่ยนกรดอะซิติก
เป็นก๊าซมีเทนและสารไบคาร์บอเนต แบคทีเรียกลุ่มนี้เรียกว่า มีเทนฟอร์มเมอร์ (Methane For-
mer) แบคทีเรียกลุ่มนี้มีความสำคัญเพราะเป็นผู้ควบคุมการทำงานของระบบ บ่อหมักตอนเดียวจึง
ควรได้รับการเอาใจใส่ เพราะมันมีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปได้น้อยกว่าพวกแรก
เป็นพวกที่เจริญเติบโตช้า เกิดยากแต่ตายง่าย ในสภาวะการทำงานปกติก๊าซชีวภาพที่ได้มาจะมีก๊าซ
มีเทนอยู่ประมาณ 60-75% แบคทีเรียกลุ่มนี้ได้แก่ Methanobacterium, และ Methano-
sarcina กระบวนการที่กล่าวมาทั้งหมดนำสรุปไว้ดังรูปที่ 4.4
       ในกรณีที่น้ำเสียมีสารพวกซัลเฟตอยู่ จะมีแบคทีเรียอีกกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า ซัลเฟตรีดิวซิ่ง (Sul-
fate Reducing) ที่จะย่อยสารประกอบซัลเฟตและสารอินทรีย์ทำให้เกิด
ไฮโรเจนซัลไฟด์ (Hydrogen Sulfide, H2 S) หรือที่เรียกกันว่าก๊าซไข่เน่า
และส่งกลิ่นเหม็น กลิ่นนี้จะรุนแรงขึ้นหากทีเอชในบ่อค่อนข้าเป็นกรด จึงต้องคอย
ระวังในเรื่องนี้ ก๊าซเหล่านี้จะพาเอาสารแขวนลอยที่เหลืออยู่ลอยขึ้นมาบนผิวน้ำที่
เรียกกันว่า สกัม(Scum) และสกัมนี้จะหนามากขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อการทำงานมากขึ้น
     บ่อหมักไร้อากาศจะทำงานได้ดีในสภาพที่เหมาะสม คือ มีสารอินทรีย์เข้า
1.5-6.2 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตรต่อวัน พีเอชอยู่ระหว่าง 6.8-7.4 และต้องไม่ต่ำกว่า
6.5 อัตราส่วนของกรดระเหยต่อด่างเท่ากับ 0.1-0.3 ด่างมีประมาณ 2,000-3,000
มิลลิกรัมต่อลิตร คาร์บอนไดออกไซด์อยู่ระหว่าง 30-35% (ไม่เกิน 40%)
แอมโมเนียต้องไม่เกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อลิตร ซัลไฟด์ไม่เกิน 100 มิลลิกรัมต่อลิตร
อัตราส่วนบีโอดีต่อไนโตรเจนต่อฟอสฟอรัส (BOD:N:P) เท่ากับ 100:1:0.2
และอุณหภูมิอยู่ระหว่าง 30+5 ํ c ระบบจะมีประสิทธิภาพ 40-70% โดยมีระยะ
เก็บกัก 10-30 วัน
      นอกจากนี้แล้วสิ่งที่จะมองข้ามไม่ได้คือปริมาณของสารอนินทรีย์ที่ปนมากับ
น้ำเสียหากมีมากเกินไปจะเป้นพิษทำให้แบคทีเรียตายได้ แต่หากมีปริมาณความ
เข้มข้นอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม จะช่วยกระตุ้นการทำงานของแบคทีเรียให้ดีขึ้น
ปริมาณที่เหมาะสม คือ แคลเซียม 100-200 มิลลิกรัมต่อลิตร แมกนีเซียม 75-150
มิลลิกรัมต่อลิตร โปแตสเซียม 200-400 มิลลิกรัมต่อลิตร และโซเดียม 100-200
มิลลิกรัมต่อลิตร
      หากพบว่าสารดังกล่าวมีความเข้มข้นสูงไปกว่านี้ จะทำให้แบคทีเรียทำงานได้
ไม่ดี หากสูงมากจนทำให้มันตาย นั่นย่อมหมายถึงความล้มเหลวของระบบที่จำเป็น
ต้องเริ่มต้นใหม่
ถังหมักไร้อากาศแบบปิด (Anaerobic Digester)
     การทำงานของระบบถังหมักไร้อากาศแบบปิดคล้ายกับระบบบ่อหมักไร้อากาศ
แบบเปิด ต่างกันที่รูปแบบ แบบปิดสามารถลดกลิ่นเหม็นลงได้ และยังสามารถนำก๊าซ
ชีวภาพที่เกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์มาใช้ประโยชน์ได้ เช่น ใช้หุงต้มอาหาร
ผลิตไฟฟ้าและอื่น ๆ ประสิทธิภาพก็ยังต่ำอยู่ดี
ถังหมักที่มีวัสดุกรอง (Anaerobic Filter)
     ระบบนี้คล้ายถังกรองทราย แต่วัสดุที่บรรจุอยู่เป็นพวกพลาสติก ระบบนี้ไม่ต้องสูบ
ตะกอนกลับมีแบคทีเรียเกาะอยู่ที่ตัวกลางเหมือนแผ่นฟิล์มหุ้มตัวกลางพลาสติกไว้ น้ำ
เสียจะเข้าทางด้านล่าง (Upflow) ของถังหมัก แล้วผ่านขึ้นมาทางผิวบน มีประสิทธิ
ภาพการบำบัดสูงราว 90% ระบบนี้มีราคาแพงเนื่องจากตัวกลาง แต่สามารถเก็บกาซ
ชีวภาพไปใช้ประโยชน์ได้ด้วย
      ข้อดีและข้อเสียของระบบหมักไร้อากาศ
       ข้อดี
       1.   บำบัดน้ำเสียที่มีความเข้มข้นสูง ๆ ได้
       2.  ราคาถูก ง่ายต่อการออกแบบ
       3.  ควบคุมดูแลง่าย
       ข้อเสีย
       1.  ใช้พื้นที่มาก ประสิทธิภาพต่ำ
       2.  มีกลิ่นเหม็น น้ำทิ้งมีสีดำ
       การควบคุมระบบ
       1.   คุมระดับอัตราส่วนกรดระเหยต่อด่างไม่ให้เกิน 0.3
       2.   พีเอชอยู่ระหว่าง 6.5-7.4
       3.   รักษาแอมโมเนียไม่ให้เกิน 200 มิลลิกรัมต่อลิตร
       4.   รักษาระดับอาร์บอนไดออกไซด์ ถ้ามีคาร์บอนไดออกไซด์มากจะทำให้เกิด
            ฟองขึ้นได้
ระบบบ่อผึ่ง (Oxidation Pond)
     บ่อผึ่งเป็นระบบบำบัดน้ำเสียแบบชีวเคมี เหมาะกับประเทศในเขตร้อนที่มีแสง
แดดตลอดปีเนื่องจากบ่อผึ่งเป็นระบบที่เสียค่าใช้าจ่ายต่ำ รักษาง่าย ประสิทธิภาพดี
ให้ผลพลอยได้ ไม่เปลืองพลังงานเพราะใช้พลังงานจากแสงแดด จึงเหมาะกับประเทศ
ที่กำลังพัฒนาที่มีราคาที่ดินไม่แพงนัก เพราะบ่อผึ่งจะต้องใช้พื้นที่กว้าง
     บ่อผึ่งอาจมีหลายชื่อตามความลึก แต่ยึดหลักการทำงานแบบเดียวกัน ชนิดที่มี
ความลึกเพียง 0.3-0.45 เมตร มีออกซิเจนอยู่ตลอดทั้งบ่อ เรียกว่า Aerobic Pond
ส่วนบ่อที่มีความลึก 1-1.5 เมตรมีออกซิเจนละลายอยู่เกือบทั้งบ่อ ยกเว้นก้นบ่อ แต่
ปริมาณความเข้มข้นไม่เท่ากัน ปริมาณออกซิเจนจะมีมากบนผิวน้ำและลดน้อยลงไป
เรื่อย ๆ ตามความลึกของบ่อ เรียกว่า Facultative Pond หรือ Oxidation
Pond ส่วนบ่อที่มีความลึกมากกว่า 4 เมตร เป็นบ่อไร้อากาศ มีออกซิเจนละลายอยู่
เฉพาะส่วนผิวน้ำเท่านั้น เรียกว่า Anaerobic Pond
     บ่อผึ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้มีความลึกไม่เกิน 1.5 เมตร ลักษณะเป็นบ่อดินเปิดอยู่
กลางแดด ถ้ามองจากด้านบนจะเห็นเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ถ้ามองจากด้านข้างจะเห็น
เป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู โดยมีความลาดเอียงจากขอบบ่อถึงก้นบ่อประมาณ 1 ต่อ 3 เพื่อ
กันดินขอบบ่อพังทลายสู่ก้นบ่อ น้ำเสียที่เข้ามาในบ่อผึ่งจะถูกกักไว้นานไม่เท่ากัน ขึ้น
อยู่กับความเข้มข้นของสารอินทรีย์ที่มีอยู่ในน้ำเสีย ระยะเวลาของการเก็บกักอาจเป็น
1 วัน จนถึง 1 เดือนก็เป็นได้ การกำหนดเวลาเก็บกักที่แน่นอนจะทำได้ต่อเมื่อทราบ
ความเข้มข้นของสารอินทรีย์ในน้ำเสียแล้ว ส่วนขนาดของบ่อจะใหญ่หรือเล็ก มีเพียง
บ่อเดียวหรือหลายบ่อต่อกันแบบอนุกรมขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำเสีย และพื้นที่ว่างที่มีอยู่
       การทำงานของบ่อผึ่งเป็นกระบวนการบำบัดน้ำเสียหลายรูปแบบรวมกัน สาร
แขวนลอยที่ปนมากับน้ำเสียที่มีขนาดใหญ่จะตกลงสู่ก้นบ่อด้วยวิธีการทางกายภาพ
หลังจากนั้นจะเกิดการย่อยสลายด้วยกระบวนการทางชีวเคมีแบบไม่ใช้ออกซิเจน ส่วน
สารละลายอินทรีย์ที่อยู่ในน้ำจะถูกย่อยสลายโดยแบคทีเรียที่ใช้ออกซิเจน กลายเป็น
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) น้ำและแบคทีเรียเซลล์ใหม่อาจมีพวกแอมโมเนีย
และฟอสเฟตปนอยู่ด้วย ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะถูกสาหร่าย (Algae) ใช้ใน
กระบวนการสังเคราะห์แสงรวมกับสารประกอบไนโตรเจนและฟอสฟอรัสกลายเป็น
สาหร่ายเซลล์ใหม่และออกซิเจน ซึ่งออกซิเจนนี้จะถูกใช้โดยแบคทีเรียวนเวียนเป็น
วัฏจักรต่อไป นอกจากนี้แบคทีเรียยังได้รับออกซิเจนจากอากาศที่ละลายเติมลงมาด้วย
ยิ่งมีลมแรงการเติมออกซิเจนก็จะมีเพิ่มขึ้น
ตารางที่ 4.1 การเปลี่ยนแปลงทางเคมีและชีวเคมีที่เกิดขึ้นในบ่อผึ่งชนิด Facultative
ความลึกจากก้นบ่อ บริเวณที่กล่าวถึง ปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น
1.5 เมตร ส่วนที่มีออกซิเจน สาหร่าย+co2+H2O  (CH2O)x+
O2+H2O
2(CH2O)+O2  CO2+(CH2O)
+H2O 
0.30 เมตร ส่วนที่ไม่มีออกซิเจน 3CH3COOH   2CO2+2CH4+
2(CH2O)x
0.05 เมตร ตะกอนที่ก้นบ่อ 3(CH2O)3    CH3COOH+
(CH2O)x

     จากตารางที่ 4.1 แสดงให้เห็นปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นในบ่อผึ่งตามระดับความลึก ใน
ส่วนผิวน้ำ (Aerobic Zone) จะมีแบคทีเรียชนิดที่ต้องการออกซิเจนและสาหร่าย
อยู่กันหนาแน่น เพราะมีทั้งอาหารออกซิเจน และแสงแดด ส่วนระดับกลางหรือส่วนลึก
ลงมา (Facultative Zone) จะมีแบคทีเรียที่อยู่ได้ทั้งในที่มีและไม่มีออกซิเจน
มีสาหร่ายบ้างแต่ไม่หนาแน่นมาก เพราะความเข้มของแสงแดดลดลง ส่วนที่ก้นบ่อ
(Anaerobic Zone) เกือบจะไม่มีออกซิเจนละลายอยู่เลย ส่วนนี้จะมีแบคทีเรีย
ที่ไม่ต้องการออกซิเจนอยู่และจะทำการย่อนสลายสารอินทรีย์ที่ตกลงมาก้นบ่อด้วย
ปฏิกิริยาแบบไร้ออกซิเจน เกิดเป็นก๊าซมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ และแอมโมเนีย น้ำ
เสียที่ผ่านการบำบัดจากบ่อผึ่ง หากแยกเอาสาหร่ายออกแล้วจะได้มาตรฐานน้ำทิ้ง
สามารถปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลองได้
       การควบคุมดูแลบ่อผึ่งให้มีประสิทธิภาพสูงทำงานได้ตามต้องการ จะต้องควบคุม
น้ำเสียที่เข้ามาในบ่อให้มีสารอินทรีย์ในรูป บีโอดี ไม่เกิน 10 กรับบีโอดีต่อพื้นที่ 1
ตารางเมตรต่อวัน และน้ำเสียจะถูกเก็บไว้ราว 7-10 วัน ความหนาแน่นของสาหร่ายไม่
เกิน 150 มิลลิกรัมต่อลิตร จะได้ประสิทธิภาพของการทำงานประมาณ 80-90% หาก
ปริมาณความเข้มข้นของสารอินทรีย์ที่ปล่ยอยเข้ามาสูงกว่าที่กำหนดไว้ข้างต้น อาจทำ
ให้บ่อมีกลิ่นเหม็นเกิดขึ้นได้
       จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นจะเห็นได้ว่าระบบบ่อผึ่งนี้จะต้องใช้พื้นที่มาก อาจไม่
เหมาะกับสถานที่ที่มีราคาที่ดินแพง ได้มีผู้คนจำนวนมากพยายามหาวิธีที่จะเพิ่ม
ประสิทธิภาพของบ่อผึ่งโดยไม่ต้องเพิ่มพื้นที่ ด้วยการเติมแผ่นวัสดุสำหรับให้จุลินทรีย์
เกาะลงไปในบ่อ เป็นการเพิ่มพื้นที่ให้จุลินทรีย์เกาะเพื่อเพิ่มจำนวน ทำให้สามารถบำ
บัดน้ำเสียได้ปริมาณมากขึ้นโดยไม่ต้องขยายบ่อ ด้วยวิธีนี้สามารถเพิ่มปริมาณการบำ
บัดได้ถึง 25% โดยมีประสิทธิภาพเท่าเดิม วิธีนี้ทำให้ปริมาณสารอาหารในน้ำทิ้งลด
น้อยกว่าเดิม เป็นการป้องกันไม่ให้สาหร่ายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว
(Eutrophication) ในแหล่งน้ำได้ด้วยทำให้ระบบบ่อผึ่งมีความน่าสนใจมากยิ่ง
ขึ้น
       ข้อดีและข้อเสียของบ่อผึ่ง
       ข้อดี
       1.   ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง การควบคุม และบำรุงรักษาต่ำ
       2.  ดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องใช้บุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญมาก
     3.   ไม่ต้องใช้เครื่องจักรกล ประหยัดไฟฟ้า เพราะใช้พลังแสงแดด
       4.   น้ำทิ้งได้มาตรฐานเพราะมีประสิทธิภาพในการบำบัดสูง
       5.   สามารถกำจัดเชื้อโรคได้เพราะมีระยะเก็บกักนาน
       6.   เป็นระบบที่สามารถปรับเปลี่ยนเป็นระบบอื่นได้งาย
       7.   สาหร่ายที่ได้จากบ่อผึ่งมีปริมาณโปรตีนสูงสามารถนำไปใช้เป็นอาหารสัตว์
           ได้ เป็นผลพลอยได้ที่มีราคา
       8.   น้ำทิ้งจากบ่อผึ่งอาจนำไปเลี้ยงปลา หรือรดต้นไม้ได้
       ข้อเสีย
      
1.   ต้องใช้พื้นที่มาก ไม่เหมาะกับเมืองใหญ่ ๆ
       2.   ในฤดูฝนซึ่งแสงแดดน้อย อาจเกิดกลิ่นเหม็นและประสิทธิภาพการบำบัดลดลง
            ได้
       3.   เป็นแหล่งเพาะยุงหรือหนูหากปล่อยให้หญ้าขึ้นรกตามขอบบ่อ
     4.    อาจถูกรบกวนด้วยสัตว์เซลล์เดียวพวก Rotifer ซึ่งจะกินสาหร่ายและ
         แบคทีเรียเป็นอาหารทำให้สาหร่ายและแบคทีเรียในบ่อหมดไปอย่างรวดเร็ว
      การควบคุมดูแล   
     1.    จะต้องปรับพีเอชในบ่อไม่ให้เป็นกรด หากพบว่าพีเอชในบ่อต่ำลงจะต้องปรับ
         ด้วยปูนขาว
     2.    จะต้องดูแลความหนาแน่นของสาหร่ายไม่ให้เกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มิฉะนั้น
         แล้วตอนกลางคืนอาจมีออกซิเจนไม่พอเพียงที่สาหร่ายและแบคทีเรียจะใช้
         หายใจ และทำให้มันตายได้
     3.    หากพบว่าบ่อมีกลิ่นเหม็นให้เติมสารโซเดียมไนเตรทดับกลิ่น แล้วตรวจความ
         เข้มข้นของสารอินทรีย์ที่เข้ามาในบ่อ อาจเกินเกณฑ์ที่กำหนดไว้
     4.    หมั่นตัดหญ้าขอบบ่อเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะยุงและหนูหรือสัตว์อื่น ๆ
      ผลพลอยได้
       หากต้องการใช้สาหร่ายที่มีคุณค่าโปรตีนสูงเพื่อนำมาเป็นอาหารสัตว์ ก็สามารถ
แยกสาหร่ายออกจากน้ำทิ้งได้ โดยถ่ายน้ำทิ้งลงในบ่อพักที่มีความลึกประมาณ 30
เซนติเมตร แล้วปรับพีเอชให้สูงกว่า 9 กักไว้ระยะหนึ่งสาหร่ายจะตกลงสู่ก้นบ่อ ระบาย
น้ำส่วนบนทิ้งจะได้สาหร่ายตามต้องการ หรือตากแห้งเก็บไว้ได้
         หากต้องการใช้น้ำทิ้งจากบ่อผึ่งไปเลี้ยงปลา จะต้องเจือจางให้สาหร่ายน้อยลง
ด้วยน้ำปริมาณ 3 เท่าของน้ำทิ้งก่อนถ่ายลงสู่บ่อเลี้ยงปลา วิธีนี้ใช้เลี้ยงปลาที่กินพืชเป็น
อาหาร โดยให้มีจำนวนปลาประมาร 4-10 ตัวต่อน้ำหนึ่งลูกบาศก์เมตร และจะได้ปลา
ที่มีน้ำหนักมากกว่าครึ่งกิโลกรัมซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการหลังจากเลี้ยงไว้ 6-7 เดือน
ปลานี้จะต้องนำไปทำให้สุกก่อนรับประทาน
ระบบบ่อเติมอากาศ (Aerated Legoons)         
       บ่อเติมอากาศมีลักษณะคล้ายกับบ่อผึ่ง แต่มีขอบบ่อที่หนาและแข็งแรงมากกว่า
เพื่อทนแรงกระแทกของคลื่นที่เกิดจากเครื่องเติมอากาศ ขนาดของบ่ออาจเล็กกว่าบ่อผึ่ง
เนื่องจากมีความลึกมากกว่าโดยทั่วไปจะมีความลึก 3-4.5 เมตร ระบบนี้ออกซิเจนที่
ละลายน้ำไม่ได้เกิดจากการสังเคราะห์แสงของสาหร่าย แต่เกิดจากการเติมอากาศโดย
เครื่องจักรกล (Surface Aerator) ดังนั้นปริมาณออกซิเจนในน้ำจึงถูกจำกัดน้อย
กว่าบ่อผึ่ง
         เครื่องเติมอากาสที่มีขนาดพอเหมาะและมีประสิทธิภาพสูงจะสามารถกระจาย
ออกซิเจนไปได้อย่างทั่วถึง โดยทั่วไปจะใช้พลังงานในการเติมอากาศไม่น้อยกว่า 25
แรงม้าต่อปริมาตรน้ำ 1,000 ลูกบาศก์เมตร หากน้อยกว่านี้อาจมีการตกตะกอนของ
จุลินทรีย์ในบางส่วนของบ่อ การหมุนเวียนและผสมผสานของอากาศ น้ำ และจุลินทรีย์
จะเกิดขึ้นได้ดีในบริเวณใกล้เครื่องเติมอากาศ ส่วนที่ไกลออกไปเช่น ริมบ่อ จะมีการ
ตกตะกอนของจุลินทรีย์ซึ่งจะถูกย่อยสลายแบบไร้อากาศในเวลาต่อมา บ่อที่การ
กระจายของออกซิเจนไม่ทั่วทั้งบ่อเรียกว่า Facultative Aerated Lagoon
ส่วนบ่อที่มีการกระจายของออกซิเจนทั่วทั้งบ่อเรียกว่า Aerobic Aerated
Legoon บ่อประเภทหลังนี้จะมีประสิทธิภาพการทำงานดีกว่าบ่อประเภทแรก มี
ตะกอนเกิดขึ้นมากกว่า และสิ้นเปลืองไฟฟ้าน้อยกว่า ส่วนการจะเลือกใช้บ่อชนิดใดขึ้น
อยู่กับระดับของการบำบัดที่ต้องการ
         การทำงานของบ่อเติมอากาศ น้ำเสียจะถูกส่งเข้ามาทางหนึ่งและปล่อยออกอีกทาง
หนึ่ง สารอินทรีย์ที่ปนมากับน้ำเสียจะถูกย่อยสลายด้วยจุลินทรีย์ชนิดใช้ออกซิเจนกลาย
เป็นก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และจุลินทรีย์ตัวใหม่ ปริมาณของจุลินทรีย์ที่เกิดขึ้นมี
ประมาณครึ่งหนึ่งของปริมาณสารอินทรีย์ (บีโอดี) ที่ถูกย่อยสลายไปโดยน้ำหนัก นอก
จากนี้อาจมีสาหร่ายอยู่บ้างแต่ไม่มากนัก เนื่องจากเครื่องเติมอากาศทำให้น้ำในบ่อ
หมุนเวียนอยู่ตลอดเวลา สาหร่ายจึงไม่ได้รับแสงแดดเพียงพอ สำหรับบ่อที่ออกซิเจน
กระจายได้อย่างทั่วถึงน้ำเสียจะถูกกักเก็บไว้เพียง 3 วัน ส่วนบ่อที่ออกซิเจนกระจาย
ไม่ทั่วถึงทั้งบ่อ น้ำเสียจะถูกเก็บไว้นานมากกว่า 6 วัน สำหรับตะกอนที่ก้นบ่ออาจถูก
สูบออกในช่วง 1-10 ปี โดยทั่วไประบบนี้ไม่มีการสูบตะกอนกลับ น้ำทิ้งจึงมีตะกอน
หลุดไปได้ ระบบนี้ประสิทธิภาพของการบำบัดประมาณ 60-90% ขึ้นอยู่กับความเข้ม
ข้นของสารอินทรีย์ ปริมาณออกซิเจนที่เติมลงในน้ำ และระดับความต้องการที่จะบำบัด
         หากพบว่าน้ำทิ้งที่ออกไปมีสารแขวนลอยสูง ต้องผ่านถึงตกตะกอนเพื่อลดสาร
แขวนลอยเสียก่อนจึงจะปล่อยลงแหล่งน้ำตามธรรมชาติได้ ส่วนตะกอนที่ตกลงมาควร
นำไปบำบัดต่อจึงจะสมบูรณ์ วิธีที่ง่ายคือ รีดเอาน้ำออก (filter press) แล้วขนไปฝัง
กลับในที่ ๆ เหมาะสม หรือทำให้แห้งนำไปปลูกต้นไม้หรือผสมทำปุ๋ยต่อไป
         หากพบว่าน้ำทิ้งมีไนเตรทสูง (nitrification) ควรกำจัดออกด้วยวิธี
denitrification แล้วจึงระบายลงสู่แม่น้ำ มิฉะนั้นจะทำให้สาหร่ายเจริญเติบโตอย่าง
รวดเร็วในแม่น้ำได้
        ข้อดีข้อเสีย
         ข้อดี
         1. ปริมาณการบำบัดสูงกว่าบ่อผึ่ง เพราะออกซิเจนไม่ใช่ข้อจำกัด
         2.ไม่ต้องใช้ผู้ควบคุมที่มีความรู้สูงเพราะไม่ต้องควบคุมความเข้มข้นของจุลินทรีย์
         3. ประสิทธิภาพสูง
         4. ปริมาณไฟฟ้าใช้น้อยกว่าการเลี้ยงตะกอน
         5. ก่อสร้างง่าย ไม่ต้องสูบตะกอนกลับ
         6. มีตะกอนส่วนเกินที่จะต้องไปบำบัดต่อน้อย
         ข้อเสีย   
         1. มีตะกอนหลุดออกไปกับน้ำทิ้ง
         2. การบำบัดไม่เท่ากันทุกจุดเพราะออกซิเจนกระจายไม่ทั่วถึง
         3. อาจเกิดฟองจากการกวนของเครื่องเติมอากาศ
         4. ใช้พื้นที่มาก
         5. ขอบบ่อและก้นบ่อชำรุดได้ง่ายหากเป็นบ่อดิน
        การควบคุมดูแล
       
1. ควบคุมน้ำเสียให้เข้าบ่อออย่างสม่ำเสมอ
         2. ตรวจค่าออกซิเจนให้ละลายอยู่อย่างน้อย 1 มิลลิกรัมต่อลิตร
         3. พีเอชอยู่ในช่วง 6.8-8
         4. ควบคุมไม่ให้เกิดฟองด้วยการฉีดน้ำ
         5. ตรวจจุลินทรีย์ ระวังไม่ให้มีสัตว์เซลล์เดียวพวก Rotifer ซึ่งจะกินจุลินทรีย์
            และสาหร่ายในบ่อ
         6. ตรวจสอบเครื่องเติมอากาศให้ทำงานได้ดีอยู่เสมอ