ตอนที่ 2 - คุณสมบัติของน้ำเสีย     
         การรู้ถึงคุณสมบัติและปริมาณของน้ำเสียเป็นประโยชน์อย่างมากต่อวิศวกรผู้ออกแบบและ
ผู้ควบคุมระบบบำบัด เพราะจะทำให้วิศวกรเลือกและออกแบบระบบบำบัดน้ำเสียได้อย่างเหมาะ
สม ส่วนผู้ดูแลควบคุมระบบก็จะรู้ถึงประสิทธิภาย และการทำงานของระบบว่าเป็นไปตามเกณฑ์
ที่กำหนดไว้หรือไม่ เป็นต้น คุณสมบัติของน้ำเสียสามารถแบ่งออกได้ดังต่อไปนี้
คุณสมบัติทางกายภาย (Physical Characteristics)   
       คุณสมบัติทางกายภาพประกอบด้วย สี กลิ่น ความขุ่น ตะกอน อุณหภูมิ และการไหล
คุณสมบัติเหล่านี้นอกจากจะนำมาใช้ออกแบบและวัดความผิดปกติของระบบแล้ว ยังมีผลต่อการ
ดำรงชีวิตของพืชน้ำ และสัตว์น้ำอีกด้วย ตัวอย่างเช่น
         อุณหภูมิจะมีผลต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ในระบบบำบัด อุณหภูมิสูงจะช่วยเร่งให้
เกิดการย่อยสลายเร็วขึ้น แต่ต้องไม่สูงเกินขีดจำกัด เช่น น้ำทิ้งมีอุณหภูมิสูงเกินกว่า 40 ํ C จะทำ
ให้พืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กในแม่น้ำลำคลองตายได้ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสัตว์น้ำที่มีขนาดใหญ่
กว่า ได้แก่ กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น เมื่ออาหารของสัตว์น้ำเหล่านี้น้อยลง กุ้ง หอย ปู ปลา จะมี
ปริมาณน้อยลง นั่นย่อมหมายถึงว่าห่วงโซ่อาหารของคนถูกรบกวน เป็นสาเหตุให้อาหารประเภท
นี้มีราคาแพงยิ่งขึ้นไปอีกด้วย
         สารแขวนลอยก็เช่นเดียวกัน สามารถใช้เป็นดัชนีบ่งบอกว่าน้ำทิ้งได้มาตรฐานหรือไม่ หาก
ไม่ได้ตามมาตรฐานจะได้กระทำการตรวจสอบแก้ไขการทำงานของระบบต่อไป ในแหล่งน้ำตาม
ธรรมชาติหากมีสารแขวนลอยคลุมผิวน้ำหนาจนแสงแดดไม่สามารถส่องผ่านลงไปได้ เป็นการ
หยุดยั้งกระบวนการสังเคราะห์แสงให้เกิดขึ้นไม่ได้แล้ว ยังทำให้ออกซิเจนในอากาศถ่ายเทลงสู่
แหล่งน้ำได้น้อยอีกด้วย ทำให้เกิดผลกระทบต่อการดำรงชีวิตของพืชและสัตว์น้ำขนาดเล็ก ตลอดจน
แหล่งอาหารประเภทโปรตีนของคนได้
         การไหล การเปรเปลี่ยนของปริมาณการไหลของน้ำเสียสู่ระบบบำบัดอย่างไม่สม่ำเสมอ
เป็นสาเหตุให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบบำบัดเปลี่ยนแปลงไป อาจไม่ได้มาตรฐานน้ำทิ้ง
ตามที่รัฐกำหนดไว้ได้ ผู้ออกแบบจะต้องกำหนดขนาดเส้นท่อ และระยะทางให้พอเหมาะกับ
ปริมาณการไหลของน้ำเสียที่ไม่เท่ากันตลอดทั้งวันเป็นต้น
คุณสมบัติทางเคมี (Chemical Characteristics)
       คุณสมบัติทางเคมีของน้ำเสียมีมากมายหลายชนิด เช่น สารอินทรีย์ สารอนินทรีย์ ธาตุ
อาหาร สารพิษ และพวกโลหะหนัก ในแต่ละชนิดยังแยกย่อยออกไปได้อีกหลายอย่าง การวิเคราะห์คุณสมบัติทางเคมีเพื่อทราบองค์ประกอบและความเข้มข้นของสารต่าง ๆ ที่ปนมา
หรือเหลืออยู่ในน้ำเสียหรือน้ำทิ้งในที่นี้จะหยิบยกเอาสารบางตัวมากล่าวเพื่อให้เกิดความเข้าใจ
เท่านั้น เช่น
        พีเอช (pH) เป็นการวัดความเข้มข้นของธาตุ ไฮโดรเจน (H) ที่มีอยู่ในน้ำเสีย ไม่ไม่หน่วย
แต่มีตารางบอกจาก 1 ถึง 14 น้ำเสียที่เป็นการกลางจะมีพีเอช เท่ากับ 7 พีเอชมีความสำคัญมาก
ต่อระบบบำบัดทางชีวภาพ เพราะจุลินทรีย์ในระบบจะทำงานได้ดีในช่วง pH 6.8-8 เท่านั้น
น้ำเสียชุมชนจะค่อนข้างเป็นกลาง ไม่เหมือนกับน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรมที่แปรเปลี่ยนไป
ตามประเภทของมัน
         บีโอดี (BOD) เป็นตัวแทนของสารอินทรีย์ (เศษอาหารและสิ่งปฏิกูล) ที่มีอยู่ในน้ำ
สารอินทรีย์นี้นอกจากจะเป็นสารอาหารของจุลินทรีย์แล้ว ยังทำให้ออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ
ลดน้อยลงเป็นอันตรายต่อการดำรงชีวิตของพืชสัตว์หลายประเภทในน้ำ วิศวกรและผู้ควบคุม
ระบบใช้ค่าบีโอดี เพื่อเลือกและออกแบบระบบ อีกทั้งยังใช้ตรวจสอบประสิทธิภาพการทำงาน
ของระบบอีกด้วย น้ำเสียจากอาคารบ้านเรือนหลังจากผ่านบ่อดักไขมันจะมีค่า บีโอดี ราว
200-250 มิลลิกรัมต่อลิตร
         ไนโตรเจน (N) เป็นสารอาหารที่สิ่งมีชีวิตต้องการ ในน้ำเสียมีไนโตรเจนอยู่หลายรูปแบบ
คือ ในรูปของสารอินทรีย์ แอมโมเนีย ไนไตรท ไนเตรท์ การที่เราตรวจพบว่าในน้ำเสียมี
ไนโตรเจนในรูปแบบใดจะสามารถบอกให้รู้ว่าน้ำเสียนั้นใหม่หรือเก่า น้ำเสียชุมชนที่เกิดขึ้นใหม่
จะมีค่าไนโตรเจนในรูปของสารอินทรีย์ประมาณ 20-25 มิลลิกรัมต่อลิตร ถ้าเป็นน้ำเสียเก่าจะมีค่า
ไนเตรทสูงเป็นต้น
       ฟอสฟอรัส (P) เป็นสารอาหารเช่นเดียวกันกับไนโตรเจน จำเป็นต่อการดำรงชีวิตด้วย
เช่นกันหากน้ำผิวดินมีค่าฟอสฟอรัสสูงจะทำให้เกิดสาหร่ายขึ้นเป็นจำนวนมาก ฟอสฟอรัสมีอยู่
หลายรูปแบบเช่นเดียวกับไนโตรเจน คือ ในรูปของสารอินทรียื โพลิฟอสเฟต และออโธฟอสเฟต
ในน้ำทิ้งชุมชนทั่วไปจะมีค่าฟอสฟอรัสประมาณ 2 ถึง 20 มิลลิกรัมต่อลิตร
คุณสมบัติทางชีวภาพ (Biological Characteristics)  
       การตรวจวิเคราะห์จุลินทรีย์ในน้ำเสียเพื่อทราบว่าจุลินทรีย์ที่ปนมามีประเภทที่เป็นอันตราย   หรือไม่ เราสามารถใช้จุลินทรีย์บางตัวเป็นดัชนีบ่งบอกให้ทราบว่าน้ำเสียนั้นมีสิ่งปฏิกูลปนมา
หรือไม่ มีอันตรายไหม? โคลิฟอร์มแบคทีเรียสามารถใช้เป็นดัชนีบ่งบอกสิ่งเหล่านี้ได้ แม้ว่าตัว
มันเองนั้นไม่ทำให้เกิดโรคในคนและสัตว์ก็ตาม แต่มันมีแหล่งกำเนิดจากลำไส้ของคนและสัตว์
ซึ่งอาจมีเชื้อโรคระบบทางเดินอาหารปะปนอยู่ เมื่อตรวจพบว่ามีเชื้อโรคโคลิฟอร์ม   อยู่ในน้ำใด
น้ำนั้นจะไม่มีความปลอดภัยนอกจากนี้ยังมีเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นอันตรายอีกหลายชนิด เช่น พวกเชื้อรา ไวรัส สัตว์เซลเดียว และ สาหร่ายบางประเภทที่อาจจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
อนามัยของคนและสัตว์ เชื้อจุลินทรีย์นอกจากจะใช้เป็นดัชนีบอกถึงความสกปรกของน้ำแล้ว ยังใช้เป็นดัชนีบอกให้ทราบว่าการทำงานของระบบบำบัดชีวภาพดีมากน้อยเพียงใดอีดด้วย
การศึกษาคุณสมบัติของน้ำเสีย
        
  การศึกษาคุณสมบัติของน้ำเสียเพื่อที่จะทราบว่าน้ำเสียนั้น ๆ มีคุณสมบัติ ทางกายภาพ เคมี และชีวภาพเป็นอย่างไร มีความเข้มข้นระดับไหน และจะเลือกวิธีบำบัดแบบใดจึงจะ
เหมาะสม ในการนี้จะต้องเก็บตัวอย่างมาทำการวิเคราะห์เสียก่อนจึงจะทราบได้ การเก็บตัวอย่าง
น้ำเสียมีรายละเอียดดังที่จะกล่าวต่อไป
การเก็บตัวอย่าง (Sampling)
       การเก็บตัวอย่างเพื่อนำมาวิเคราะห์หาคุณสมบัติของน้ำทิ้งนั้นจะต้องได้ตัวอย่างที่เป็น
ตัวแทนของน้ำทิ้งนั้นจริงๆมิฉะนั้นแล้วผลการวิเคราะห์ออกมาจะไม่ถูกต้องน้ำไปใช้ประโยชน์
ตามที่ต้องการไม่ได้ ด้วยเหตุนี้การเก็บตัวอย่างในแต่ละครั้งจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ไว้ และดำเนินการเลือกวิธีเก็บตัวอย่างแล้ววิเคราะห์ให้ได้ข้อมูลตามที่ต้องการการเก็บตัวอย่างมีอยู่
หลายวิธีด้วยกัน คือ
         ก.การเก็บตัวอย่างแบบจ้วง (Grab Sampling)
การเก็บตัวอย่างครั้งเดียว ที่จุดเดียวในเวลาใดเวลาหนึ่งแล้วนำมาวิเคราะห์ก็จะได้ผลแสดง
คุณสมบัติของน้ำเสีย ณ จุดนั้นและในเวลานั้นเท่านั้นหาได้เป็นตัวแทนของน้ำเสียอย่างแท้จริงไม่
การเก็บตัวอย่างแบบนี้จะทำให้ทราบถึงคุณสมบัติของน้ำเสียในแต่ละจุดว่ามีคุณสมบัติอย่างไร
มีความเข้มข้นระดับไหน สมควรจะนำมารวมกับน้ำเสียจากจุดอื่น ๆ ก่อนเข้าระบบบำบัดหรือไม่
หรือควรแยกออกมาบำบัดเฉพาะส่วนจะเหมาะสมปละประหยัดกว่า การเก็บตัวอย่างในลักษณะ
นี้จะเป็นความผันแปรของปริมาณและความเข้มข้นของน้ำเสียในจุดต่าง ๆ ได้อย่างชัดเจน
          ข. การเก็บตัวอย่างแบบผสมรวม (Composite Sampling)
หมายถึงการเก็บตัวอย่างน้ำเสีย ณ จุดหนึ่งจุดใดติดต่อกันตลอดวัน แล้วจึงนำน้ำเสียจากจุดเก็บ
ต่าง ๆ มารวมกัน การเก็บน้ำเสียแบบนี้ปริมาณที่เก็บต้องเป็นปฏิภาคโดยตรงกับปริมาณ
ของการไหลของน้ำเสีย ถ้าน้ำเสียไหลอกมากก็เก็บมาก ถ้าไหลออกมาน้อยก็เก็บน้อย การเก็บ
แต่ละครั้งจะห่างประมาณ 2 ชั่งโมง หรือ 3 ชั่วโมงตามความเหมาะสมจนครบ 1 วัน (ถ้าเก็บ 2
ชั่วโมงครั้งจะต้องเก็บ 12 ตัวอย่าง) แล้วจึงนำเอาน้ำเสียที่เก็บได้มารวมกันก็จะได้น้ำเสียที่เป็นตัวแทนจริง ๆ (ปริมาณน้ำเสียรวมเพื่อ
การวิเคราะห์จะต้องไม่น้อยกว่า 4 ลิตร) ผลจากการวิเคราะห์ของน้ำเสียที่เก็บด้วยวิธีนี้สามารถ
นำออกแบบระบบบำบัดได้
          ข้อดี   ของการเก็บน้ำตัวอย่างด้วยวิธีนี้ก็คือ จะรู้ว่าน้ำเสีย ณ จุดใดมีคุณสมบัติเป็นอย่างไร
มีความเข้มข้นแค่ไหน มีปริมาณเท่าใด ควรจะนำมารวมหรือแยกบำบัด
          ข้อเสีย ของการเก็บน้ำเสียตัวอย่างด้วยวิธีนี้ คือ เสียเวลา และจะต้องวิเคราะห์น้ำเสียหลาย
ตัวอย่างด้วยกัน
          การเก็บตัวอย่างน้ำเสียด้วยวิธีนี้ หากสามารถซื้อเครื่องเก็บแบบอัตโนมัติได้ก็จะเป็น
การดีสะดวกแต่มีราคาแพง
          น้ำเสียที่เก็บในชั่วโมงต้น ๆ จะต้องเก็บไว้ในห้องเย็นหรือแช่น้ำแข้งไว้ เพื่อไม่ให้
คุณสมบัติของน้ำเสียเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก การแช่น้ำในห้องเย็นหรืออุณหภูมิต่ำจะหยุด
การทำงานของแบคทีเรียที่ปนมากับน้ำเสีย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงน้อย แต่ก็ไม่ควรเกิน 6 ชั่วโมง น้ำเสียที่จะต้องเก็บนานเกิน 6 ชั่วโมง ก่อนเก็บจะต้องงเติมสารเคมีบางชนิกเพื่อป้องกัน
การเปลี่ยนแปลง
          ค. การเก็บตัวอย่างจากบ่อรวม (Sump Sampling)
หมายถึง การเก็บน้ำเสียจากบ่อ (Sump)ที่เป็นที่รวมของน้ำเสียจากแหล่งต่าง ๆ น้ำเสียจากบ่อ
รวมจัดได้ว่าเป็นตัวแทนของน้ำเสียที่แท้จริงได้เช่นเดียวกัน หากน้ำเสียถูกกักไว้ในบ่อนาน
กว่า 6 ชั่วโมงเมื่อนำมาวิเคราะห์ทราบคุณสมบัติแล้วสามารถนำไปออกแบบบำบัดได้เช่นกัน
          ข้อดี ของการเก็บน้ำเสียด้วยวิธีนี้ คือ เก็บง่าย ไม่ต้องเก็บหลายตัวอย่าง
          ข้อเสีย ที่ไม่สามารถแยกน้อเสียที่มีความเข้มข้นน้อยออกได้ เพราะไม่ทราบว่าจะแยกออก
ณ จุดใด เนื่องจากไม่มีข้อมูลเหล่านั้นอยู่เลย ทำให้ต้องบำบัดน้ำเสียปริมาณมาก และค่าใช้จ่ายใน
การบำบัดสูง
          ง. ภาชนะที่เก็บน้ำเสีย (Sample Bottle)
ควรใช้ขวดแก้วปากกว้างล้างให้สะอาด หรือืขวดพลาสติกที่มีคุณภาพดี ไม่ทำ)กิกิริยากับกรดหรือ
ตด่าง การเก็บน้ำเสียไม่ควรเก็บจนเต็มขวด ควรมีที่ว่างอากาศเหลืออยู่ เพื่อป้องกันไม่ให้จุลินทรีย?ที่ปนมากับน้ำเสียตายเพราะขาดออกซิเจน
           ขวดเก็บน้ำเสียจะต้องมีฉลากติดไว้ บนฉลากจะบอกรายละเอียดถึงแหล่งน้ำเสีย วิธีเก็บ
วิธีรักษา เก็บ ณ จุดใด เวลาเท่าไร ใครเป็นผู้เก็บ พร้อมทั้งวันที่ที่เก็บด้วย ทั้งนี้หากการวิธเคราะห์
มีปัญหาผู้วิเคราะห์จะได้สอบถามผู้เก็บ หรือติดต่อให้ไปเก็บตัวอย่าง ณ จุดที่ต้องการใหม่ได้
การเก็บน้ำเสียเพื่อรอการวิเคราะห์
           ตัวอย่างน้ำเสียที่เก็บแล้วควรแช่ในถังน้ำแข็ง แล้วรีบนำกลับมาห้องปฏิบัติการวิเคราะห์
โดยทันทีหากสามารถทำได้ เพื่อป้องกันไม่ให้คุณสมบัติของน้ำเสียแปรเปลี่ยนไป หากทราบว่า
น้ำเสียที่เก็บไว้ในถังเย็นไม่สามารถนำกลับมาวิเคราะห์ได้ภายใน 6 ชั่วโมง ก่อนเก็บจะต้องเติม
สารเคมีบางตัวลงไปเพื่อรักษาคุณสมบัติของน้ำเสียนั้น ๆ ไว้ไม่ให้คุณสมบัติเปลี่ยนแปลง หรือ
เปลี่ยนแปลงไปน้อยที่สุด ดังที่แสดงไว้ในตารางที่ 2.1
การวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำเสีย (Wastewater Analysis)
          การวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำเสีย ควรทำตามวิธีมาตรฐานที่ทางสหรัฐอเมริกากำหนดไว้
เพราะเป็นวิธีที่ทั่วโลกยอมรับและใช้กันอยู่ประโยชน์ของการใช้วิธีการวิเคราะห์เดียวกันก็คือ สามารถนำเอาข้อมูลจากที่ต่าง ๆ มาใช้ประโยชน์และเปรียบเทียบผลกันได้ หากใช้วิธีต่างกัน
จะลดข้อกำจัดของแต่ละวิธีออกไปเสียก่อน จึงจำนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกันทำให้เสียเวลา
          สำหรับเครื่องมือที่ใช้ในวิเคราะห์ก็เช่นเดียวกัน หากสามารถปรับให้อยู่ในมารตฐาน
เดียวกันก็จะเป็นประโยชน์มาก สามารถใช้แทนกันได้เมื่อเครื่องหนึ่งเครื่องใดเสีย และที่สำคัญ
อีกประการหนึ่งก็คือการจัดลำดับการวิเคราะห์ก่อนหลัง หากทำไม่ถูกต้องจะทำให้ข้อมูลจาก
การวิเคราะห์ลำดับท้าย ๆ ผิดไปจากความเป็นจริงได้
          ผลการวิเคราะห์ไม่ว่าจะเป้นคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี ชีวภาพ ควรใช้หน่วยเดียวกัน
ตามมาตรฐานสากล เพื่อสะดวกในการอ้างอิงและเปรียเทียบหน่วยที่ใช้ควรเป็นหน่วยเมตริกให้
เหมือนกันทั้งหมด
                                 ตารางที่ 2.1 วิธีรักษาคุณสมบัติของตัวอย่างน้ำเสีย
พารามิเตอร์ที่จะวิเคราะห์ วิธีรักษาคุณสมบัติของน้ำเสีย ระยะเวลาเก็บรักษาสูงสุด
(แนะนำ/ยอมรับได้)
แอซิดดิตี้ (Acidity) แช่เย็น 24 ชั่วโมง/14 วัน
อัลคาไลนิตี้ (Alkalinnity) แช่เย็น 24 ชั่วโมง/14 วัน
บีโอดี (BOD) แช่เย็น 6 ชั่วโมง/48 วชั่งโมง
ซีโอดี (COD) วิเคราะห์เร็วที่สุด หรือเติมกรด
ซัลฟูริคให้พีเอชเป็น 2 แล้ว
แช่เย็น
7 วัน/28 วัน
คลอรีน เรซิดิว
(Chlorine,residual)
วิเคราะห์ทันที 0.5 ชั่วโมง/ห้ามเก็บไว้นาน
สี (Color) แช่เย็น 48 ชั่วโมง/48 ชั่วโมง
ค่าการนำไฟฟ้า
(Conductivity)
แช่เย็น 28 วัน / 28 วัน
ความกระด้าง (Hardness) เติมกรดไนตริกให้พีเอชต่ำกว่า 2 6 เดือน / 6 เดือน
ไนโตเจน (Nitrogen):
     แอมโมเนีย
      (Ammonia)

     
       ไนเตรท(Nitrate)
       ไนเตรทและไนเตรท์
     (Nitrate + Nitrite)
       ไนเตรท์(Nitrite)
        อินทรีย์
(Organic,Kjeldahl)

วิเคราะห์เร็วที่สุด หรือกรดซัลฟูริคให้พีเอชต่ำกว่า 2 แล้ว แช่เย็น

วิเคราะห์เร็วที่สุดหรือแช่เย็น
เติมกรดซัลฟูริคจนพีเอชต่ำกว่า2
แล้วแช่เย็น
วิเคราะห์เร็วที่สุดหรือแช่เย็น
แช่เย็นหรือเติมกรดฟูริคให้
้พีเอชต่ำกว่า 2
7 วัน/ 28 วัน
8 ชั่งโมง/48 ชั่วโมง
ไม่มี/ 28 วัน

ไม่มี/ 48 วัน

7 วัน / 28 วัน

Oil and Grease วิเคราะห์เร็วที่สุด หรือแช่เย็น 6 ชั่วโมง

                              ตารางที่ 2.1 (ต่อ) วิธีรักษาคุณสมบัติของตัวอย่างน้ำเสีย

พารามิเตอร์ที่จะวิเคราะห์ วิธีรักษาคุณสมบัติของน้ำเสีย ระยะเวลาเก็บรักษาสูงสุด
  (แนะนำ/ยอมรับได้)
ออกซิเจนละลายน้ำ
(Oxygen,dissolved):
   เครื่องวัด (Electrode)
   ไตเตรชั่น (Winkler)
 

วิเคราะห์ทันที
รอได้เมื่อเติมกรดแล้ว

 

0.5 ชั่วโมง/ห้ามเก็บไว้นาน
   8 ชั่วโมง/8ชั่วโมง

พีเอช (pH) วัดทันที    2 ชั่วโมง/ห้ามเก็บไว้นาน
ฟอสเฟต (Phosphate) แช่เย็น,สำหรับฟอสเฟตละลาย
น้ำให้กรองทันที
48 ชั่วโมง
ความเค็ม (Salinity) วิเคราะห์ทันที หรือปิดด้วยไข    6 เดือน
ของแข็ง (Solids) แช่เย็น    7 วัน/2-7 วัน
ซัลเฟต (Sulfate) แช่เย็น   28 วัน/28วัน 
ซัลไฟด์ (Sulfide) แช่เย็น,เติม 4 หยดของ 2N
Zincacetate/100 mL,
เติม  NaOH ให้พีเอชสูง
กว่า 9
  28 วัน/7 วัน
อุณหภูมิ (Temperature) วิเคราะห์ทันที   ห้ามเก็บไว้นาน
ความขุ่น (Turbidity) วิเคราะห์ภายในวันนั้น,เก็บใน
ที่มืดได้ถึง 24 ชั่วโมง,แช่เย็น
  24 ชั่วโมง/48 ชั่วโมง

* จาก Clesceri,L.S.et al.1989. Standard Methods for the Examination of Water and Wastewater 17th edition pp. 1-37-1-38