1. มลพิษทางอากาศ
   1.1 อากาศเสียคืออะไร
        ในการศึกษาอะไรก็ตามประการแรกเป้นการจำเป็นอยู่มากที่จะต้องทราบนิยมของ
สิ่งที่เราจะทำการศึกษา โดยการถามตัวเองก่อนว่าสิ่งเหล่านั้นคืออะไร แล้วก็พยายามหา
คำตอบออกมาเป็นนิยาม เช่น เมื่อที่จะตอบปัญหาว่าอากาศเสีย (air pollution)
คืออะไร จากการศึกษาก็พอจำแนกได้หลายทางดังต่อไปนี้
       อากาศเสียหมายถึง อะไรก็ตามที่มีปะปนอยู่ในอากาศ ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ของสิ่งมีชีวิตในโลก สิ่งที่ปะปนนี้อาจเป็นแก๊สพิษพวกไฮโดรคาร์บอนหรือสารที่เป็น
ฝุ่นผงเล็ก ๆ ซึ่งมีผลต่อการระคายเคืองหรือสารต่าง ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน อาจเป็น
รังสีจากสารที่ส่งรังสีออกมาก็ได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่ก็สามารถทำลายสิ่งมีชีวิตได้
      สารที่ทำให้เกิดสกปรกในอากาศนั้นมีผลสามารถไปลดปริมาณ O2 ในอากาศหรือ
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของอากาศได้ สารเหล่านี้นอกจากเป็นพิษต่อ
สิ่งมีชีวิตแล้วยังมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วย นอกจากนั้นยังมีผลต่อการดูดซึม
ความร้อนคายความร้อนของพื้นโลกด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอุตุนิยมวิทยา
    1.2 สิ่งที่ทำให้เกิดอากาศเสีย
         สิ่งที่ทำให้เกิดอากาศเสียพอแบ่งแยกสาเหตุออกไปได้ดังนี้ คือ
         1.2.1   เกิดจากการขนส่งโดยเครื่องจักร
         1.2.2   เกิดจากความร้อนที่ใช้ในบ้านเรือน
         1.2.3   เกิดจากเครื่องกำเนิดพลังไฟฟ้า
         1.2.4   เกิดจากการเผาไหม้สิ่งปฏิกูลต่าง ๆ
         1.2.5   เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงในทางอุตสาหกรรม
         จากทั้ง 5 ประการนี้ พอทราบปริมาณอย่างคร่าว ๆ ว่าของเสียที่ออกมาจากแหล่ง
กำเนิดต่าง ๆ นั้น มีมากน้อยอย่างไรได้ เช่น ในการขนส่งโดยใช้ระบบเครื่องจักรที่เผา
ไหม้ภายในจะทำให้เกิดอากาศเสียประมาณ 60% ของอากาศเสียทั้งหมด เครื่องกำเนิด
ไฟฟ้าจะให้อากาศเสียประมาณ 10% โรงงานอุตสาหกรรมจะก่อให้เกิดอากาศเสีย
20% และจากการเผาไหม้สิ่งปฏิกูลมี 5% แต่อย่างไรก็ตามเปอร์เซนต์เหล่านี้อาจ
เปลี่ยนแปลงได้ไม่คงที่แน่นอนตายตัว หากถ้ามีการผลิตรถยนต์เป็นปริมาณมากขึ้นอัตรา
ส่วนของอากาศเสียก็จะเปลี่ยนแปลงไปได้ด้วย
           จากการศึกษาพบว่าสิ่งที่ทำให้เกิดอากาศเสียนั้นเกิดจากสารต่าง ๆ ดังนี้คือ
คาร์บอนมอนนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน และฝุ่น
ผงเถ้าถ่าน ดังตาราง 1
                                                           ตารางที่ 1
                                      pollution (in millions of tons/year)

Souree

co

so

no

Hydro
Carbon

Parti -
culates

Total

Transportaion
Autos
Other
Total
Fuel Combustion
Power Plants
Industry
Residentail
Other
Total
Processing
Solid waste disposal
Micellancous
Total


67.3
3.9
71.2

0.1
0.3
1.3
0.2
1.9
7.8
4.5
1.2
86.6


0.3
0.1
0.4

14.0
5.5
1.8
0.7
22.0
7.2
0.1
0.6
30.3


7.0
1.0
8.0

3.5
3.1
0.5
0.4
7.5
0.2
0.7
0.2
16.6


12.7
1.1
13.8

Neg.
0.1
0.6
Neg.
0.7
3.5
1.4
4.2
23.6


0.7
0.5
1.2

2.3
3.0
0.4
0.3
6.0
5.9
1.2
0.4
14.6


88.0
6.6
94.6

19.9
12.0
4.6
1.6
38.1
24.6
7.9
6.6
172.8

          จากตารางที่ 1 จะเห็นได้ว่าคาร์บอนมอนนอกไซด์ส่วนมากแล้วเกิดจากการสันดาป
ภายในของเครื่องจักร สารซัลเฟอรืไดออกไซด์เกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของเครื่องจักร
ที่ให้พลังงานและการอุตสาหกรรม ส่วนออกไซด์ของไนโตรเจนมาจากการเผาไหม้เชื้อ
เพลิงและการสันดาปของเครื่องจักรฝุ่นผงนั้นมักจะเกิดจากขบวนการผลิตทางอุตสาหกรรม
และการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงต่าง ๆ
    1.3 สารที่ทำให้เกิดอากาศเสีย แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้
         1.3.1 Oxygen Compounds
              ได้แก่ Carbon dioxide (CO2), Carbon monoxide (CO),
CO2 หากพบในอากาศเป็นปริมาณ 300 ppm. นับว่าปกติ แต่ปัจจุบันพบว่าปริมาณ
CO2 มากกว่าระดับนี้มาก ซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการเผาไหม้ของถ่านหิน การกลั่นน้ำมัน
การถลุงเหล็ก และการหลอมเหล็ก -CO เกิดจากการสันดาปอย่างไม่สมบูรณ์ของ
เครื่องยนต์ และสารอินทรีย์ซึ่งพบส่วนมากตามโรงรถ อุโมงค์ ท่อไอเสีย และควันบุหรี่
ผลที่เกิดต่อมนุษย์     ทำให้อากาศมีปริมาณอ๊อกซิเจนลดลงในเลือดสำหรับ CO2 ถ้ามี
ปริมาณมากถึง 7,000-100,000 ppm. จะทำให้หมดสติใน 2-3 นาทีได้ ส่วน CO มีผล
ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับหัวใจ เนื่องจากได้รับปริมาณปานกลางทำให้ไขมันในหลอดเลือด
สลายตัวได้และยังมีผลกระทบต่อระบบประสาทส่วนกลาง หากได้รับในปริมาณ 10 ppm.
นอกจากนี้เมื่อสูด CO เข้าไปประมาณ 8 ชั่วโมงในการกระแสโลหิตจะเกิด Carboxy
hemoglobin ขึ้นถึง 2% ซึ่งถ้ามีมากถึง 5% แล้วการส่งถ่ายอ๊อกซินเจนโดย
เม็ดโลหิตจะถูกรบกวน และในอากาสภายนอกจะต้องมี CO ประมาณ 30 ppm. แต่
ปรากฏว่าในถนนที่มีการจราจรคับคั่ง จะมี CO ปริมาณมากถึง 50-140 ppm.โดย
เฉพาะบุหรี่จะให้ CO ซึ่งทำให้เกิด Carboxy hemoglobin ในเลือดได้ถึง 15%
        1.3.2 Sulfur Compounds  
              ได้แก่ Sulfur dioxide (SO2), Sulfur trioxide (SO3)
                     Hydrogen sulfide (H2S), Mercaptans (S)
- SO2,SO3   เกิดจากการเผาไหม้ของเชื้อเพลิง ถ่านหิน การหลอมเหลวของแร่ซัลไฟด์
การทำโลหะให้บริสุทธิ์ การกลั่นน้ำมัน การฟอกหนัง และขบวนการทางเคมีอื่น ๆ
- H2S,S        เกิดจากอุตสาหกรรมประเภทกลั่นน้ำมัน การฟอกหนัง อุตสาหกรรมอื่น ๆ
ที่เกี่ยวกับผลิตผลจากสัตว์และโรงงานสีย้อม
ผลที่เกิดต่อมนุษย์   ทำให้เกิดการระคายเคืองจมูก คอ และตา ถ้าได้รับ SO2 ในปริมาณ
มากจะทำให้เกิดเป็นพิษต่อสุขภาพจนถึงแก่ชีวิตได้ สำหรับกรณีคนที่เกิดโรค Emphysema ซึ่งเป็นโรคเกี่ยวกับการหายใจมักจะเกิดกับบุคคลที่สุขภาพไม่ดี ขนาด
ขีดจำกัดที่เกิดอันตราย (Threshold) ของ SO2 ในอากาศประมาณ 8 ชั่วโมงประมาณ
5 ppm. ส่วนมากเกิดจากการเผาไหม้ของถ่านหินซึ่งมีประมาณ 224,000,000 ตันต่อปี
          1.3.4 Hydrogen Compounds
              ได้แก่ Hydrogen Fluoride (HF) Hydrogen Chloride (HCl)   Cholorine (Cl2)
- HF, Fluorides พบทั้งในรูปก๊าซของแข็งซึ่งเกิดจากอุตสาหกรรมอลูมิเนียม การ
ผลิตปุ๋ยฟอสเฟต การทำอิฐ การทำหม้อดินเผาและภาชนะเคลือบ
ผลที่เกิดต่อมนุษย์    ก๊าซจะรวมตัวอยู่ในใบพืช ซึ่งเมื่อกินเข้าไปจะทำให้เกิดโรค fluorosis
อาการของโรคคือ ฟันจะเป็นจุดและมีผลเสียกับโครงสร้างของกระดูก
- HCl, Cl2  เกิดจากโรงงานทำปุ๋ย สี สบู่ และโรงงานทอผ้า เป็นต้น
ผลที่เกิดต่อมนุษย์    ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจหากได้รับปริมาณมาทำให้
เยื่อตาอักเสบ
         1.3.5 Organic Compounds
              ได้แก่ aldehydes, ketones, Hydrocarbons
- Aldehydes และ Ketones เกิดจากก๊าซจากท่อไอเสียและจากปล่องไฟที่ขึ้นมา
จากหลังคาซึ่งเกิดจากการเผาไหม้ของสารอินทรีย์ นอกจากนี้มีผลจากสารซึ่งใช้ใน
อุตสาหกรรมพลาสติก ยางเทียมสีทา และการสังเคราะห์
ผลที่เกิดต่อมนุษย์    เกิดการระคายเคืองกับเยื่อบุตา และอวัยวะทางเดินลมหายใจ หาก
ร่างกายได้รับสารนี้เข้าทีละน้อยเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายอ่อนแอ เบื่ออาหาร และ
น้ำหนักลดลง
- Hydrocarbons จากการกลั่นน้ำมัน การระเหยของน้ำมันเบนซิน และจากท่อไอเสีย
รถยนต์
ผลที่เกิดต่อมนุษย์    ทำให้เกิดการระคายเคืองที่ตา ถ้าสูดเข้าไปมาก ๆ จะทำให้เกิดอาการ
ปวดหัว หูอื้อ เวียนศรีษะ และคลื่นไส้
         1.3.6 Heavy Metals  
              ได้แก่ Lead (Pd), Cadmium (Cd), Copper (Cu), Zinc
(Zn) lead ซึ่งเป็น (antiknock additive substance) นอกจากนี้ยังพบใน
โรงงานทั่ว ๆ ไป เช่น โรงงานทำสีทาบ้าน (สีจากตะกั่ว) โรงงานทำตะปู โรงกลึง โรงรถ
และจากการเคลือบภาชนะโดยใช้สารประกอบของตะกั่ว)
ผลที่เกิดต่อมนุษย์    ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง ไตพิการ ทำลายเนื้อเยื่อสมองซึ่งมีอันตรายต่อ
สุขภาพของสิ่งมีชีวิตจนถึงตายได้ ตะกั่วสะสมในกระดูกและเนื้อเยื่ออ่อน ๆ โดยเฉพาะ
ในสมอง ความเป็นพิษของตะกั่วในเลือดจะไปลดการสร้าง heme ซึ่งเป็นองค์ประกอบ
ที่สำคัญของเม็ดเลือดแดงโดยไปทำลายเอ็นไซม์ที่เกี่ยวกับการสร้าง heme คือตะกั่วจะ
ทำปฏิกริยากับ sulfhydryl group (-SH) ในเอ็นไซม์ ดังนั้น เมื่อมีเอ็นไซม์ ดังนั้น
เมื่อมีเอ็นไซม์ที่มีกลุ่ม -SH ที่ว่างอยู่ที่ส่วนใดของร่างรายตะกั่วจะสามารถไปอยู่ส่วนนั้น
ได้ นอกจากนี้ตะกั่วยังไปลดการสร้าง -amino levulinic acid ลดการเปลี่ยน
protoporphyrinogen ไปเป็น protophyrin Ix ทำให้มีการสูญเสียกรดอมีโน
กลูโคสและฟอสเฟต
- Cd เนื่องจากการถลุง การหลอมโลหะแคดเมี่ยม หรือสารประกอบของแคดเมี่ยมซึ่งอยู่
ในรูปของอ๊อกไซด์ นอกจากนี้พบจากอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้โลหะแคดเมี่ยม
เช่น การทำโลหะผสม การชุบโลหะ เป็นต้น
ผลที่เกิดต่อมนุษย์    ทำให้ร่างกายไม่เจริญเติบโตและมีปัสสาวะกระปริบกระปรอย เนื่อง
จากแคดเมี่ยมมีผลให้การย่อยโปรติน และไขมันลดลง มีการขับโปรตีนและไกลโคเจนปน
ออกมากับปัสสาวะ นอกจากนี้แคดเมี่ยมยังสะสมได้ในไต รับ และอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้
เกิดโรคความดันโลหะสูง โรคหัวใจ โรคปอด และเป็นสาเหตุของมะเร็งได้ด้วย
- Cu  ส่วนมากพบทั้งในรูปไอ และเกลือของทองแดง เนื่องจากการหลอมโลหะทองแดง
ทองเหลือง การเชื่อมและบัดกรีโลหะโดยใช้โลหะผสมของทองแดง
ผลที่เกิดต่อมนุษย์    ทำให้เกิดการระคายเคืองและอักเสบที่ตา ระบบหายใจ   ระบบ
ทางเดินอาหารและประสาทรสสัมผัสเสีย ถ้าร่างกายได้รับไอทองแดงมาก ๆ จะทำให้เกิด
การคลื่นเจียร อาเจียร เป็นไข้ (metal fume fever) อาจทำให้ผิวหนังและผมเปลี่ยน
สีได้ การหายใจเอาฝุ่นละอองเกลือทองแดงเข้าไปปริมาณมาก ทำให้เกิดแผลในเนื้อเยื่อของ
จมูกได้ นอกจากนี้ทองแดงยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคโลหิตจาง
- Zn   ที่พบในอากาศส่วนใหญ่อยู่ในรูปของ ZnO, ZnS และ ZnSO 4 เนื่องจาก
ปฏิกริยาสังเคราะห์ทางอินทรีย์เคมี เช่น การใช้ผงสังกะสีหรือสารประกอบพวก Zinc
organometallic เป็นตัวเร่งปฏิกริยา จากอุตสาหกรรมทำเหมืองแร่ เช่น การบด ย่อยแร่
ที่มีสังกะสีเป็นส่วนประกอบอยู่ด้วยทำให้เกิดอนุกาคที่มี Zn กระจายไปในอากาศได้จาก
สารประกอบของสังกะสีที่นำมาทำยาฆ่าเชื้อรา เช่น Zine dimethyl dithiocarbamate เมื่อมีการฉีดพ่นสารดังกล่าวจะมีละอองที่มีสังกะสีกระจายไปได้
จากการสึกกร่อน เนื่องจากสีทาส่วนมากมีสังกะสีเป็นส่วนประกอบรั้วบ้านหลังคา หรือวัสดุ
อื่นที่ใช้สังกะสีเป็นโลหะผสม
ผลที่เกิดต่อมนุษย์    ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย วิงเวียนศรีษะ และอาการท้องร่วง แต่ถ้าสูด
หรือหายใจเอาไอฝุ่นของ Zn เข้าร่างกายมาก ๆ จะเกิดอาการไข้ที่เรียกว่า Zinc chills
คือ ผู้ป่วยจะมีมีอาการจับไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ เกิดการคลื่นเหียร อาเจียร
          1.3.7 Pesticide
              พบในอุตสาหกรรมผลิตยาฆ่าแมลง ทำสารเคมี เป็นต้น แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ
ตามลักษณะองค์ประกอบของสารเคมี ดังนี้
- Chlorinated Hydrocarbon Insecticide ได้แก่ ดีดีที (DDT) ดีลดริน
(dieldrin) ยาฆ่าแมลง ประเภทนี้สลายตัวได้ช้า ทำให้มีพิษตกค้างนาน มีผลโดยตรงต่อ
ระบบประสาท เช่น ทำให้เป็นคนจิตอ่อนแอ หวาดกลัว ตื่นเต้น ตกใจง่าย และมีอาการสั่น
เป็นต้น
- Organo phosphate Insecticide ได้แก่ มาลาไธออน (Malathion),
พาราไธออน (Parathion) ยาประเภทนี้มีผลกระตุ้นระบบประสาทสายตา ประสาท
ไขสันหลัง และประสาทกล้ามเนื้อ โดยจะมีอาการตาพร่า คลื่นไส้ อาเจียร ปวดท้อง ใจเต้น
แรง กล้ามเนื้ออ่นเพลีย กระตุก
- Carbamate Insecticide ได้แก่ คาบาริล (Carbary)   คาร์โบฟูราน
(Carbofuran) มีผลต่อการย่อยอาหารในร่างกาย น้ำย่อยบางอย่างถูกเปลี่ยนไปทำให้
ปวดท้องเวียนศรีษะ
- Inorganic Insecticide ได้แก่  สารหนู ตะกั่ว มีผลทำให้เกิดการปวดศรีษะ   คลื่น
เหียร อาเจียร กระวนกระวาย หากได้รับปริมาณมาก ๆ อาจเกิดการชัก
       สารที่ทำให้เกิดอากาศเสีย นอกจากที่กล่าวมา 7 ประเภทใหญ่แล้วยังมีพวก
        - ละอองในอากาศ (Aerosols) เช่น ควันบุหรี่ ไอกรดกำมะถัน ผุ่นละออำงจาก
เหมืองแร่ ถ่านหิน โรงงานทำซีเมนต์ แป้งมัน ดรงงานโม่บดย่อยหิน โรงงานมันเม็ดอันแข็ง
       - สารกัมมันตภาพรังสี (Radioactive Compounds) จากการสลายตัวของ
ธาตุกัมมันตรังสีจากโรงงานนิวเคลียร์ซึ่งติดมากับตัวระบายความร้อน (Coolant) และ
กากนิวเคลียร์ (Radioactive waste)
     - Fine solids (เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 100 u และ Coarse
Particulates เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 100 u ได้แก่ เขม่า ควันไฟ CaSio 3 ZnO
ท่อไอเสียรถยนต์ปล่องไฟจากโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น
         การเป็นพิษต่อร่างกายมนุษย์และสัตว์ขึ้นกับลักษณะของสารในฝุ่นผงนั้น ๆ เช่น ทำให้
มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางชีวเคมีในร่างกาย ปกติแล้วฝุ่นผงในธรรมชาติมักเป็นสารอินทรีย์
ซึ่งไม่มีพิษเมื่อหายใจเข้าไปจะสะสมอยู่ในปอดและจะไปเกาะติดกับผนังปอด และเมื่อ
สะสมกันมาก ๆ เข้าจะทำให้เกิดโรค Silicosis ซึ่งมักจะเกิดกับคนงานที่ทำงานในโรงปูน
ซิเมนต์ โรงถลุงแร่ และเหมืองแร่ เมื่อเกิดโรคนี้จะทำให้ลดความสามารถในการดูดซึม
อ๊อกซิเจนในกระแสโลหิต และทำให้การหายใจผิดปกติและเสียชีวิตได้
                         1 u  (ไมครอน)  =          1              มิลลิเมตร
                                                           1,000
    1.4 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
          สภาพบรรยากาศซึ่งแต่ก่อนอยู่ในสภาวะสมดุลย์ มีการหมุนเวียนเป็นวงจรของกัน
เอง เช่นเมื่อต้นไม้ใช้คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ในการสังเคราะห์ อาหารจะปล่อยอ๊อกซิเจนออกมา
ซึ่ง มนุษย์หรือสัตว์ต่าง ๆ จึงใช้อ๊อกซิเจนเหล่านี้ในการหายใจและปล่อยคาร์บอนไดอ๊อกไซด์
ออกมา แต่ในปัจจุบันนี้มีการวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยี ปริมาณของอากาศเสียที่ถูก
ปล่อยออกมาจะทำให้วงจรเหล่านี้คาดเลื่อนไปหรือทำให้สมดุลย์เสียไป เช่น ในขณะนี้มี
คาร์บอนไดอ๊อกไซด์ปกคลุมโลกอยู่มากกว่าธรรมดาหลายเท่าตัวและในมหาสมุทรลึก ๆ มี
ปริมาณของคาร์บอนไดอ๊อกไซด์อยู่สูงมากในรูปต่าง ๆ กัน นอกจากนี้แล้วยังเป็นผลถึงระบบ
อากาศที่ครอบคลุมพื้นโลกอยู่ทำให้ลักษณะภูมิอากาศเปลี่ยนแปลงไปเกิด Green house
effect (ซึ่งเป็นผลเนื่องจากมีคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ห่อหุ้มโลกมากเกินไปทำให้การระเหย
ของความร้อนจากผิวโลกเป็นไปได้ยากจาการคำนวณ สรุปได้ว่าภายในปี ค.ศ. 2,000 คาดว่า
จะมีปริมาณคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ถึง 375-385 ppm. จะทำให้อุณหภูมิของผิวโลกเพิ่มขึ้น
0.5 c แต่ยังมีนักอุตุนิยมวิทยาบางคนยังไม่เห็นด้วย) และผลกระทบต่าง ๆ เหล่านี้สามารถ
อธิบายได้ย่อ ๆ ดังนั้น
           1.4.1 ผลกระทบต่อสุขภาพและพลานามัย   ดังได้กล่าวมาแล้วในข้อ 3 จะเห็นได้ว่า
อากาศเสียหรือสารต่าง ๆ ที่ประกอบอยู่ในอากาศนั้นสามารถที่จะก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้
มากมากหลายชนิด ทั้งยังอาจก่อให้เกิดการพิการและเกิดการปรับตัวของเผ่าพันธ์มนุษย์ ทำให้
ลักษณะต่าง ๆ ที่แสดงออกเปลี่ยนแปลงไป เป็นต้น อากาศเสียจึงนับว่าเป็นผลเสียอย่างร้าย
แรงต่อสุขภาพและพลานามัย
          1.4.2 ผลกระทบที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างสัตว์กับสิ่งแวดล้อม   (Ecological
change on animals) อากาศเสียมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงต่อสิ่งมีชีวิตที่มีโครงสร้างทาง
ชีวะวิทยาคล้ายคลึงกับมนุษย์ มนุษย์ที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงย่านอุตสาหกรรมทางด้านอากาศเสีย
ที่มิได้มีการป้องกันจะมีชีวิตสั้นกว่าพวกที่อยู่ห่างไกล ในบางกรณี อากาศเป็นพิษมักจะมี
สารพวกยาฆ่าแมลงที่ทนพิษยาได้น้อยมักจะเสียชีวิต เมื่อเป็นเช่นนี้ จะมีผลกระทบต่อการ
ผสมเกษตรของพืชซึ่งเกิดเนื่องจากแมลงได้ ผลที่ได้รับ
ก็คือ การผสมพันธุ์และการแตกดอกผลของพืชต้องลดลง นอกจากนั้นยาฆ่าแมลงบางชนิดยังมี
ผลต่อปลาและสัตว์น้ำ เมื่อปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลองเมื่อปลาได้รับสารที่เป็นพิษนี้เข้าไปก็
็จะทำการสะสมอยู่ในเนื้อและเมื่อมีสัตว์ต่าง ๆ เช่น นก มนุษย์ มาจับปลาไปรับประทานสาร
พิษที่สะสมอยู่ในปลานั้นก็จะไปทำลายสัตว์เหล่านั้นได้ คลอรีน (Cl2) และคลอรีเนต
ไฮโดรอาร์บอน (chlorinated hydrocarbon) มีผลต่อการเกิดตัวอ่อนของสัตว์และ
ทำให้เกิดการสึกกร่อนของอาคารและสิ่งก่อสร้างรวมทั้งโลหะด้วย
          1.4.3 ผลกระทบที่มีต่อความสัมพันธ์ระหว่างพืชกับสิ่งแวดล้อม   (Ecological
change on plants) ในระยะเร็ว ๆ นี้ในสหรัฐอเมริกาได้เกิดปัญหากับอากาศเสียที่มี
ผลต่อพืชกรมวิเทศ กระทรวงเกษตรสหรัฐได้งบประมาณ 500,000,000 ดอลล่าร์ต่อปี ในรัฐ
นิวเจอซีพลว่าพืชผลประมาณ 57 ชนิด ได้ถูกทำลายเมื่อมีปริมาณอากาศเสียเพิ่มขึ้น
                   อากาศเสียมีผลต่อพืชอยู่ 2 ประการคือ
                   1. มีผลโดยตรงต่อทางกายภาพของพืช เช่น ผลต่อการเจริญเติบโตการขยาย
และการแพร่พันธุ์
                   2. มีผลทางอ้อมต่อพืช โดยมีผลกระทบต่อดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นเหตุทำให้การ
เจริญเติบโตของพืชเปลี่ยนแปลงไปได้
          1.4.4  ผลเสียต่อการเปลี่ยนแปลงทางอุตุนิยมวิทยา   (Meteorological
changes) นักวิทยาศาสตร์ได้พบว่า อากาศเสียสามารถเปลี่ยนแปลงสภาวะของบรรยากาศ
ได้ เช่น พวกฝุ่นผงที่เกิดจากน้ำมือมนุษย์ ซึ่งก็มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุตุนิยมวิทยา
อยู่มาก เช่น มีผลต่อปริมาณฝนตกเพราะเหตุว่าฝุ่นผงจะแสดงคุณลักษณะเป็นนิวเครียสของ
ละอองน้ำในอากาศเป็นต้ว seeding ทำให้ไอน้ำในอากาศจับตัวกันเป็นหยดน้ำได้ง่ายเร็ว
และมีปริมาณมาก ดังนั้น จึงทำให้เกิดฝนตกเป็นปริมาณมากกว่าปกติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในย่านใกล้เคียงโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ หากมีปริมาณมากเกินไปก็จะไปทำให้เกิด over
seed ซึ่งเมื่อเกิดแล้วจะไม่ทำให้ฝนตกเลย ทั้งนี้เพราะปริมาณฝุ่นผงที่เป็น seed มากเกิน
ควรจนปริมาณไอน้ำมาจับกับฝุ่นผงมีจำนวนไม่มากพอที่จะทำให้เม็ดน้ำฝนหนักพอที่จะตก
ลงมาได้ จึงทำให้เกิดการแห้งแล้ง โดยเฉพาะในเขตย่านอุตสาหกรรมผลิตน้ำตาล
           ในบางกรณีอากาศเสียอาจเกิดจากต้นไม้ตามธรรมชาติก็ได้ เช่น ย่านหุบเขาจะพบว่า
มักมีหมอกหนาทึบ ทั้งนี้เพราะอากาศเสียจะไปทำให้เกิดไอน้ำในอากาศและลดอุณหภูมิลง
จนถึงจุดน้ำค้างทำให้ความชื้นสัมพันธ์ (Relative Humidity) เท่ากับ 100% จึงทำ
ให้เกิดหมอกได้ นอกกจากนั้นอากาศเสียยังมีผลต่อฟ้าผ่า ฝน ลูกเห็บ ในบางกรณีถ้ามันมี
ปริมาณมาก ๆ ก็จะไปบดบังแสงอาทติย์และจะทำให้เมืองเหล่านั้นได้รับแสงแดดน้อยลง
15-20% เมื่อเทียบกับปริมาณรอบ ๆ ต่อเนื่อง
     1.5  การตวจสอบอากาศเสีย  
           การตรวจสอบอากาศเสียนั้น ในความเข้าใจของคนส่วนมากมักจะวัดเอาด้วยกลิ่น
เหม็นตามธรรมชาติของสารเหล่านั้น โดยใช้ประสาทสัมผัส เช่น ก๊าซคาร์บอนมอนนอกไซด์
ก๊าซซัลเฟอร์ไดอ๊อกไซด์ ถึงแม้ว่าก๊าซเหล่านี้จะไม่สัมผัสได้โดยตรงก็ตาม แต่ก็สามารถ
ทราบได้เนื่องจากมันมีผลกระทบต่อพืชและสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งตามหลักการแล้ว การทด
สอบโดยวิธีนี้จะได้ผลไม่มากนัก เพราะไม่สามารถหาข้อดีข้อเสียและคุณภาพพร้อมปริมาณ
ของแก๊สเหล่านั้นได้ ดังนั้นในปัจจุบันจึงจำเป็นต้องใช้เครื่องมือชนิดพิเศษในการตรวจสอบ
สารแต่ละชนิดที่ทำให้เกิดปัญหา
       1.6  ทำไมจึงต้องมีการกำจัดอากาศเป็นพิษ
           เหตุที่ต้องมีการกำจัดอากาศเป็นพิษนั้น เพราะเหตุว่าอากาศเป็นพิษเป็นต้นเหตุของ
ปัญหาต่าง ๆ ซึ่งมีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อเศรษฐกิจ สังคม และสุขภาพ
พลานามัยขจองสังคมมนุษย์ เช่นในปัญหาเศรษฐกิจจะพบว่าตามสถิติในสหรัฐอเมริกาปี
หนึ่ง ๆ ความสูญเสียในด้านเกษตรกรรมอันเนื่องมาจากอากาศเป็นพิษ ทำความสูญเสียหาย
ให้ไม่น้อยกว่า 10,000 ล้านบาทต่อปี และนอกจากนั้นเครื่องจักรกลโรงงาน อาคารและสิ่ง
ปลูกสร้างยังได้รับการกระทบกระเทือนอันเนื่องมาจากการสึกกร่อนซึ่งก็เป็นผลเสียหายทาง
ด้านเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง ส่วนปัญหาทางด้านสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บต่อคนงาน
และชุมชนที่อยู่ใกล้เคียงอีกด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้นำมาซึ่งการเสื่อมเสียทางด้านสังคมอีกส่วน
หนึ่งด้วย
           จึงเห็นได้ว่าถ้าหากได้มีการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมเหล่านี้แล้วก็สามารถส่งผลใน
การประหยัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องสูญเสียไปเป็นจำนวนไม่น้อยในปีหนึ่ง ๆ และนอกจากนั้น
ยังเป็นการแก้ปัญหาทางด้านสุขภาพพลานามัยและสังคมได้อีกด้วย
2.  การกำจัดฝุ่นละอองในโรงงาน
           อากาศเป็นพิษหรือมลพิษทางอากาศ หมายถึง การมีสิ่งแปลกปลอมอย่างหนึ่งหรือ
หลายอย่างเจือปนอยู่ในอากาศรอบ ๆ ตัวเรา เช่น ฝุ่นละออง เขม่าควัน กลิ่นและไอสารเคมี
ต่าง ๆ ในปริมาณและระยะเวลาต่อเนื่องกัน จนทำให้เกิดอันตรายแก่มนุษย์และพืชพันธุ์หรือ
ทรัพย์สินอื่น ๆ เป็นการบั่นทอนสุขภาพอนามัย สภาพของอาคารต่าง ๆ จะมีการผุพังทรุด
โทรมเร็วกว่าปกติ
           สิ่งสกปรกในอากาศจำแนกออกเป็นส่วนที่มีลักษณะเป็นอนุภาคฟุ้งกระจาย เช่น
ฝุ่นละออง ฟูม กับส่วนที่ไม่เป็นอนุภาคกระจายไปในอากาศ เช่น ก๊าซ และไอสารเคมี เป็นต้น
          "ฝุ่น"   หมายถึง   อนุภาคของของแข็งที่สามรถฟุ้งกระจายปลิว หรือลอยอยู่ในอากาศได้
          "ละออง"   หมายถึง   อนุภาคของของแข็งที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวของไอของสารและ
สามารถลอยอยู่ในอากาศได้
          "ก๊าซ"   หมายถึง   ไอระเหยของของเหลวที่อุณหภูมิสูงกว่าอุณหภูมิวิกฤติมาก สามารถ
ฟุ้งกระจาย และเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลงหรือของแข็งได้โดยการเพิ่มความดันหรือลด
อุณหภูมิ
         "ไอสารเคมี"   หมายถึง   ไอที่เกิดขึ้นจากสารเคมีที่เป็นของเหลวหรือของแข็งในสภาวะ
ปกติ 
         ปัญหามลพิษซึ่งเกี่ยวข้องกับอนุภาคฟุ้งกระจายดไปในอากาศส่วนใหญ่เป็นพวกฝุ่น
ซึ่งสามารถจำแนกประเภทตามองค์ปรปะกอบทางเคมีออกเป็น 2 ประเภท คือ ฝุ่นที่เป็นสาร
อินทรีย์และฝุ่นที่เป็นสารอนินทรีย์
        - ฝุ่นที่เป็นสารอินทรีย์    นอกจากจะเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ จากพืชและสัตว์แล้วยังรวม
ถึงสารที่สังเคราะห์ขึ้นด้วย เช่น สีย้อม ยาฆ่าแมลง วัตถุระเบิด เป็นต้น ฝุ่นอินทรีย์ที่ไม่ได้มา
จากสิ่งมีชีวิต พวกนี้จะทำให้เกิดอาการแพ้เฉพาะบางคน สำหรับฝุ่นอินทรีย์ที่มาจากสิ่งมีชีวิต
ได้แก่ พวกเชื้อรา และแบคทีเรีย ทำให้เกิดโรคบาดทะยัก โรคคอตีบ วัณโรค ฝีดาษ ไทฟอยด์
เป็นต้น
       - ฝุ่นที่เป็นสารอนินทรีย์   เช่น ฝุ่นซิลิกา จากทราย หิน และใยหิน ซึ่งมีอนุภาคแข็งคม
จะเป็นอันตรายแก่เนื้อในหลอดลม และปอด ฝุ่นอีกชนิดหนึ่งที่เป็นพิษและทำให้ระคายเคือง
ได้แก่ ฝุ่นจากโลหะหนัก และสารประกอบของโลหะหนัก เช่น ตะกั่ว แมงกานีส และแคด
เมี่ยม เป็นต้น พิษของตะกั่ว ซึ่งเกิดจากโรงงานทำแบตเตอรี่ เผาแบตเตอรี่จะทำลายระบบ
ประสาทส่วนกลางทำให้มีอาการมึนงง รับประทานอาหารได้น้อย ถ้ามีปริมาณของตะกั่วใน
เลือดมากจะทำให้หมดความรู้สึกและในที่สุดจะตาย พิษของแมงกานีสซึ่งเกิดจากโรงงาน
ทำถ่านไฟฉาย โรงงานถลุงแร่แมงกานีสถ้าอยู่ในร่างกายมากเกินขนาดจะทำลายประสาท
ส่วนกลาง ทำให้ทรงตัวไม่อยู่ จะหกล้มง่าย และมีอารมณ์อ่อนไหว แคดเมี่ยมซึ่งเกิดจาก
โรงงานอุตสาหกรรม ทำยา อุตสาหกรรมชุบโลหะ พิษของแคดเมี่ยมจะทำให้เป็นโรคกระดูก
และโรคหัวใจได้
     2.1  วิธีการที่ฝุ่นละอองเข้าสู่ร่างกาย มี 3 วิธีคือ
            2.1.1  ทางจมูก   โดยการหายใจเข้าไป ซึ่งฝุ่นละอองจะเข้าสู่ร่างกายโดยวิธีนี้มาก
ืที่สุดตามปกติในรูจมูกจะมีขนจมูกคอยกรองฝุ่นละอองออกชั้นหนึ่งอยู่แล้ว ถ้าปริมาณฝุ่นมี
ไม่มากนักหรือเป็นชิ้นใหญ่ก็จะทำการกรองได้เองตามธรรมชาติ แต่ถ้าปริมาณฝุ่นมีมากเกิน
ไป ก็ควรจะมีการป้องกันโดยสร้างระบบขจัดฝุ่นละออง หรือใช้หน้ากากกรองฝุ่นละออง
            2.1.2  ทางปาก   วิธีการนี้จะมีฝุ่นละอองติดเข้าไปไม่มากนัก นอกจากจะปลิวตกลง
ไปในอากาศแล้วกินเข้าไป ซึ่งส่วนมากจะไม่เป็นอันตราย ยกเว้นฝุ่นละอองที่เป็นพิษต่า
ร่างกาย
            2.1.3  ทางผิวหนัง   ฝุ่นละอองจะปลิวมาติดอยู่ตามผิวหนัง จะดูดซับน้ำ และน้ำมัน
ออกจากผิวหนัง ทำให้ระคาย ผิวแห้ง ก่อให้เกิดความรำคาญ ฝุ่นบางชนิดจะทำให้บางคนแพ้
เป็นผื่นคันได้ ส่วนปริมาณสารพิษที่จะซึมเข้าสู่ร่างกาย ตามปกติแล้วจะมีไม่มากนัก ยกเว้น
พวกยาฆ่าแมลง
     2.2  การจำแนกความเป็นพิษเนื่องจากฝุ่นละออง จำแนกได้เป็น 2 ประเภทคือ
           2.2.1   ฝุ่นละอองที่ก่อความเดือดร้อนรำคาญ จะเป็นฝุ่นละอองธรรมดาที่มีความหนา
แน่นไม่มากนัก ซึ่งจะก่อความเดือดร้อนดังนี้
                    - ระคายเคือง รำคาญ ซึ่งจะทำให้ระคายตา มองไม่ได้ชัดเกิดอาการคันที่ผิวหนัง
ผิวหนังแห้ง หรือเหนียวเหนอ ะหนะ และทำให้อึดอัด หายใจไม่สะดวก
                    - ทำความสกปรกแก่บ้านเรือน เสื้อผ้า และสิ่งของเครื่องใช้และสำหรับฝุ่นที่เป็น
สารอินทรีย์ จะก่อให้เกิดการบูด เน่าเหม็น กรณีที่ถูกน้ำ เช่น ฝนตก เป็นต้น
           2.2.2   ฝุ่นละอองที่ก่อความเดือดร้อนอันตราย ซึ่งส่วนมากจะเป็นฝุ่นที่เป็นพิษ และฝุ่น
ละอองธรรมดาที่มีความหนาแน่นหรือปริมาณมาก ซึ่งจะก่อความเดือนร้อนดังนี้
                    - เป็นอันตรายต่อร่างกาย เมื่อเวลาเข้าสู่ร่างกาย เช่น ฝุ่นละอองของพวกสาร
โลหะหนัก ฝุ่นสารเคมี ฝุ่นยาฆ่าแมลง หรือฝุ่นพวกใยหิน ไฟเบอร์หรือฝุ่นฝ้ายที่เมื่อเวลาเข้า
ปอดแล้วปอดไม่สามารถขับออกมาได้ จะทำให้เป็นโรคเกี่ยวกับปอดได้
                    - ติดไฟได้ ฝุ่นละอองบางชนิดที่มีความละเอียดและปริมาณมาก ๆ เมื่อฟุ้ง
กระจายจะสามารถติดไฟลุกไหม้ขึ้นได้ เช่น ฝุ่นแป้ง เป็นต้น
                    - ระเบิดได้ ในกรณีที่มีแรงอัดหรือแรงดันมาก ๆเช่น ในกระพ้อตักข้าวโพดที่มี
แรงอัดฝุ่นไปในทางเดียวกัน ถ้าไม่มีการดูดลมจากหัวกระพ้อเพื่อทำให้แรงดันในกระพ้อต่ำ
กว่าบรรยากาศข้างนอก จะทำให้เกิดการระเบิดเนื่องจากฝุ่นละอองได้
     2.3  วิธีการวัดปริมาณฝุ่นละออง จะวัดเป็นหน่วย
            2.3.1   มิลลิกรัม/อากาศ 1 ลูกบาศก์เมตร (มก/ม3) mg/NM3 (milligram/
mormal Cubic metre) จะใช้วิธีการเก็บอากาศผ่านผ้ากรอง กรองเอาฝุ่นไว้ต่ออากาศ
1 ลูกบาศก์เมตร เทียบกับอุณหภูมิ 25 c
         2.3.2  ppm. (part per million) (ส่วนในล้านส่วน) ซึ่งส่วนมากจะใช้วัดค่า
ของก๊าซ ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ มก./ม3 ดังนี้
                 
                     มก/ม3       =     ppm  x   น้ำหนักโมเลกุล
                                                           24.5

            2.3.3   วัดเป็นไฟเบอร์   ใช้วัดพวกฝุ่นละอองที่เป็นไฟเบอร์ เช่น ใยหิน (asbestos)
ฝ้าย (cotton) โดยใช้กล้องส่อง นับเป็นไฟเบอร์
            2.3.4  ค่ามาตรฐานในการควบคุมปริมาณฝุ่นละออง
                     - ค่า T.L.V. (Threshold Limit Value) จะเป็นการวัดค่าปริมาณ
ฝุ่นละอองหรือก๊าซในบริเวณทำงาน โดยถือเป็นค่าจำกัดสูงสุดในบริเวณที่ที่คนงานปฏิบัติ
งานอยู่ ที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถจะรับได้เป็นเวลา 8 ชั่วโมงต่อวันทำงาน ซึ่งได้มาจากหลัก
ความจริงที่ว่าร่างกายคนเราสามารถกำจัดแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกายตลอดเวลา เช่น ค่า
T.L.V. สำหรับฝุ่นธรรมดาที่ไม่เป็นพิษจะเท่ากับ 15 มก/ม3 เป็นต้น
                     - ค่า Emission   จะเป็นการวัดค่าปริมาณฝุ่นละอองหรือก๊าซที่ปล่อยออก
ทางปล่องเพื่อให้เจือจางลงมาจนกว่าจะตกถึงพื้น ซึ่งจะเป็นค่าจำกัดสูงสุดของปริมาณสารที่
จะปล่อยออกทางปล่องได้โดยต้องมีส่วนสัมพันธ์กับความเร็วลม ความสูงของปล่อง สิ่งแวด
ล้อมรอบข้าง ค่า T.L.V. ปริมาณสารที่มีอยู่ดั้งเดิมโดยรอบโรงงาน และค่า T.L.V.
                - ค่า Ambient   จะเป็นการวัดค่าปริมาณฝุ่นละอองหรือก๊าซที่มีอยู่นอกรั้ว
โรงงานโดยถือเป็นค่าจำกัดสูงสุดที่จะยอมให้ปริมาณของสารนั้นมีอยู่ในสภาวะแวดล้อมปกติ
      2.5  การป้องกันและการขจัดมลพิษทางอากาศมีกรรมวิธีและเทคนิคประกอบดังนี้
            - ควบคุมหรือขจัดที่ต้นกำเนิดไม่ให้มลพิษเกิดขึ้นได้ หรือพยายามทำให้เกิดใน
ปริมาณน้อยโดยทำลายเปลี่ยนแปลงหรือดักจับเอามลพิษเหล่านั้นออกก่อน เพื่อให้อยู่ในระดับ
เหมาะสมที่จะระบายออกได้ หรือในบางกรณีอาจแก้ไขโดยเปลี่ยนวัสดุหรือวัตถุดิบ เปลี่ยน
แปลงระบบการผลิตหรือวิธีการผลิต แก้ไขเครื่องจักรกล ควบคุมดูลแลเครื่องจักรกลให้มี
ประสิทธิภาพสูงสุด
           - ทำให้เกิดการเจือจางตามธรรมชาติ หลังจากที่ระบายออกมาแล้ว เช่น การต่อปล่อง
ระบายอากาศให้สูงขึ้น หรือการกำหนดที่ตั้งของโรงงานให้อยู่ในที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
หรือจัดเวลาการผลิตให้เหมาะสมกับสภาพของการพัดของลมและภูมิประเทศ
           - ก่อสร้างระบบขจัดมลพิษทางอากาศ ซึ่งควรจะเลือกเป็นวิธีสุดท้ายในการแก้ปัญหา
           - หากวิธีดังกล่าวข้างต้นไม่สามารถจะทำได้ ก็ใช้วิธีป้องกันบุคคล โดยใช้อุปกรณ์ใน
การป้องกันแทน
3.  หลักการและวิธีการควบคุมอากาศเสีย
     การประกอบกิจการอุตสาหกรรมต่าง ๆ ย่อมมีปัญหาทำให้สภาพแวดล้อมริวเวณใกล้เคียง
โรงงานเปลี่ยนแปลงในทางที่เสื่อมโทรมลงดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น ตามแต่ลักษณะและ
ประเภทของการประกอบกิจการอุตสาหกรรมนั้น ฉะนั้น การควบคุมป้องกันปัญหานี้เพื่อมิให้
เป็นอันตรายและเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนผู้อาศัยใกล้เคียง จึงจำเป็นที่โรงงาน
อุตสาหกรรมต้องมีระบบกำจัดปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมของอากาศเสีย (ฝุ่น เขม่าควัน แก๊ส
ไอระเหย และกลิ่นเหม็น)
     หลักการและวิธีการควบคุมอากาศเสียต่าง ๆ พอสรุปได้ดังนี้
     1.  ระบบรวบรวมอากาศ (hood)
     2.  ระบบการเดินท่อ (ductwork)
    3.  พัดลม (Fan)
    4.  ระบบกำจัดอากาศเสีย (Air pullution control system)
     3.1  ระบบรวบรวมอากาศ (hood) 
          hood คือเครื่องมือที่ใช้สำหรับขบวนการระบายอากาศโดยการจัดการกระจายของ
ความร้อนหรืออากาศที่สกปรก ซึ่งจะถูกส่งไปยังระบบท่อ (ductrork) เพื่อนำไปสู่เครื่อง
มือควบคุมกำจัดอากาศเสีย (Air polltuion control equipment) ปริมาณของ
อากาศที่ต้องการจับ (capture) และเพื่อเป็นตัวหาอากาศที่สกปรกขึ้นอยู่กับขนาดและ
ลักษณะของ hood สถานที่ตั้งสำหรับ hood มีความสัมพันธ์กับจุดการกระจายหรือปล่อย
ออกธรรมชาติ และปริมาณของอากาศที่สกปรกนั้น hood มีหลายชนิด เช่น Enclosed,
ิbooth, canopy และ slot  hood เป็นต้น
       3.2  ระบบการเดินท่อ (ductwork)
          การออกแบบของ hood   และการคำนวณหาปริมาณของอากาศที่ต้องดูดออกดังที่
กล่าวมาแล้วการออกแบบระบบท่อ (ductwork) มีจุดประสงค์เพื่อนำพาสิ่งสกปรกไปสู่
เครื่องมือกำจัด หลักสำคัญที่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ ความเร็วของอากาศในท่อเพื่อให้สิ่งสกปรก
เหล่านั้นไม่ตกค้างในท่อ,ขนาดและผลกระทบจากความเสียดทาน (friction losses) ซึ่ง
ได้แก่ Inertia Losses,Orificelosses  Straight-Duct Friction Losses,
Elbow and Branch Entry Losses การออกแบบระบบท่อมีประโยชน์คือ ทำให้
สามารถลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น การใช้เครื่องมือกำจัดจุดเดียวกัน และพลังงานที่ใช้
      3.3  พัดลม  (Fan)
           พัดลมที่ใช้สำหรับเคลื่อนย้ายอากาศจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ในการควบคุม
อากาศเสียพัดลมหรือเครื่องดูดเป็นส่วนทำให้มวลของอากาศและอากาศที่สกปรกเคลื่อนที่
และถูกนำจากจุดที่เกิดไปสู่เครื่องมือกำจัดและจะถูกแยกเก็บหรือกำจัดก่อนปล่อยให้ออกสู่
บรรยากาศ การเลือกใช้พัดลมจึงต้องคำนึงถึงปริมาณอากาศ (Air Volume), แรงดันสถิตย์
(Static Pressure) และขนาดแรงม้า (Power Required) ของพัดลม
      3.4  ระบบกำจัดอากาศเสีย (Air Pollution Control System)
           อากาศที่สกปรกจากโรงงานอุตสาหกรรมมีอยู่หลายลักษณะ เช่น ในรูปของฝุ่น
ละออง เขม่าควัน กลิ่น และไอสารเคมี เป็นต้น ดังนั้น การทำให้อากาศเหล่านั้นสะอาดหรือมี
สิ่งเจือปนที่เป็นอันตรายหรือเป็นส่วนที่ก่อให้เกิดความรำคาญน้อยที่สุด จำเป็นต้องอาศัย
เครื่องมือต่าง ๆ ซึ่งต้องแล้วแต่คุณสมบัติของอากาศเสียนั้น ทำให้เครื่องมือกำจัดอากาศเสีย
(Air Pollution Control devices) จึงมีหลายแบบ ดังนี้
           3.4.1  ถุงกรอง   (Beg Filter)   เป็นเครื่องมือสำหรับดักฝุ่นละอองหรือสารที่มี
ลักษณะเป็นฝุ่นละอองจากอากาศโดยทำให้ฝุ่นละอองเหล่านั้นเกาะหรืออยู่ในรูปของแผ่นกรอง
นั้น อากาศที่ผ่านแผ่นกรองแล้วจะเป็นอากาสที่สะอาดหรือมีความสกปรกน้อย แผ่นกรองโดย
มากจะทำให้เป็นรูปถุงหรือหลอดกลม จึงเรียกว่า Beg Filter วัสดุที่ใช้จะเป็น ผ้าฝ้าย,
โพลีโปรพิลีน,ไนล่อน,อครีลิกโพลีเอสเตอร์,โนเม็กซ์,เทฟล่อน,ใยแก้ว   เป็นต้น
               3.4.2   Electrostatic Precipitator   เป็นเครื่องมือที่ใช้ความแตกต่างของ
ศักดาไฟฟ้าเพื่อสร้างสนามไฟฟ้าแล้วทำให้ฝุ่นละอองได้รับประจุไฟฟ้า โดยมีแผ่นหรือวัสดุ
ที่มีประจุไฟฟ้าอีกประจุหนึ่งซึ่งเรียกว่า collecting plates เมื่อฝุ่นละอองในอากาศนั้น
ไหลผ่านเนื่องจากความแตกต่างของประจุไฟฟ้าจะทำให้มีแรงดึงดูดเข้าหากันทำให้สิ่งสกปรก หรือฝุ่นละอองนั้นไปเกาะติดอยู่กับ collecting plates ที่มีประจุแตกต่างกันก็จะสามารถ
แยกฝุ่นละอองหรือความสกปรกนั้นออกจากอากาสที่ไหลผ่าน
               3.4.3   Cyclone   เป็นเครื่องมือสำหรับแยกความสกปรกจากอากาศโดยไม่มี
ส่วนใดเคลื่อนไหว ฝุ่นละอองหรือความสกปรกที่แยกจากอากาศที่เป็นตัวนำพามาโดยการ
เปลี่ยนให้ความเร็วของอากาศที่เข้าเป็นความเร็วที่วิ่งเข้าสู่จุดรวมสองชั้น (double vortex) ที่อยู่ในขอบเขตจำกัดโดย cyclone ในความเร็วที่วิ่งเข้าสู่จุดรวมสองชั้น อากาศ
ที่เข้าจะหมุนลงสู่ส่วนล่างโดยอยู่วงนอกและหมุนขึ้นสู่ส่วนบนโดยอยู่วงข้างใน และหมุนไป
สู่ทางออกของ Cyclone เนื่องจากแรงเฉื่อยฝุ่นละอองจะถูกเหวี่ยงให้กระทบกับผนังและจะ
ตกลงสู่ที่รองรับส่วนล่าง Cyclone
               3.4.4   Mechanical collectors (other than cyclones)
เครื่องมือเก็บดักฝุ่นละอองนี้อาศัยหลักการของแรงดึงดูดสู่จุดศูนย์ (gravity force) หรือ
แรงเหวี่ยง (centrifugal force) แต่ไม่ใช่การหมุนเข้าสู่จุดศูนย์กลางแบบ cyclone  ซึ่งได้แก่
settling chambers, baffled chambers, louvered chambers และเครื่อง
มือที่อากาศพาความสกปรกหรือฝุ่นละอองฝ่านสู่พัดลมและการแยกของความสกปรกเกิดขึ้น
โดยทั่วไป ระบบกำจัดนี้จัดแบ่งอยู่ในชั้นที่มีประสิทธิภาพต่ำ โดยปกติจะใช้เป็นพวก
precleaner ก่อนที่ใช้ระบบอื่น ๆ
                3.4.5   Scrubbers   เป็นเครื่องมือกำจัดที่ใช้ของเหลวในจุดประสงค์สำหรับ
ให้สัมผัสเพื่อดักฉีดอากาศที่สกปรก Scrubbers นี้โดยมากนักจะใช้สำหรับฉีดดักกำจัด
ความสกปรกที่อยู่ในรูปของก๊าซและไอระเหยซึ่งเป็นความสกปรกในอากาศ แต่บางครั้งก็ใช้
สำหรับพวกฝุ่นละออง (particulate matter)   สารละลายที่ใช้อาจจะละลายได้หรือมี
ปฏิกริยากับความสกปรกที่ต้องการกักเก็บ วิธีการของการสัมผัสกันระหว่างสารละลายที่ใช้
ฉีดดักกับอากาศที่สกปรกประกอบด้วยการฉีดของเหลว (สารละลาย)  เข้าในหอหรือห้องที่
บรรจุด้วยแบบต่าง ๆ ของ baffles, grillage หรือ packing และปล่อยให้อากาศไหล
สวนทางกัน (countercurrent) หรือทางเดียวกัน (Co-current)  ความสัมพันธ์
ระหว่างประสิทธิภาพและอัตราการไหลของอากาศขึ้นอยู่กับการออกแบบ scrubber มี
หลายแบบ เช่น packed tower, venturiscrubber, spray tower, cyclone
scrubber เป็นต้น
              3.4.6   Adsorbers   เป็นเครื่องมือซึ่งก๊าซหรือไอระเหยที่สกปรกจะยังคงอยู่
ในผิวของตัวกลางเป็นรู  (porous media) ซึ่งอากาศไหลผ่านนั่นก็คือ Adsorbers
ตัวกลางที่ใช้ส่วนใหญ่จะเป็น activated carbon การออกแบบ Adsorbers นี้คล้าย
กับที่ใช้ในพวก filter สำหรับพวกฝุ่นละอองโดยก๊าซจะไหลผ่านชั้นที่เป็นรูในกรณีของ
adsorber ชั้นที่เป็นรูโดยปกติจะมีการป้องกันการอุดตันโดยพวกฝุนละออง (particulate matter) โดยจะต้องให้มีชั้น filter เพื่อที่จะให้อากาศไหลผ่านชั้นของ
adsorber ปราศจากพวก particles ใน adsorber และไม่มีปฏิกิริยาระหว่างตัว
adsorber และก๊าซหรือไอระเหย
               3.4.7   Contaminant Combustors    ในเครื่องมือนี้ พวกความสกปรก
ของสารอินทรีย์ที่สลายตัวได้ โดยการเผาไหม้จะถูกเผาโดยอ๊อกซิเจนในอากาศที่พามาเพื่อให้
ได้การเผาไหม้ที่สมบูรณ์เท่าที่จะเป็นไปได้ ในบางกรณีการเผาไหม้จะเกิดขึ้นบนผิวของตัว
เร่งปฏิกิริยา ในบางอย่างตัวเร่งปฏิกริยาก็ไม่จำเป็น การเผาไหม้นี้ไม่ค่อยนิยมใช้สำหรับความ
สกปรกที่มีลักษณะเป็นฝุ่นละอองแต่ส่วนใหญ่ใช้สำหรับความสกปรกของก๊าซหรือไอสารเคมี
ที่เป็นพวกสารอินทรีย์
                    3.4.8   Combination System   คือการใช้เครื่องมือดังกล่าวข้างต้นมาก
กว่า 1 แบบมาใช้ร่วมกันในการกำจัดหรือดักพวกความสกปรก เช่น การใช้ร่วมกันของ
Cyclone และ Electrostatic precipitator เป็นต้น
4.  เทคโนโลยีสำหรับการควบคุมมลพิษทางอากาศ
    การควบคุมมลพิษทางอากาศที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้ จะกล่าวเฉพาะการควบคุมหรือป้องกัน
มลพิษทางอากาศจากโรงงานอุตสาหกรรม อาจแบ่งมลสารในอากาศได้เป็น 2 พวกใหญ่ ๆ คือ
ฝุ่นละอองกับก๊าซเสีย รบบดักฝุ่นละอองที่ใช้กันทั่วไปได้แก่ Electrostatic precipitator, ระบบผ้ากรองและระบบฉีดดัก ส่วนระบบขจัดก๊าซเสียที่ใช้กันทั่วไปได้แก่
ระบบฉีดดัก, ระบบเผาไหม้และระบบดุดซับ
   ประสิทธิภาพของระบบขจัดดังกล่าวขึ้นอยู่กับการออกแบบตัวระบบขจัดให้เป็นไปตามหลัก
วิชาและยังขึ้นกับอุปกรณ์ที่เป็นส่วนประกอบของระบบ ได้แก่ ระบบท่อ, ระบบปรับอุณหภูมิ
ให้เหมาะสม,ระบบรวบรวมมลสารที่ดักได้, พัดลม, มอเตอร์และปล่องระบาย, นอกจากนี้การ
ตรวจสอบบำรุงรักษาระบบขจัดฯ ยังเป็นสิ่งที่จำเป็นมาก เพื่อให้ระบบขจัดฯ มีประสิทธิภาพ
เป็นไปตามที่ออกแบบไว้เสมอ
   การจะเลือกใช้ระบบขจัดฯ ชนิดใดนั้น ไม่ควรคำนึงถึงคุณสมบัติหรือคุณลักษณะของมลสาร
แต่เพียงอย่างเดียว แต่ควรคำนึงถึงประสิทธิภาพที่ต้องการ ตลอดจนค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ราคา
ระบบขจัดฯ ค่าบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายระหว่างใช้งาน
   หลักการและข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระบบขจัดฯ ต่าง ๆ จะได้กล่าวถึงอย่างสังเขปพอ
เป็นพื้นฐาน
      4.1  ระบบ  High Voltage Electrostatic Precipitator (EP)
            ระบบนี้ใช้ได้กับก๊าซเสียที่มีมลสารเป็นอนุภาค ไม่ว่าจะเป็นอนุภาคของของแข็งหรือ
ของเหลวแต่จะต้องเป็นอนุภาคที่ทำให้เกิดประจุไฟฟ้าได้ง่าย หลักการของระบบคือการนำก๊าซ
ผ่านสนามไฟฟ้าสถิตย์ (สร้างด้วยกระแสไฟแรงสูง) แล้วผ่านพื้นที่ผิวที่เป็นกลางซึ่งเป็นพื้นที่
รวบรวมอนุภาคของสาร
            โมเลกุลของอากาศจะมีประจุเกิดขึ้นเมื่อก๊าซเสียไหลผ่านอีเลคโทรด ซึ่งมีกระแสไฟ
แรงสูงไหลผ่าน และโมเลกุลอากาศที่มีประจุแล้วจะเหนี่ยวนำให้อนุภาคมลสารเกิดประจุเช่น
กัน อนุภาคเหล่านี้จะเคลื่อนที่ไปที่ผิวที่มีประจุตรงกันข้าม ทำให้อนุภาคกลายเป็นกลาง อนุภาคจะยังคงเกาะอยู่ที่พื้นผิวนี้ได้เพราะคุณสมบัติการเกาะกันระหว่างอนุภาครวมทั้ง
คุณสมบัติของสนามไฟฟ้า
            อนุภาคหรือฝุ่นละอองจะตกจากพื้นผิวที่เกาะอยู่ด้วยการเคาะหรือเขย่าด้วยมอเตอร์
ฝุ่นละอองจะตกลงสู่ hopper และจะถูกดูดด้วยลมหรือระบบลำเลียงแบบเกลียวเดือยหมู
ออกจาก hopper บางครั้งฝุ่นละอองที่ก้น hopper อาจฟุ้งกระจายเมื่อมีการเคาะหรือสั่น สามารถแก้ปัญหานี้โดยการแบ่งช่วงระบบ และทำการเคาะหรือสั่นให้ฝุ่นละอองตกทีละช่วง
            ระบบ EP เหมาะสำหรับอากาศเสียที่มีปริมาณมาก และขนาดฝุ่นละอองน้อยกว่า
10-20 ไมครอน (โดยส่วนใหญ่ต่ำกว่า 1 ไมครอน) ประสิทธิภาพอาจสูงถึง 99% ซึ่งขึ้นอยู่
กับคุณลักษณะอากาศเสีย ความยากง่ายในการทำให้อนุภาคเกิดประจุ ระบบนี้สามารถรับ
อากาศเสียทั้งแห้งและชื้นได้แม้แต่อากาศเสียที่มีฤทธิ์กัดกร่อนก็สามารถใช้กับระบบนี้ได้ หาก
ใช้วัสดุที่เหมาะสมในการสร้างระบบตามปรกติระบบนี้จะใช้กับอากาศเสียที่มีอุณหภูมิไม่เกิน
370 c แต่อาจใช้กับอากาศเสียที่มีอุณหภูมิสูงเกือบ 550 c  ได้ (อายุการใช้งานจะสั้นลง) แรง
ดันสถิตย์ที่เกิดขึ้นในระบบมีน้อย (ไม่เกิน 1.3 ซม.น้ำ สำหรับระบบที่อากาศเสียผ่านด้วย
ความเร็ว 0.6-2.5 เมตร/วินาที)
              ระบบ EP มีราคาสูง ต้องสั่งจากต่างประเทศ อย่างไรก็ตามค่าบำรุงรักษาและ
ค่าใช้จ่ายระหว่างใช้งานค่อนข้างต่ำ ราคาของ EP   ขึ้นกับพื้นที่ผิวที่ฝุ่นละอองเกาะและ
ประสิทธิภาพก็เช่นกัน
              ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพและพื้นที่ผิวที่ฝุ่นละอองเกาะอาจแสดงได้โดย
Deutsch equation :-
               n               =      1-e (-WA/Q)
      Where
           n               =       collection  efficiency
           w              =       drift velocity, m/sec
           A              =        plate area, m2
           Q              =        flow rate, m3,/sec
           จากสมการข้างบนจะเห็นได้ว่าประสิทธิภาพของระบบ n,และพื้นที่ผิวดูดฝุ่น A
ขึ้นอยู่กับค่า drift velocity w, และค่า w นี้ขึ้นกับคุณสมบัติทางไฟฟ้าของอนุภาคฝุ่น
ละออง อุณหภูมิและความชื้นก็มีผลต่อคุณสมบัติทางไฟฟ้าของฝุ่นละออง ดังนั้นจึงมักจะพบ
ว่าก่อนนำอากาศเสียผ่าน EP จะมีการปรับสภาพอากาศเสียโดยทำให้อากาศเสียเย็นลงและ
มีความชื้นเพิ่มขึ้น ในกรณีนี้ระบบ EP   จะต้องบุฉนวนเพื่อป้องกันปัญหาการควบแน่นของ
ไอน้ำซึ่งจะทำให้เกิดการกัดกร่อนระบบได้
               นอกจากพื้นที่ผิวดูดฝุ่นแล้ว ราคา EP ยังขึ้นอยู่กับระบบควบคุมไฟฟ้าแรงสูง การ
บุฉนวนชนิดเครื่องแปลงกระแสไฟ วัสดุที่ใช้สร้าง
               อุปกรณ์เสริมสำหรับระบบ EP  ได้แก่ hood, ระบบท่อ, ระบบลำเลียงฝุ่น
ละอองที่ดักได้ระบบทำให้ก๊าซเย็น และพัดลม
               ระบบท่ออาจทำหน้าที่นำอากาศเสียพร้อมกับเป็นอุปรณ์ถ่ายเทความร้อนเพื่อให้
อากาศเย็นลงท่อที่มีขนาดเล็กเกินไปทำให้เกิดแรงดันสถิตย์ในท่อสูง ซึ่งทำให้ต้องสิ้นเปลือง
กำลังของพัดลม โดยทั่วไปแบ่งชนิดท่อที่ใช้เป็น 4 พวก ได้แก่ ท่อเหล็กธรรมดา ท่อเหล็ก
สแตนเลส ท่อหล่อเย็นด้วยน้ำและท่อทำด้วยวัสดุทนไฟ ท่อเหล่านี้มิได้แตกต่างกันเพียงเนื้อ
วัสดุแต่จะใช้งานที่อุณหภูมิต่างกันด้วย
                บางครั้งอาจต้องใช้ไซโคลนดักฝุ่นขนาดใหญ่เสียก่อน เรียกไซโคลนว่าเป็น
precleaner อากาศเสียที่ผ่านไซโคลนแล้วจะมีปริมาณฝุ่นละอองที่เหมาะสมซึ่งจะช่วย
ให้ EP มีอัตราการสึกหรือไม่มากตลอดจนการดูแลรักษาไม่มีปัญหาบ่อย ๆ
                ไซโคลนมีหลักการที่อาศัยแรงหนีศูนย์กลางของฝุ่นละอองในการแยกฝุ่นละออง
ออกจากอากาศอากาศเสียจะเข้าไซโคลนในแนวเส้นสัมผัสตรงด้านข้างของไซโคลน เพื่อให้
เกิดแรงหนีศูนย์กลางและเกิดลำอากาศที่หมุนเป็นวงกลมพร้อมกับเคลื่อนตัวลงอนุภาคฝุ่น
ละอองจะถูกเหวี่ยงกระทบผนังไซโคลนและตกลงด้านล่างของไซโคลน ส่วนลำอากาศหมุน
เมื่อเคลื่อนตัวลงส่วนล่างของไซโคลนแล้วจะเปลี่ยนทิศทางโดยเคลื่อนตัวขึ้นผ่านทางช่อง
ออกซึ่งเป็นไส้กลางที่ห้อยจากด้านบนของไซโคลน
                 ในการออกแบบไซโคลนรับปริมาณอากาศเสียจำนวนหนึ่ง ถ้าออกแบบโดยใช้
ไซโคลนขนาดใหญ่เพียงตัวเดียวจะมีประสิทธิภาพการดักฝุ่นไม่สูงเท่าที่ควรเพราะจะเกิด  
แรงหนีศูนย์กลางที่มีขนาดไม่มากจึงควรใช้ไซโคลนขนาดเล็ก ๆ หลาย ๆ ตัว ซึ่งจัดให้แบ่ง
รับปริมาณอากาศเสียได้เท่า ๆ กัน จะได้ประสิทธิภาพการดักฝุ่นดีกว่า และขนาดก็ไม่สูงใหญ่
เทอะทะเหมือนใช้ไซโคลนตัวเดียว โดยทั่วไปไซโคลนจะมีประสิทธิภาพการดักฝุ่นขนาดเกิน
20 ไมครอนได้ดีพอควร
                การขจัดฝุ่นจากเครื่องกรองฝุ่น (baghouses, EP, ไซโคลน)  อาจจะกระทำ
ได้โดยอาศัยคนงานปิด-เปิดวาล์ว หรือเป็นแบบอัตโนมัติโดยระบบลำเลียงแบบเกลียวเดือยหมู
กับโรตารี่วาล์วถ้าปริมาณฝุ่นไม่มากอาจเก็บฝุ่นไว้ภายใน hopper ของระบบได้ระยะเวลา
หนึ่งก่อนจะขนถ่ายไปทิ้งภายหลังถ้าปริมาณฝุ่นมีมากจำเป็นต้องใช้ระบบลำเลียงแบบเกลียว
เดือยหมูและโรตารี่วาล์ว เพื่อลำเลียงฝุ่นออกจาก hopper ของระบบขจัด
                ถ้าอากาศเสียมีอุณหภูมิสูง ก่อนนำเข้า EP ต้องทำให้เย็นลงเสียก่อน การทำให้
อากาศเย็น ทำได้หลายวิธี อาจแบ่งเป็นวิธีเปียกและวิธีแห้ง วิธีเปียกได้แก่การฉีดน้ำเป็นฝอย
ความร้อนจะถูกถ่ายเทจากอากาศเพื่อไปใช้ในการระเหยหยดน้ำนิยมใช้ภาชนะทรงกระบอก
สำหรับวิธีนี้ ความเร็วอากาศจะลดลงภายในภาชนะนี้พร้อม ๆ กับน้ำจะถูกสเปรย์เพื่อให้เกิด
การระเหย เส้นผ่าศูนย์กลางและความยาวของภาชนะทรงกระบอกขึ้นกับขนาดของหยดน้ำที่
สเปรย์ออกมา รวมทั้งอุณหภูมิและความเร็วสัมพันธ์ระหว่างหยดน้ำกับอากาศเสีย โดยทั่วไป
จะออกแบบให้ความเร็วอากาศเสียในภาชนะทรงกระบอกเท่ากับ 3 เมตร/วินาทีโดยประมาณ
และแรงดันน้ำที่สเปรย์เท่ากับ 6.8 บรรยากาศโดยประมาณถ้าแรงดันน้ำมากกว่านี้จะยิ่งได้
หยดน้ำเป็นฝอยเล็ก ๆ มากขึ้น จะทำให้น้ำระเหยเป็นไอได้เร็ว ขนาดภาชนะจะเล็กลง ราคา
ค่าก่อสร้างระบบทำก๊าซเย็นโดยการฉีดน้ำขึ้นกับขนาด ปริมาตร วัสดุ และปริมาณน้ำใช้
                วิธีทำก๊าซให้เย็นโดยไม่ใช้น้ำ   จะอาศัยการถ่ายเทความร้อนจากก๊าซสู่อากาศภาย
นอกโดยการพาความร้อน และแผ่รังสีด้วยการนำก๊าซร้อนผ่านเข้าไปในท่อเหล็กซึ่งมีความ
ยาวเพียงพอตามปกติท่อเหล็กจะมีรูปร่างเป็นรูปตัว   U   สลับกันไปมาเพื่อประหยัดเนื้อที่และ
ให้ฝุ่นบางส่วนสามารถตกลงได้
                  การทำก๊าซให้เย็นลงจะทำให้ปริมาตรก๊าซเสียลดลง และในวิธีฉีดน้ำ ก๊าซเสียจะ
มีความชื้นเพิ่มขึ้นซึ่งจะช่วยให้ความต้านทานฝุ่นละอองลดลงด้วย
                  ประการสุดท้าย   การเลือกพัดลมและมอเตอร์สำหรับสำก๊าซเสียสู่ระบบมีความ
สำคัญอย่างยิ่งเพราะมีผลต่อประสิทธิภาพในการดักฝุ่นละอองของระบบขจัด
      4.2  ระบบ Venturi Scrubber Systems
          Venturi Scrubber เป็นระบบฉีดดักประสิทธิภาพสูงสามารถดักฝุ่นละออง
ขนาดเล็ก (ต่ำกว่าหนึ่งไมครอน) ได้ในขณะที่ Scrubber ธรรมดาไม่สามารถกระทำได้
หลักการของระบบคือการนำก๊าซเสียผ่านช่องแคล (Venturi) ช่องแคบจะมีลักษณะหน้าตัด
ค่อย ๆ แคบลงจนถึงส่วนที่เป็นคอ (Throat)  ซึ่งเป็นส่วนแคบที่สุด แล้วจึงจะมีหน้าตัด
ค่อย ๆ บานขึ้น ขณะก๊าซเสียผ่านช่องแคบจะมีการฉีดน้ำออกมาในแนวตั้งฉากกับการไหล
ของก๊าซเสีย (ฉีดน้ำด้วยแรงดันปกติ) น้ำเมื่อกระทบกับลำก๊าซซึ่งมีความเร็วสูงในช่องแคบจะ
แตกกระจายเป็นหยดเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งจะทำให้มีโอกาสสัมผัสกับอนุภาคฝุ่นละอองจน
รวมตัวกันได้บางส่วน ขณะที่ก๊าซเสียและละอองน้ำเคลื่อนผ่านหน้าตัดVenturi ซึ่งบานขึ้น
จะยิ่งมีโอกาสรวมตัวกันมากขึ้นเพราะความเร็วลดลง ดังนั้นฝุ่นละอองที่ออกจาก Venturi
จะมีขนาดและน้ำหนักเพียงพอที่ง่ายในการขจัดโดยอาศัยระบบขจัดแบบธรรมดา เช่น ไซโคลน
               แรงดันลดที่เกิดใน Venturi   ขึ้นกับความเร็วก๊าซในช่องแคบและปริมาณน้ำฉีด
ในการขจัดฝุ่นละอองขนาดต่าง ๆ กัน จะใช้ความเร็วก๊าซในช่องแคบและปริมาณน้ำฉีดต่างกัน
ฝุ่นละอองยิ่งเล็กมากยิ่งต้องใช้แรงดันมากจึงจะมีประสิทธิภาพ การใช้แรงดันมากจะทำให้
ขนาดหยดน้ำยิ่งเล็กลงและมีโอกาสสัมผัสรวมกัวกับฝุ่นละอองมาก เป็นผลให้มีประสิทธิภาพ
การดักฝุ่นละอองสูง การเพิ่มแรงดันที่ช่องแคบ Venturi กระทำได้โดยเพิ่มความเร็วก๊าซที่
ผ่านคอ (ventrui throat) หรือเพิ่มปริมาณน้ำฉีดอย่างใดปย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างพร้อม
กัน ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันลดและประสิทธิภาพของระบบนี้จะเหมือนกันไม่ว่า
Venturi  scrubber  จะมีรูปร่างอย่างใด
               ระบบฉีดดักแบบ   Venturi นี้ ปกติจะใช้งานที่แรงดันลดประมาณ 15-20 ซม.น้ำ
แล้วแต่คุณลักษณะของฝุ่นละออง และใช้ปริมาณน้ำฉีดประมาณ 0.2-1.25 ลิตร/วินาทีต่อก๊าซ
1ม3/วินาที ประสิทธิภาพมากว่า 99% สำหรับฝุ่นละอองขนาดเกิน 1 ไมครอน และ
ประมาณ 90-99% สำหรับฝุ่นละอองขนาดต่ำกว่า 1 ไมครอน
                ฝุ่นละอองที่สัมผัสรวมตัวกับหยดน้ำจนมีขนาดใหญ่ขึ้นจะถูกแยกออกจากอากาศ
โดยอาศัยไซโ่คลนส่วนมากจะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกโดยคลอด ก๊าซจาก Venturi จะเข้า
ภาชนะทรงกระบอกในแนวเส้นสัมผัสทางส่วนล่าง และจะออกทางด้านบนภาชนะโดยทาง
ออกที่อยู่ในแนวแกนเดียวกัน ส่วนล่างของภาชนะทรงกระบอกจะตีบลงเป็นรูปกรวยเพื่อรอง
รับโคลนตะกอน น้ำและโคลนตะกอนจากไซโคลนจะได้รับการแยกในบ่อตกตะกอนและการ
กรองเพื่อนำน้ำกลับไปใช้ใหม่
               สำหรับก๊าซที่ร้อนมาก ก่อนเข้า Venturi Scrubber จะได้รับการทำให้เย็น
โดยการฉีดน้ำ เมื่อก๊าซนี้ผ่าน Scrubber แล้วจะมีปริมาณไอน้ำปนอยู่มากจะทำให้เปลือง
กำลังพัดลมและอาจทำให้พัดลมสึกกร่อนเร็วได้ จึงอาจติดตั้งระบบขจัดความชื้นและลด
อุณหภูมิหลังจากก๊าซผ่านไซโคลนแล้วเพื่อลดความชื้นและปริมาตรของก๊าซก่อนผ่านพัดลม
ระบบลดความชื้นและอุณหภูมิอาจเป็นระบบ Spray and baffle หรือ sieve plate
column หรือ bubble cap column ก็ได้
                 ระบบฉีดดักนี้นอกจากจะใช้ดักฝุ่นละอองขนาดต่ำกว่า 1 ไมครอนได้แล้ว ยัง
สามารถใช้ขจัดละอองกรดทั่วไปรวมทั้งก๊าซ SO2  SO3 ได้ด้วย   ราคาของระบบฉีดดักขึ้น
กับปริมาตรก๊าซเสียแรงดันที่ใช้   วัสดุก่อสร้าง วัสดุเคลือบกั่นสารเคมี ระบบควบคุมพื้นที่หน้า
ตัด Venturi
             อุปกรณ์ทำก๊าซเย็น (quencher) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบฉีดดักนี้มีหลักการ
เหมือนการทำก๊าซให้เย็นโดยการฉีดน้ำทั่วไป แต่ใช้น้ำที่ปริมาณมากเกินพอ ดังนั้นจึงไม่ต้อง
มีหัวฉีด หรือชุดควบคุมปริมาณน้ำฉีดแบบอัตโนมัติแต่อย่างใด จุดประสงค์ของการทำก๊าซเย็น
โดยรวดเร็วก็เพื่ให้ก๊าซมีอุณหภูมิต่ำลงจนถึงจุดอิ่มตัวด้วยไอน้ำและทำหน้าที่ดักฝุ่นขนาดใหญ่
ได้บางส่วน วัสดุที่ใช้สร้างเป็นสวัดุทนกัดกร่อนหรือบุด้วยวัสดุทนไฟและอาจติดตั้งแบบนอน
หรือตั้งก็ได้ ราคาขึ้นกับปริมาตรก๊าซเสียและวัสดุที่ใช้สร้าง
      4.3  ระบบ Fabric Filter System
          การขจัดฝุ่นละอองโดยใช้ผ้ากรองจะมีประสิทธิภาพมากกว่า99%   หากการบำรุง
หรือดูแลรักษาเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ   กีาซเสียที่จะใช้กรองด้วยระบบนี้ได้ต้องเป็นก๊าซแห้ง
ถ้ามีความชื้นปนความชื้นต้องมีสภาพเป็นไอ   โดยหลักการระบบนี้จะประกอบด้วยห้องหลาย
ห้อง แต่ละห้องจะมีถงุกรองอยู่เป็นจำนวนมาก ก๊าซเสียจะถูกดูดเข้ามากรองภายในห้องโดย
อาศัยพื้นที่ผ้ากรอง ฝุ่นจะเกาะที่ผ้ากรอง ขณะที่อากาศจะลอดผ้ากรองได้   ขณะที่การกรอง
ดำเนินไป ฝุ่นจะเกาะผ้ากรองเพิ่มขึ้นทำให้เกิดแรงดันลดสูงขึ้นจนถึงเวลาที่ตั้งไว้   ห้องนี้จะถูก
ปิดไม่มีการกรองฝุ่นชั่วคราว ฝุ่นที่เกาะตามผิวผ้ากรองจะตกลงสู่เบื้องล่าง (hopper) ด้วย
วิธีการต่าง ๆ ดังจะได้กล่าวต่อไป
              การแบ่งแยกประเภทของระบบกรองด้วยผ้า มักจะแบ่งตามวิธีหรือความถี่ในการทำ
ให้ฝุ่นละอองตกจากผ้ากรอง อาจแบ่งออกเป็นแบบสั่นเขย่า, แบบลมหวน, แบบคลื่นลมอัด
(shaker, reverse, pulse)
              - วิธีสั่นเขม่าอาศัยมอเตอรืพร้อมลูกเบี้ยวเป็นอุปกรณ์ทำให้ชุดถุงผ้าที่แขวนไว้สั่น
เขย่าเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ ระบบกรองจะอยู่ในห้องหลายชุด (compartments)
แต่ละห้องสามารถผิดวาล์วผีเสื้อให้ก๊าซเสียหยุดไหลผ่านเพื่อทำการสั่นเขย่าให้ฝุ่นตกจากถุง
ผ้า
              - ระบบสั่นเขย่าทำให้เกิดแรงดังที่ถุง จึงต้องใช้ถุงที่หนาและแข็งแรงเพื่อมิให้เกิด
การฉีกขาดง่าย
              - วิธีใช้ลมหวนกลับ (Reverse air) ต้องปิดวาล์วไม่ให้ก๊าซเสียผ่านห้องแล้ว
อัดลมด้วยพัดลมขนาดเล็กในทิศทางสวนกั่นเพื่อให้ฝุ่นตกลงจากถุง ในบางครั้งอาจใช้แรงดัน
ของห้องกรองที่แตกต่างกันเป็นตัวไล่ฝุ่นให้ตกจากถุง วิธีนี้สามารถใช้กับถุงที่ฉีกขาดง่าย เช่น
ผ้าทอจากใยแก้ว เป็นต้น
               - วิธีใช้คลื่นลมอัด (pulse jet)   อาศัยการอัดลมลงไปภายในถุง วิธีนี้ถุงจะหงาย
ขึ้นฝุ่นจะเกาะอยู่นอกถุงกรอง ลมอัดมีแรงดัน 50-100 psi ระยะเวลาที่อัดลมสั้นมากประมาณ
1/10 วินาที จะทำให้เกิดคลื่นที่ถุงคลื่นที่ถุงเคลื่อนที่จากบนลงล่างอย่างรวดเร็ว ทำให้ฝุ่นล่วง
จากผนังถุผ้าได้ ดังนั้น ภายในถุงผ้าจึงต้องมีโครงเหล็กสแตนเลสรองรับถุงผ้าไว้ โดยทั่วไป
ระบบกรองฝุ่นที่ใช้คลื่นลมอัดถุงจะไม่สร้างห้องกรองโดยแบ่งออกเป็นห้องเล็ก ๆ หลายห้อง
เหมือนระบบกรองแบบสั่นเขย่าแต่จะใช้วิธีอัดลมเข้าถุทีละแถวสลับกันไป โดยวิธีนี้ถุงกรอง
สามารถรับปริมาณอากาศเสียได้สูง   และสัดส่วนระบบทั้งหมดจะเล็กลง
         4.2  ระบบ Venturi Scrubber Systems
          Venturi Scrubber เป็นระบบฉีดดักประสิทธิภาพสูงสามารถดักฝุ่นละออง
ขนาดเล็ก (ต่ำกว่าหนึ่งไมครอน) ได้ในขณะที่ Scrubber ธรรมดาไม่สามารถกระทำได้
หลักการของระบบคือการนำก๊าซเสียผ่านช่องแคล (Venturi) ช่องแคบจะมีลักษณะหน้าตัด
ค่อย ๆ แคบลงจนถึงส่วนที่เป็นคอ (Throat)  ซึ่งเป็นส่วนแคบที่สุด แล้วจึงจะมีหน้าตัด
ค่อย ๆ บานขึ้น ขณะก๊าซเสียผ่านช่องแคบจะมีการฉีดน้ำออกมาในแนวตั้งฉากกับการไหล
ของก๊าซเสีย (ฉีดน้ำด้วยแรงดันปกติ) น้ำเมื่อกระทบกับลำก๊าซซึ่งมีความเร็วสูงในช่องแคบจะ
แตกกระจายเป็นหยดเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งจะทำให้มีโอกาสสัมผัสกับอนุภาคฝุ่นละอองจน
รวมตัวกันได้บางส่วน ขณะที่ก๊าซเสียและละอองน้ำเคลื่อนผ่านหน้าตัดVenturi ซึ่งบานขึ้น
จะยิ่งมีโอกาสรวมตัวกันมากขึ้นเพราะความเร็วลดลง ดังนั้นฝุ่นละอองที่ออกจาก Venturi
จะมีขนาดและน้ำหนักเพียงพอที่ง่ายในการขจัดโดยอาศัยระบบขจัดแบบธรรมดา เช่น ไซโคลน
               แรงดันลดที่เกิดใน Venturi   ขึ้นกับความเร็วก๊าซในช่องแคบและปริมาณน้ำฉีด
ในการขจัดฝุ่นละอองขนาดต่าง ๆ กัน จะใช้ความเร็วก๊าซในช่องแคบและปริมาณน้ำฉีดต่างกัน
ฝุ่นละอองยิ่งเล็กมากยิ่งต้องใช้แรงดันมากจึงจะมีประสิทธิภาพ การใช้แรงดันมากจะทำให้
ขนาดหยดน้ำยิ่งเล็กลงและมีโอกาสสัมผัสรวมกัวกับฝุ่นละอองมาก เป็นผลให้มีประสิทธิภาพ
การดักฝุ่นละอองสูง การเพิ่มแรงดันที่ช่องแคบ Venturi กระทำได้โดยเพิ่มความเร็วก๊าซที่
ผ่านคอ (ventrui throat) หรือเพิ่มปริมาณน้ำฉีดอย่างใดปย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างพร้อม
กัน ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันลดและประสิทธิภาพของระบบนี้จะเหมือนกันไม่ว่า
Venturi  scrubber  จะมีรูปร่างอย่างใด
               ระบบฉีดดักแบบ   Venturi นี้ ปกติจะใช้งานที่แรงดันลดประมาณ 15-20 ซม.น้ำ
แล้วแต่คุณลักษณะของฝุ่นละออง และใช้ปริมาณน้ำฉีดประมาณ 0.2-1.25 ลิตร/วินาทีต่อก๊าซ
1ม3/วินาที ประสิทธิภาพมากว่า 99% สำหรับฝุ่นละอองขนาดเกิน 1 ไมครอน และ
ประมาณ 90-99% สำหรับฝุ่นละอองขนาดต่ำกว่า 1 ไมครอน
                ฝุ่นละอองที่สัมผัสรวมตัวกับหยดน้ำจนมีขนาดใหญ่ขึ้นจะถูกแยกออกจากอากาศ
โดยอาศัยไซโ่คลนส่วนมากจะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกโดยคลอด ก๊าซจาก Venturi จะเข้า
ภาชนะทรงกระบอกในแนวเส้นสัมผัสทางส่วนล่าง และจะออกทางด้านบนภาชนะโดยทาง
ออกที่อยู่ในแนวแกนเดียวกัน ส่วนล่างของภาชนะทรงกระบอกจะตีบลงเป็นรูปกรวยเพื่อรอง
รับโคลนตะกอน น้ำและโคลนตะกอนจากไซโคลนจะได้รับการแยกในบ่อตกตะกอนและการ
กรองเพื่อนำน้ำกลับไปใช้ใหม่
               สำหรับก๊าซที่ร้อนมาก ก่อนเข้า Venturi Scrubber จะได้รับการทำให้เย็น
โดยการฉีดน้ำ เมื่อก๊าซนี้ผ่าน Scrubber แล้วจะมีปริมาณไอน้ำปนอยู่มากจะทำให้เปลือง
กำลังพัดลมและอาจทำให้พัดลมสึกกร่อนเร็วได้ จึงอาจติดตั้งระบบขจัดความชื้นและลด
อุณหภูมิหลังจากก๊าซผ่านไซโคลนแล้วเพื่อลดความชื้นและปริมาตรของก๊าซก่อนผ่านพัดลม
ระบบลดความชื้นและอุณหภูมิอาจเป็นระบบ Spray and baffle หรือ sieve plate
column หรือ bubble cap column ก็ได้
                 ระบบฉีดดักนี้นอกจากจะใช้ดักฝุ่นละอองขนาดต่ำกว่า 1 ไมครอนได้แล้ว ยัง
สามารถใช้ขจัดละอองกรดทั่วไปรวมทั้งก๊าซ SO2  SO3 ได้ด้วย   ราคาของระบบฉีดดักขึ้น
กับปริมาตรก๊าซเสียแรงดันที่ใช้   วัสดุก่อสร้าง วัสดุเคลือบกั่นสารเคมี ระบบควบคุมพื้นที่หน้า
ตัด Venturi
             อุปกรณ์ทำก๊าซเย็น (quencher) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบฉีดดักนี้มีหลักการ
เหมือนการทำก๊าซให้เย็นโดยการฉีดน้ำทั่วไป แต่ใช้น้ำที่ปริมาณมากเกินพอ ดังนั้นจึงไม่ต้อง
มีหัวฉีด หรือชุดควบคุมปริมาณน้ำฉีดแบบอัตโนมัติแต่อย่างใด จุดประสงค์ของการทำก๊าซเย็น
โดยรวดเร็วก็เพื่ให้ก๊าซมีอุณหภูมิต่ำลงจนถึงจุดอิ่มตัวด้วยไอน้ำและทำหน้าที่ดักฝุ่นขนาดใหญ่
ได้บางส่วน วัสดุที่ใช้สร้างเป็นสวัดุทนกัดกร่อนหรือบุด้วยวัสดุทนไฟและอาจติดตั้งแบบนอน
หรือตั้งก็ได้ ราคาขึ้นกับปริมาตรก๊าซเสียและวัสดุที่ใช้สร้าง
      4.3  ระบบ Fabric Filter System
          การขจัดฝุ่นละอองโดยใช้ผ้ากรองจะมีประสิทธิภาพมากกว่า99%   หากการบำรุง
หรือดูแลรักษาเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ   กีาซเสียที่จะใช้กรองด้วยระบบนี้ได้ต้องเป็นก๊าซแห้ง
ถ้ามีความชื้นปนความชื้นต้องมีสภาพเป็นไอ   โดยหลักการระบบนี้จะประกอบด้วยห้องหลาย
ห้อง แต่ละห้องจะมีถงุกรองอยู่เป็นจำนวนมาก ก๊าซเสียจะถูกดูดเข้ามากรองภายในห้องโดย
อาศัยพื้นที่ผ้ากรอง ฝุ่นจะเกาะที่ผ้ากรอง ขณะที่อากาศจะลอดผ้ากรองได้   ขณะที่การกรอง
ดำเนินไป ฝุ่นจะเกาะผ้ากรองเพิ่มขึ้นทำให้เกิดแรงดันลดสูงขึ้นจนถึงเวลาที่ตั้งไว้   ห้องนี้จะถูก
ปิดไม่มีการกรองฝุ่นชั่วคราว ฝุ่นที่เกาะตามผิวผ้ากรองจะตกลงสู่เบื้องล่าง (hopper) ด้วย
วิธีการต่าง ๆ ดังจะได้กล่าวต่อไป
              การแบ่งแยกประเภทของระบบกรองด้วยผ้า มักจะแบ่งตามวิธีหรือความถี่ในการทำ
ให้ฝุ่นละอองตกจากผ้ากรอง อาจแบ่งออกเป็นแบบสั่นเขย่า, แบบลมหวน, แบบคลื่นลมอัด
(shaker, reverse, pulse)
              - วิธีสั่นเขม่าอาศัยมอเตอรืพร้อมลูกเบี้ยวเป็นอุปกรณ์ทำให้ชุดถุงผ้าที่แขวนไว้สั่น
เขย่าเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ ระบบกรองจะอยู่ในห้องหลายชุด (compartments)
แต่ละห้องสามารถผิดวาล์วผีเสื้อให้ก๊าซเสียหยุดไหลผ่านเพื่อทำการสั่นเขย่าให้ฝุ่นตกจากถุง
ผ้า
              - ระบบสั่นเขย่าทำให้เกิดแรงดังที่ถุง จึงต้องใช้ถุงที่หนาและแข็งแรงเพื่อมิให้เกิด
การฉีกขาดง่าย
              - วิธีใช้ลมหวนกลับ (Reverse air) ต้องปิดวาล์วไม่ให้ก๊าซเสียผ่านห้องแล้ว
อัดลมด้วยพัดลมขนาดเล็กในทิศทางสวนกั่นเพื่อให้ฝุ่นตกลงจากถุง ในบางครั้งอาจใช้แรงดัน
ของห้องกรองที่แตกต่างกันเป็นตัวไล่ฝุ่นให้ตกจากถุง วิธีนี้สามารถใช้กับถุงที่ฉีกขาดง่าย เช่น
ผ้าทอจากใยแก้ว เป็นต้น
               - วิธีใช้คลื่นลมอัด (pulse jet)   อาศัยการอัดลมลงไปภายในถุง วิธีนี้ถุงจะหงาย
ขึ้นฝุ่นจะเกาะอยู่นอกถุงกรอง ลมอัดมีแรงดัน 50-100 psi ระยะเวลาที่อัดลมสั้นมากประมาณ
1/10 วินาที จะทำให้เกิดคลื่นที่ถุงคลื่นที่ถุงเคลื่อนที่จากบนลงล่างอย่างรวดเร็ว ทำให้ฝุ่นล่วง
จากผนังถุผ้าได้ ดังนั้น ภายในถุงผ้าจึงต้องมีโครงเหล็กสแตนเลสรองรับถุงผ้าไว้ โดยทั่วไป
ระบบกรองฝุ่นที่ใช้คลื่นลมอัดถุงจะไม่สร้างห้องกรองโดยแบ่งออกเป็นห้องเล็ก ๆ หลายห้อง
เหมือนระบบกรองแบบสั่นเขย่าแต่จะใช้วิธีอัดลมเข้าถุทีละแถวสลับกันไป โดยวิธีนี้ถุงกรอง
สามารถรับปริมาณอากาศเสียได้สูง   และสัดส่วนระบบทั้งหมดจะเล็กลง
         4.2  ระบบ Venturi Scrubber Systems
          Venturi Scrubber เป็นระบบฉีดดักประสิทธิภาพสูงสามารถดักฝุ่นละออง
ขนาดเล็ก (ต่ำกว่าหนึ่งไมครอน) ได้ในขณะที่ Scrubber ธรรมดาไม่สามารถกระทำได้
หลักการของระบบคือการนำก๊าซเสียผ่านช่องแคล (Venturi) ช่องแคบจะมีลักษณะหน้าตัด
ค่อย ๆ แคบลงจนถึงส่วนที่เป็นคอ (Throat)  ซึ่งเป็นส่วนแคบที่สุด แล้วจึงจะมีหน้าตัด
ค่อย ๆ บานขึ้น ขณะก๊าซเสียผ่านช่องแคบจะมีการฉีดน้ำออกมาในแนวตั้งฉากกับการไหล
ของก๊าซเสีย (ฉีดน้ำด้วยแรงดันปกติ) น้ำเมื่อกระทบกับลำก๊าซซึ่งมีความเร็วสูงในช่องแคบจะ
แตกกระจายเป็นหยดเล็ก ๆ จำนวนมาก ซึ่งจะทำให้มีโอกาสสัมผัสกับอนุภาคฝุ่นละอองจน
รวมตัวกันได้บางส่วน ขณะที่ก๊าซเสียและละอองน้ำเคลื่อนผ่านหน้าตัดVenturi ซึ่งบานขึ้น
จะยิ่งมีโอกาสรวมตัวกันมากขึ้นเพราะความเร็วลดลง ดังนั้นฝุ่นละอองที่ออกจาก Venturi
จะมีขนาดและน้ำหนักเพียงพอที่ง่ายในการขจัดโดยอาศัยระบบขจัดแบบธรรมดา เช่น ไซโคลน
               แรงดันลดที่เกิดใน Venturi   ขึ้นกับความเร็วก๊าซในช่องแคบและปริมาณน้ำฉีด
ในการขจัดฝุ่นละอองขนาดต่าง ๆ กัน จะใช้ความเร็วก๊าซในช่องแคบและปริมาณน้ำฉีดต่างกัน
ฝุ่นละอองยิ่งเล็กมากยิ่งต้องใช้แรงดันมากจึงจะมีประสิทธิภาพ การใช้แรงดันมากจะทำให้
ขนาดหยดน้ำยิ่งเล็กลงและมีโอกาสสัมผัสรวมกัวกับฝุ่นละอองมาก เป็นผลให้มีประสิทธิภาพ
การดักฝุ่นละอองสูง การเพิ่มแรงดันที่ช่องแคบ Venturi กระทำได้โดยเพิ่มความเร็วก๊าซที่
ผ่านคอ (ventrui throat) หรือเพิ่มปริมาณน้ำฉีดอย่างใดปย่างหนึ่งหรือทั้งสองอย่างพร้อม
กัน ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันลดและประสิทธิภาพของระบบนี้จะเหมือนกันไม่ว่า
Venturi  scrubber  จะมีรูปร่างอย่างใด
               ระบบฉีดดักแบบ   Venturi นี้ ปกติจะใช้งานที่แรงดันลดประมาณ 15-20 ซม.น้ำ
แล้วแต่คุณลักษณะของฝุ่นละออง และใช้ปริมาณน้ำฉีดประมาณ 0.2-1.25 ลิตร/วินาทีต่อก๊าซ
1ม3/วินาที ประสิทธิภาพมากว่า 99% สำหรับฝุ่นละอองขนาดเกิน 1 ไมครอน และ
ประมาณ 90-99% สำหรับฝุ่นละอองขนาดต่ำกว่า 1 ไมครอน
                ฝุ่นละอองที่สัมผัสรวมตัวกับหยดน้ำจนมีขนาดใหญ่ขึ้นจะถูกแยกออกจากอากาศ
โดยอาศัยไซโ่คลนส่วนมากจะมีรูปร่างเป็นทรงกระบอกโดยคลอด ก๊าซจาก Venturi จะเข้า
ภาชนะทรงกระบอกในแนวเส้นสัมผัสทางส่วนล่าง และจะออกทางด้านบนภาชนะโดยทาง
ออกที่อยู่ในแนวแกนเดียวกัน ส่วนล่างของภาชนะทรงกระบอกจะตีบลงเป็นรูปกรวยเพื่อรอง
รับโคลนตะกอน น้ำและโคลนตะกอนจากไซโคลนจะได้รับการแยกในบ่อตกตะกอนและการ
กรองเพื่อนำน้ำกลับไปใช้ใหม่
               สำหรับก๊าซที่ร้อนมาก ก่อนเข้า Venturi Scrubber จะได้รับการทำให้เย็น
โดยการฉีดน้ำ เมื่อก๊าซนี้ผ่าน Scrubber แล้วจะมีปริมาณไอน้ำปนอยู่มากจะทำให้เปลือง
กำลังพัดลมและอาจทำให้พัดลมสึกกร่อนเร็วได้ จึงอาจติดตั้งระบบขจัดความชื้นและลด
อุณหภูมิหลังจากก๊าซผ่านไซโคลนแล้วเพื่อลดความชื้นและปริมาตรของก๊าซก่อนผ่านพัดลม
ระบบลดความชื้นและอุณหภูมิอาจเป็นระบบ Spray and baffle หรือ sieve plate
column หรือ bubble cap column ก็ได้
                 ระบบฉีดดักนี้นอกจากจะใช้ดักฝุ่นละอองขนาดต่ำกว่า 1 ไมครอนได้แล้ว ยัง
สามารถใช้ขจัดละอองกรดทั่วไปรวมทั้งก๊าซ SO2  SO3 ได้ด้วย   ราคาของระบบฉีดดักขึ้น
กับปริมาตรก๊าซเสียแรงดันที่ใช้   วัสดุก่อสร้าง วัสดุเคลือบกั่นสารเคมี ระบบควบคุมพื้นที่หน้า
ตัด Venturi
             อุปกรณ์ทำก๊าซเย็น (quencher) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบบฉีดดักนี้มีหลักการ
เหมือนการทำก๊าซให้เย็นโดยการฉีดน้ำทั่วไป แต่ใช้น้ำที่ปริมาณมากเกินพอ ดังนั้นจึงไม่ต้อง
มีหัวฉีด หรือชุดควบคุมปริมาณน้ำฉีดแบบอัตโนมัติแต่อย่างใด จุดประสงค์ของการทำก๊าซเย็น
โดยรวดเร็วก็เพื่ให้ก๊าซมีอุณหภูมิต่ำลงจนถึงจุดอิ่มตัวด้วยไอน้ำและทำหน้าที่ดักฝุ่นขนาดใหญ่
ได้บางส่วน วัสดุที่ใช้สร้างเป็นสวัดุทนกัดกร่อนหรือบุด้วยวัสดุทนไฟและอาจติดตั้งแบบนอน
หรือตั้งก็ได้ ราคาขึ้นกับปริมาตรก๊าซเสียและวัสดุที่ใช้สร้าง
      4.3  ระบบ Fabric Filter System
          การขจัดฝุ่นละอองโดยใช้ผ้ากรองจะมีประสิทธิภาพมากกว่า99%   หากการบำรุง
หรือดูแลรักษาเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ   กีาซเสียที่จะใช้กรองด้วยระบบนี้ได้ต้องเป็นก๊าซแห้ง
ถ้ามีความชื้นปนความชื้นต้องมีสภาพเป็นไอ   โดยหลักการระบบนี้จะประกอบด้วยห้องหลาย
ห้อง แต่ละห้องจะมีถงุกรองอยู่เป็นจำนวนมาก ก๊าซเสียจะถูกดูดเข้ามากรองภายในห้องโดย
อาศัยพื้นที่ผ้ากรอง ฝุ่นจะเกาะที่ผ้ากรอง ขณะที่อากาศจะลอดผ้ากรองได้   ขณะที่การกรอง
ดำเนินไป ฝุ่นจะเกาะผ้ากรองเพิ่มขึ้นทำให้เกิดแรงดันลดสูงขึ้นจนถึงเวลาที่ตั้งไว้   ห้องนี้จะถูก
ปิดไม่มีการกรองฝุ่นชั่วคราว ฝุ่นที่เกาะตามผิวผ้ากรองจะตกลงสู่เบื้องล่าง (hopper) ด้วย
วิธีการต่าง ๆ ดังจะได้กล่าวต่อไป
              การแบ่งแยกประเภทของระบบกรองด้วยผ้า มักจะแบ่งตามวิธีหรือความถี่ในการทำ
ให้ฝุ่นละอองตกจากผ้ากรอง อาจแบ่งออกเป็นแบบสั่นเขย่า, แบบลมหวน, แบบคลื่นลมอัด
(shaker, reverse, pulse)
              - วิธีสั่นเขม่าอาศัยมอเตอรืพร้อมลูกเบี้ยวเป็นอุปกรณ์ทำให้ชุดถุงผ้าที่แขวนไว้สั่น
เขย่าเป็นระยะเวลาที่กำหนดไว้ ระบบกรองจะอยู่ในห้องหลายชุด (compartments)
แต่ละห้องสามารถผิดวาล์วผีเสื้อให้ก๊าซเสียหยุดไหลผ่านเพื่อทำการสั่นเขย่าให้ฝุ่นตกจากถุง
ผ้า
              - ระบบสั่นเขย่าทำให้เกิดแรงดังที่ถุง จึงต้องใช้ถุงที่หนาและแข็งแรงเพื่อมิให้เกิด
การฉีกขาดง่าย
              - วิธีใช้ลมหวนกลับ (Reverse air) ต้องปิดวาล์วไม่ให้ก๊าซเสียผ่านห้องแล้ว
อัดลมด้วยพัดลมขนาดเล็กในทิศทางสวนกั่นเพื่อให้ฝุ่นตกลงจากถุง ในบางครั้งอาจใช้แรงดัน
ของห้องกรองที่แตกต่างกันเป็นตัวไล่ฝุ่นให้ตกจากถุง วิธีนี้สามารถใช้กับถุงที่ฉีกขาดง่าย เช่น
ผ้าทอจากใยแก้ว เป็นต้น
               - วิธีใช้คลื่นลมอัด (pulse jet)   อาศัยการอัดลมลงไปภายในถุง วิธีนี้ถุงจะหงาย
ขึ้นฝุ่นจะเกาะอยู่นอกถุงกรอง ลมอัดมีแรงดัน 50-100 psi ระยะเวลาที่อัดลมสั้นมากประมาณ
1/10 วินาที จะทำให้เกิดคลื่นที่ถุงคลื่นที่ถุงเคลื่อนที่จากบนลงล่างอย่างรวดเร็ว ทำให้ฝุ่นล่วง
จากผนังถุผ้าได้ ดังนั้น ภายในถุงผ้าจึงต้องมีโครงเหล็กสแตนเลสรองรับถุงผ้าไว้ โดยทั่วไป
ระบบกรองฝุ่นที่ใช้คลื่นลมอัดถุงจะไม่สร้างห้องกรองโดยแบ่งออกเป็นห้องเล็ก ๆ หลายห้อง
เหมือนระบบกรองแบบสั่นเขย่าแต่จะใช้วิธีอัดลมเข้าถุทีละแถวสลับกันไป โดยวิธีนี้ถุงกรอง
สามารถรับปริมาณอากาศเสียได้สูง   และสัดส่วนระบบทั้งหมดจะเล็กลง
           ระบบดักฝุ่นโดยการกรอง อาจแบ่งเป็นชนิดต่าง ๆ โดยถือตามการใช้งานและระยะ
เวลาความถี่ในการไล่ฝุ่นออกจากผ้ากรอง ซึ่งจะแบ่งเป็นการไล่ฝุ่นแบบกะ และแบบต่อเนื่อง
การไล่ฝุ่นจากผ้ากรองแบบกะจะต้องปิดสวิซท์หยุดกระแสก๊าซไม่ให้ผ่านระบบแล้วจึงจะ
เริ่มไล่ฝุ่นจากผ้ากรองด้วยวิธีต่าง ๆ ดังได้กล่าวแล้ว วิธีนี้ส่วนมากจะทำวันละครั้งและเหมาะ
สมกับก๊าซที่มีปริมาณฝุ่นไม่มากนัก ส่วนการไล่ฝุ่นจากผ้ากรองแบบต่อเนื่องนั้นจะแบ่งห้อง
กรองออกเป็นหลายห้อง เมื่อห้องหนึ่งห้องใดหยุดกรองเพื่อทำการไล่ฝุ่นที่ติดผ้ากรองออก
ห้องอื่น ๆ จะทำหน้าที่กรองก๊าซสลับกันไปเช่นนี้ ราคาของระบบดักฝุ่นที่ไล่ฝุ่นจากผ้ากรอง
แบบต่อเนื่องจึงแพงกว่าเพราะต้องมีพื้นที่กรองมาก และต้องมีอุปกรณ์ประกอบสำหรับปิดเปิด
วาล์วและไล่ฝุ่นจากถุงผ้า
             การวางพัดลมไว้ก่อนระบบกรองหรือหลังระบบกรองมีทั้งข้อดีข้อเสียต่าง ๆ กัน ข้อดี
ของการวางพัดลมไว้ท้ายสุด (หลังระบบ) คือ พัดลมมีโอกาสสึกหรอจากฝุ่นน้อยมากทำให้
เลือกใช้พัดลมชนิดประสิทธิภาพสูง (เช่น backward curve blade) ได้ และหากฝุ่น
ละอองในก๊าซเสียเป็นสารมีพิษก็จะมีความปลอดภัยถึงแม้ระบบท่อ ห้องกรองจะเกิดการรั่ว
ไหล ส่วนข้อเสียคือแรงดันภายในห้องกรองลดน้อยลงกว่าแรงดันบรรยากาศ ทำให้ต้องเสริม
โครงเหล็กด้านนอกเพื่อกันการยุบตัวของผนังห้องนอกจากนี้การที่ทางออกของลมจากห้อง
กรองแต่ละห้องไปอยู่รวมกันจะทำให้ยากแก่การตรวจสอบว่าห้องใดมีถุงฉีกขาดอยู่บ้าง
              การวางพัดลมอยู่หน้าระบบมีข้อดีคือ ผนังห้องของระบบสามารถรับแรงอัดได้สูง
ทางออกของก๊าซที่ผ่านการกรองแล้วแยกกัน สามารถตรวจสอบดูว่าห้องกรองห้องใดที่มีถุง
ฉีกขาดอยู่ ราคาและค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาจึงต่ำกว่าชนิดพัดลมอยู่หลังระบบ ข้อเสียของ
การติดตั้งพัดลมอยู่หน้าระบบคือฝุ่นละอองในก๊าซเสียจะทำให้พัดลมสึกกร่อนเสียหายเร็ว
              การออกแบบและก่อสร้างระบบดักฝุ่นแบบถุงกรอง มีทั้งแบบ module สำเร็จรูป
และแบบทำตามสั่ง (custom desigen)   แบบแรกเป็นแบบที่สามารถนำมาต่อกันเป็น
แถวเพื่อรับปริมาณก๊าซเสียให้ได้มาก การเปลี่ยนถุงกรองจะกระทำทีละmodule ส่วนแบบ
หลังเป็นแบบที่มีข้อดีหลายประการแม้ราคาจะสูงกว่า เหมาะสำหรับปริมาณก๊าซเสียมาก ๆ
การออกแบบจะเน้นให้ง่ายต่อการบำรุงรักษาสะดวกต่อการเปลี่ยนถุงกรองทีละถุงได้ แนวโน้ม
ในต่างประเทศขณะนี้นิยมออกแบบสร้างสำเร็จรูปแล้วค่อยนำไปติดตั้งที่โรงงาน การออกแบบ
จะเน้นให้ดูแลรักษาได้ง่ายด้วย
              ในการเลือกชนิดผ้ากรองที่จะใช้ในระบบ ต้องคำนึงถึงส่วนประกอบทางเคมีของก๊าซ
เสียอุณหภูมิใช้งาน ปริมาณฝุ่นละอองในก๊าซเสีย คุณสมบัติทางเคมีและกายภาพของมลสาร
ในก๊าซเสียรูปแบบของเนื้อผ้ามีนานาชนิด การเลือกใช้ต้องอาศัยประสบการณ์ของผู้อื่น
              ชนิดของผ้าจะเป็นตัวกำหนดว่าจะใช้วิธีใดในการทำให้ฝุ่นหลุดจากผ้ากรอง ตาม
ปกติจะใช้ felted fabrios กับ pulse jet cleaning ส่วน woven fabrics จะใช้
ใน mechanical shaker หรือ reverse air cleaning นอกจากนี้ต้องคำนึงถึงชนิด
เส้นใยด้วยก่อนจะเลือกใช้ในระบบ shaking หรือ reverse air
           ผ้ากรองชนิดต่าง ๆ จะใช้งานได้ในช่วงอุณหภูมิต่าง ๆ กัน อุณหภูมิของก๊าซเสีย
ต้องไม่เกินอุณหกูมิเหล่านี้ด้วย
            ผ้าฝ้าย   (Cotton)                       :    80 ํ c
           โพลี่โปรพิลีน   (PP)                    :    80 ํ c
          ไนลอน  (Nylon)                        :    95 ํ c      
           อครีลิก   (Acrylic)                     :    135 ํc 
           โพลีเอสเตอร์   (Polyester)         :   135 ํ c
           โนเมกซ์   (Nomex)                   :    220 ํ c
           เทฟลอน   (Teflon)                    :    260 ํ c
           ใยแก้ว   (Fiber Glass)             :    270 ํ c 
            อัตราการกรองที่เรียกว่า air-to-cloth ratio มีหน่วยเป็นปริมาตรก๊าซก่อเวลา
ต่อพื้นที่ผ้ากรอง เมื่อคูณหารหน่วยออกมาแล้วจะเป็นหน่วยของความเร็ว จึงอาจเรียกได้อีก
อย่างหนึ่งว่า filtering veloxity ค่านี้จะเป็นตัวกำหนดราคา ขนาด และ cleaning
methods ของระบบนอกจากนี้ราคาของระบบยังขึ้นกับชนิดผ้ากรอง วัสดุก่อสร้าง ระบบ
ใช้งานแบบกะหรือต่อเนื่องการวางพัดลมไว้หน้า-หลังระบบ การออกแบบ ทำขายสำเร็จรูป/
ทำตามสั่ง 
      4.4  ระบบ  Thermal  and   Catalytic  Incineration
           ระบบเผาไหม้ใช้กับก๊าซเสีย ไอระเหย อนุภาค ที่สามารถเผาไหม้ได้ ระบบนี้ใน
ต่างประเทศเป็นที่นิยมใช้เผาทำลายกลิ่น ลดความดำของควันจากเตาเผ่าต่าง ๆ หลังการคือ
การรวบรวมก๊าซเสียดูดไปตามท่อเข้าสู่ห้องเผาไหม้ ซึ่งอาจมีตัวเร่งปฏิกริยาช่วย หรือเผาโดย
ตรง ผลจากการเผาไหม้ที่สมบูรณ์จะได้น้ำและคาร์บอนไดออกไซด์ สามารถออกแบบระบบ
เผาไหม้โดยตรงได้ง่ายกว่าระบบมีตัวเร่งปฏิกริยา ระบบเผาไหม้โดยตรงยังง่ายต่อการใช้งาน
แต่ระบบที่มีตัวเร่งปฏิกริยาช่วยจะเผาไหม้ที่อุณหภูมิไม่สูงเกินไป ทำให้ประหยัดเชื้อเพลิง
กว่า (ใช้อุณหภูมิ 340-650 c เทียบกับเผาโดยตรงที่ 450-980 c)
           หลักการของการสัดาปคือ Time, Temperature, Turbulenece &
mixing ในการเผาไหม้โดยตรงซึ่งใช้เชื้อเพลิงมาก ควรจะหาทางนำความร้อนกลับมาใช้เพื่อ
ทุ่นค่าใช้จ่าย ระบบเผาโดยอาศัยตัวเร่งปฏิกริยาช่วยมีขีดจำกัดในการใช้คือ อาจเกิดการเสีย
หายต่อระบบ เนื่องจากอนุภาคฝุ่น หรือพิษจากโลหะต่าง ๆ เช่น สังกะสี ตะกั่ว ดีบุก เป็นต้น
ดังนั้นอาจกล่าวโดยสรุปได้ว่าหากก๊าซเสียเป็นพวก fumes และ smokes ควรใช้การเผา
ไหม้แบบเผาโดยตรงหากก๊าซเสียเป็นพวกไอระเหยสารอินทรีย์หรือ solvents ควรมีใช้
การเผาไหม้แบบ catalytic ineineration
           ราคาของระบบเผาไหม้ขึ้นกับปริมาณก๊าซเสีย ออกแบบสำเร็จรูป/สั่งทำ และมี
อุปกรณ์เก็บความร้อนมาใช้อีกหรือไม่
      4.5  ระบบ  adsorption
           ระบบดูดซับส่วนใหญ่จะใช้ดูดซับสารอินทรีย์ทั้งเป็นละอองและไอออกจากก๊าซ
เสีย มลสารจะถูกดูดซับทั้งโดยทางกายภาพและทางเคมี หลักการทำงานของตัวดูดซับบางตัว
ยังไม่เป็นที่เข้าใจ
           โดยทั่วไประบบนี้จะประกอบด้วยภาชนะใส่สารดูดซับไว้ 2 ชุด เพื่อสลับกันทำงาน
และผ่านขบวนการ Regeneration สารดูดซับที่อิ่มตัวจะทำให้มีสภาพใช้งานได้ใหม่โดย
การให้ความร้อนเพื่อไล่มลสารออก
            ก๊าซเสียที่มีอนุภาคฝุ่นละอองปนจะทำให้ชั้นสารดูดซับอุดตันได้ จึงจำเป็นต้อง
กำจัดอนุภาคให้หมดเสียก่อนที่จะนำก๊าซผ่านชั้นสารดูดซับ ปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยอีกประการ
หนึ่งคือ การกัดกร่อนที่ตัวระบบซึ่งมักเกิดขึ้นเพราะขบวนการ Regeneration
                สารดูดซับที่ใช้มากคือ ถ่านกัมมันต์หรือ Activated carbon รองลงมาได้แก่
silica gel, bauxite, alumina
            การทำให้ activated carbon มีสภาพใช้งานได้อีก จะใช้ความร้อนจากไอน้ำ
อัดสวนทางกับการไหลของก๊าซเสีย ไอน้ำจะอมมลสารออกมาและแยกมลสารออกโดยการ
ควบแน่น ส่วนชั้นของ activated carbon ต้องทำให้เย็นลงโดยอัดอากาศธรรมดาเข้าไป
ไล่ความร้อน เสร็จแล้วจึงจะนำมาใช้งานได้อีกหากในการทำให้ชั้นสารดูดซับเย็นลงนี้ต้องใช้
เวลามากกว่าเวลาอิ่มตัวของสารดูดซับแล้ว ต้องออกแบบระบบโดยประกอบด้วยภาชนะของ
carbon bed 3 ชุด ชุดแรกทำหน้าที่ดูดซับ ชุดที่ 2 จะกำลัง regenerate ชุดที่ 3 จะ
กำลังทำให้เย็นตัวลง การควบคุมและการใช้งานอาจทำโดยคนงานหรือระบบอัตโนมัติซึ่งค่อน
ข้างยุ่งยากทั้งนั้น
        4.6  การพัฒนาใหม่
              นอกเหนือจากระบบต่าง ๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมามีการพัฒนา
ระบบใหม่ ๆ ในการขจัดฝุ่นละออง ก๊าซพิษ ได้แก่
              - Charged droplet scrubber
             - Electron-beam dry scrubber
             - Electrostatic fiber beds
             - High gradient magnetic separation
             - Ceramic membrane filtration
             - Foam scrubber