อากาศเสียและการควบคุมแหล่งมลพิษทางอากาศ
1. อากาศเสีย หมายถึง อะไรก็ตามที่มีปะปนอยู่ในอากาศ ซึ่งมีผลกระทบต่อสุขภาพ
ของสิ่งมีชีวิตในโลก สิ่งที่ปะปนนี้อาจเป็นแก๊สพิษพวกไฮโดร์บอนหรือสารที่เป็น
ฝุ่นผงเล็ก ๆ ซึ่งมีผลต่อการระคายเคืองหรือสารต่าง ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกัน อาจ
เป็นรังสีจากสารที่ส่งรังสีออกมาก็ได้ซึ่งเป็นสิ่งที่มองไม่เห็น แต่ก็สามารถทำลาย
สิ่งมีชีวิตได้
สารที่ทำให้เกิดสกปรกในอากาศนั้นมีผลสามารถไปลดปริมาณ O2 ในอากาศหรือ
ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบของอากาศได้ สารเหล่านี้นอกจากเป็น
พิษต่อสิ่งมีชีวิตแล้วยังมีผลต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วย นอกจากนั้นยังมีผลต่อ
การดูดซึมความร้อน คายความร้อนของพื้นโลกด้วย ซึ่งจะทำให้เกิดการเปลี่ยน
แปลงทางอุตุนิยมวิทยา
2. สิ่งที่ทำให้เกิดอากาศเสีย
สิ่งที่ทำให้เกิดอากาศเสียพอแบ่งแยกสาเหตุออกไปได้ดังนี้คือ
2.1 เกิดจากการขนส่งโดยเครื่องจักร
2.2 เกิดจากความร้อนที่ใช้ในบ้านเรือน
2.3 เกิดจากเครื่องกำเนิดพลังไฟฟ้า
2.4 เกิดจากการเผาไหม้สิ่งปฏิกูลต่าง ๆ
2.5 เกิดจากการใช้เชื้อเพลิงในทางอุตสาหกรรม
2.6 เกิดจากกรรมวิธีการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม
3. ชนิดของสารมลพิษ
สารมลพิษต่าง ๆ ที่กำลังก่อให้เกิดปัญหาในขณะนี้ เช่น อนุภาคมลสาร ซัลเฟอร์
ออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ คาร์บอนมอนนอกไซด์ เป็นต้น สาเหตุใหญ่ที่ทำให้
เกิดสารมลพิษ คือ การสันดาปของเชื้อเพลิง (Fuel) ที่ไม่สมบูรณ์
การสันดาป คือ สารไฮโดรคาร์บอนของเชื้อเพลิง (Fuel) รวมกับออกซิเจนใน
อากาศให้ความร้อน (Heat) แสง (Light) คาร์บอนไดออกไซด์ และไอน้ำ อย่างไร
ก็ตามสารอื่น ๆ ที่ปะปนมากับเชื้อเพลิง (Impurities) และปริมาณของอากาศและ
เชื้อเพลิงไม่เป็นไปตามอัตราส่วน ก่อให้เกิดคาร์บอนมอนนอกไซด์ ชัลเฟอร์
ออกไซด์ ไนโตรเจนออกไซด์ และ ไฮโดรคาร์บอน ที่ไม่สันดาป
โดยทั่วไป ส่วนผสมต่าง ๆ ที่มีอยู่ในอากาศ จะมีสัดส่วนที่แน่นอน อากาศ
บริเวณชนบทหรือเหนือบริเวณมหาสมุทร โดยปกติจะประกอบด้วยไอน้ำ
1-3% (โดยปริมาตร) และพบว่าซัลเฟอร์ไดออกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ไอโอดีน
เกลือแกง แอมโมเนีย คาร์บอนมอนนอกไซด์ มีเธน ฝุ่น ละอองเกสร จะพบ
ในปริมาตรที่น้อยมาก (Trace)
4. แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศ
แหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแบ่งออกเป็น 3 แหล่งใหญ่ ๆ ดังนี้
4.1 แหล่งที่มนุษย์สร้างขึ้น ได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม การจราจร การเผาขยะ
มูลฝอย การผลิตพลังงานไฟฟ้า การใช้เชื้อเพลิงภายในบ้าน ฯลฯ
4.2 แหล่งธรรมชาติ ได้แก่ การระเบิดของภูเขาไฟ ไฟไหม้ป่า การเน่าเปลื่อย
การหมัก การปลิวกระจายของดิน ฯลฯ
4.3 แหล่งทุติธะ ได้แก่ การเกิดปฏิกริยา Photochemical smog, ฝนกรดอนุภาค
ซัลเฟตและไนเตรท
โดยทั่วไป สารมลพิษแบ่งออกเป็น 6 กลุ่ม ดังนี้
1. Particulate matter
2. Sulfur - containing compounds เช่น SO2 SO3 H2 SO4
3. Organic compounds เช่น HCHO CH4
4. Nitrogen - containing copmounds เช่น NO, NO2, HNO3
5. คาร์บอนมอนนอกไซด์ (CO)
6. Halogen compounds ได้แก่ สารประกอบที่มี I, Br, Cl, F ประกอบอยู่ด้วย
สารมลพิษเหล่านี้เมื่อออกจากแหล่งกำเนิดสู่อากาศจะถูกพาหรือแพร่กระจาย
โดยลมในระหว่างการเคลื่อนที่ คุณสมบัติของมันอาจเปลี่ยนไปโดยกระบวน
การเคมีและกระบวนการที่แสงอาทิตย์เป็นตัวเร่ง มันอาจถูกกำจัดจากอากาศ
โดยถูกชะล้างออกโดยน้ำฝน ดูดกลืน (abosorption) ดูดซับ (adsorption)
และจับเกาะบนพื้นดิน น้ำหรือพืช และการตกตัวลงมา ถึงแม้จะหายจากอากาศ
แต่ทำให้น้ำและดินเกิดมลภาวะขึ้นมาได้
5. สารมลพิษ
สารมลพิษ (Pollutionts) ที่กำลังก่อให้เกิดปัญหามลพิษทางอากาศ และได้รับ
ความสนใจในขณะนี้ ได้แก่ สารมลพิษที่เกิดจากการเผาไหม้ของน้ำมันเชื้อ
เพลิงที่ใช้ในยานพาหนะเป็นส่วนใหญ่
5.1 อนุภาคมลสาร (Particulate matter)
ประกอบด้วยสารต่าง ๆ ทั้งที่เป็นของแข็ง และของเหลวที่กระจายอยู่ใน
บรรยากาศซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 um ไปจนถึงหลายร้อยไมครอน โดยทั่วไป
อนุภาคมลสารแบ่งออกเป็น
5.1.1 Fine dust เส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 100 um
(1 um = 1 micron = 10 -4 cm)
5.1.2 Coarse dust เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 100 um
5.1.3 Fume เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.001-1 um
5.1.4 Mist เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.1-10 um
Fume เป็น particle ที่เกิดขึ้นจากการควบแน่น (Condensation) การระเหิด
(Sublimation) หรือปฏิกริยาเคมี(chemical Reaction) บางครั้งเรียกว่า somke
Mist ประกอบด้วย liquid particle เกิดขึ้นจากการควบแน่น (Condensation)
และการระเหิด เมื่อเปรียบเทียบกับ Fume หรือ smoke แล้ว paticle จะมีขนาด
ใหญ่กว่าอนุภาคมลสารกลุ่มนี้จะยังคงอยู่ในอากาศได้นานกว่ากลุ่มอื่น นอกจาก
จะก่อให้เกิดผลต่อสุขภาพอนามัยแล้วยังก่อให้เกิดผลทางทัศนวิสัยด้วย
(Visibility)
สารอนุภาคที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 10 ไมครอน จะเรียกว่า สารอนุภาค
แขวนลอย (suspended particulate) (SP) สารแขวนลอยจะตกลงบนพื้นจาก
บรรยากาศโดยแรงโน้มถ่วงอย่างช้า ๆ และจะลอยอยู่ในอากาศเป็นเวลาค่อน
ข้างนาน
โลหะหนัก รวมทั้ง เคดเมี่ยม (Cd) ตะกั่ว (Pb) โครเมี่ยม (Cr) และสารประกอบ
ของมัน ถูกปล่อยออกบรรยากาศ ส่วนใหญ่ในรูปของอนุภาค และจะตกตัว
ในน้ำ และดินโดยการเกาะติดแบบแห้งและเปียก (dry and wet depositions)
และก่อให้เกิดปัญหาน้ำและดินมีมลทิน (contamination) แคดเมี่ยม
มาจากโรงงานถลุงตะกั่ว โรงงานผลิตรงควัตถุ (pigment) โรงงานแก้ว และ
รถยนต์ที่ใช้น้ำมันเติมสารตะกั่ว แหล่งโครเมียมได้แก่ โรงงานผลิตรงควัตถุ
โครเมี่ยม (chromium pigment)
ตาราง 1 ตัวอย่างของอุปกรณ์ที่เกิดฟูม (fume) ควัน ละออง และฝุ่น
อุปกรณ์ ประเภทของที่ปล่อยออก
หม้อไอน้ำ
เตาเผาซีเมนต์ (cement kiln)
เตาเผาสินแร่ (ore calcinating furnace)
Blast furnace
เตาโลหะผสมของเหล็ก
Open - furnaceสำหรับผลิตเหล็กกล้า
เตาเผาเซรามิก
Steel converter
cupola
เตาอบโค้ก (coke oven)
เตาโลหะซิลิคอน
เตาคาร์บอนแบลค
เตาเผาขยะ
Coal carbonization furnace
โรงงานกรดกำมะถัน
การชุบสังกะสี
อุปกรณ์บดผงแร่ธาตุ ร่อนขนาด กำจัดผงและขนส่ง
เตากำจัด วัสดุลาดถนน



ถ่านไฟ ขี้เถ้าบิน (fly ash) ฟูม และควัน
ฝุ่นคลิงเกอร์ (clinker dust) ฝุ่น
ออกไซด์ของโลหะ ขี้เถ้าบิน ผงแร่ธาตุ ฟูม ฝุ่น
ผงแร่ธาตุ ผงโค้ก ฝุ่นขี้เหล็ก (slag dust) ฝุ่น
ฝุ่น SO 2 ฝุ่น
ออกไซด์ของเหล็ก ฝุ่น
ขี้เถ้าบิน ฝุ่น
ฝุ่น
ฝุ่น
ผง ฝุ่น
ฝุ่น Sio2
ฝุ่น
ฝุ่น ขี้เถ้าบิน
Tar mist
หมอกน้ำค้างของกรดกำมะถัน
สังกะสีออกไซด์ ฟูมของแอมโมเนีย
ฝุ่น ฝุ่นของผง
ฝุ่น ฝุ่น Sio2 tar mist



5.2  คาร์บอนมอนอกไซด์ (CO)
      เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นจากปฏิกริยา การสันดาปไม่สมบูรณ์ (Incomplete combustion)
ของสารประกอบคาร์บอนซึ่งเป็นสารประกอบหลักของเชื้อเพลิงกับก๊าซออกซิเจน
      คาร์บอนมอนอกไซด์เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เสถียร (Stable gas)
เบากว่าอกาศ (น้ำหนักโมเลกุลของอากาศ = 28.96 น้ำหนักโมเลกุลของ CO  = 28.01)
อยู่ในบรรยากาศได้นาน 2-4 เดือน (Life time)
      คาร์บอนมอกไซด์ เข้าสู่ร่างกายด้วยการสูดดม ไปจับรวมกับซีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง
ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถถ่ายออกซิเจนได้ อาการอาจเป็นน้อย ๆ จนถึงเสียชีวิต ทั้งนี้ขึ้นอยู่
กับปริมาตรก๊าซที่มีอยู่ในบรรยากาศ และระยะเวลาที่สูดดม อาการเริ่มแรกที่สำคัญ ได้แก่ อาการ
ปวดศีรษะน้อยไปจนถึงมาก อาการจะเพิ่มขึ้นมากตามปริมาตรคาร์บอนมอนอกไซด์ที่ได้รับ เมื่อ
ได้รับในปริมาณที่มากขึ้นจะปวดศีรษะมาก หรือแน่นหน้าอกเวลาออกแรง ขั้นต่อไปจะเหนื่อยหอบ
แน่นหน้าอกมากขึ้นตาพร่ามัว คลื่นไส้ อาเจียน เซื่องซึม ขั้นต่อไปหมดสติ ชัก การหายใจผิดปกติ
และเสียชีวิตผู้ป่วยบางรายอาจมีไตวายเฉียบพลันร่วมอยู่ด้วย และถ้าได้รับการรักษาไม่ทันท่วงที
จะมีความพิการของสมองและประสาทหลงเหลืออยู่ เช่น ความจำถดถอย หรือ ชาเท้า บุคลิกภาพ
และอารมณ์ผิดปกติ
5.3 ซัลเฟอร์ออกไซด์ (SO x)
    ซัลเฟอร์ออกไซด์ประกอบด้วย so2 และ so 3 โดยทั่วไปเขียนแทนซัลเฟอร์ออกไซด์
ด้วย SO x ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (so2) เป็นก๊าซไม่มีสี ไม่ติดไฟ มีกลิ่นแสบจมูก ละลาย
ได้ดีในน้ำเปลี่ยนเป็นกรด สามารถพบได้ในบรรยากาศทั่วไปในปริมาณ 0.02 - 0.1 ppm. ถ้า
หากพบในบรรยากาศในปริมาณสูงส่วนใหญ่เกิดขึ้นจากการสันดาป หรือเผาเชื้อเพลิงหรือวัสดุ
ที่มีกำมะถัน เช่น ถ่านหิน และน้ำมัน สำหรับ so 2 ที่ 25 ซ. ที่ความดัน 1 บรรยากาศ หรือเท่า
กับ 760 mm Hg 1 ppm = 2,602 ug/m 3
     การเกิด so 2 เกิดขึ้นเนื่องจาก s ที่มีปะปนในเชื้อเพลิง ทำปฏิกริยากับอากาศ
                  s + o 2 -----------------  so 2
และในขณะเพียวกันจะมี so 3 เกิดขึ้นด้วย แต่ so 3 จะเกิดขึ้นในปริมาณที่น้อยกว่า คิดเป็น
สัดส่วนต่อปริมาณ so 2 ที่เกิดขึ้นคือ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ต่อซัลเฟอร์ไตรออกไซด์ 40:1 ถึง
80:1
    so 2 จะทำปฏิกริยากับ o 2 ในอากาศได้ so 3 ภายในเครึ่งวันถึงสองวัน สำหรับใน
บรรยากาศที่มี metallic oxide จะเป็นตัวเร่งปฏิกริยา (Catalyst) ให้ปฏิกริยาเร็วขึ้น
                                                   Catalyst
           SO 2 + 1    O 2 ------------- SO 3
                        2
และจะเกิดเป้นกรดกำมะถันในบรรยากาศที่มีความชื้นหรือในกรณีที่มีฝนตก ซึ่งเรียกว่า ฝนกรด
(Acid rain)
           2SO 2 + 2H 2 O + O 2 -------------H 2 SO 4
           SO 3 + H2 O                -------------H 2 SO 4
           แหล่งของ so x มีทั้งหม้อไอน้ำที่ใช้ถ่านหินและน้ำมันเชื้อเพลิง เตาให้ความร้อน
เตาเผาสินแร่เหล็ก เตาถ่านโค๊ก เตาเผาขยะ เครื่องยนต์ดีเซล
5.4 ออกไซด์ของไนโตรเจน
    ออกไซด์ของไนโตรเจนที่เกิดขึ้นในบรรยากาศมีหลายตัวคื อ N2 O NO N2 O9
NO 2 N2 O4 และ N2 O5 แต่ที่พบในบรรยากาศในปริมาณที่มากกว่า ได้แก่ N2 O
NO และ NO2 และก่อให้เกิดปัญหาทางมลพิษทางอากาศ
              N2 O เป็นก๊าซเฉื่อยมีคุณเป็นยาสลบ
              NO    เป็นก๊าซไม่มีสีในบรรยากาศทั่วไปพบน้อยกว่า 0.5 ppm.
           NO2   เป็นก๊าซสีน้ำตาล ถ้ามีจำนวนมากจะมองเห็น
              สำหรับ NO 2 ที่ 25 ซ. ที่ความกดดัน 1 บรรยากาศ หรือ 760 mm Hg
                   1 ppm NO 2 = 1880 ug / m 3
มากกว่า 90 % ของออกไซด์ของไนโตรเจนที่เกิดขึ้น เกิดจากการกระทำของมนุษย์ (man-made)
เข้าสู่บรรยากาศได้โดยการสันดาปของเชื้อเพลิงต่าง ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรม และยานพาหนะ
ในการเผาไหม้เชื้อเพลิง ออกไซด์ของไนโตรเจน (NO x) เกิดจากเชื้อเพลิงที่มีสารไนโตรเจนผสม
อยู่ได้แก่ สาร Pyrideine, piperdine ซึ่งสารเหล่านี้พบได้โดยทั่วไปในน้ำมัน สำหรับถ่านหิน
(Coal) จะประกอบด้วยไนโตรเจนที่มีสูตรโครงสร้างเป็น ring และเป็น chain ส่วนในก๊าซ
ธรรมชาติ (Natural gas) จะไม่พบสารประกอบของไนโตรเจน
          อีกกรณีหนึ่งคือ ออกไซด์ไนโตรเจนจะเกิดขึ้นได้เอง เมื่ออากาศซึ่งประกอบด้วยไนโตรเจน
และออกซิเจนได้รับความร้อนที่อุณหภูมิมากกว่า 1659 ซ. (อัตราส่วน N:O = 3.75:1)
         NO 2 จะรวมตัวกับน้ำในอากาศเป็น HNO3 (กรดดินประสิว) ซึ่งอยู่ในรูปหมอกน้ำค้าง
ไนเตรต (nitrate mist) หรือทำปฏิกริยากับเกลือของโลหะไปเป็นอนุภาคของไนเตรต อนุภาคเหล่า
นี้มีพิษภัย
         แหล่ง NOx มีทั้งหม้อไอน้ำที่ใช้ถ่านหินและน้ำมัน อุปกรณ์และเตาเผาต่าง ๆ เครื่องยนต์
ของรถ เรือ และเตาให้ความอบอุ่นในบ้านเรือน นั่นคือ แหล่งของ NOx จะครอบคลุมอุปกรณ์และ
เครื่องใช้จำนวนมากที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเผาไหม้ นอกจากนี้ยังมีแหล่ง พิเศษ เช่น กระบวนการ
ผลิดกรดดินประสิวและสารประกอบของมัน
5.5 Organic Compounds
      เช่น aldehyder, ketones เกิดจากก๊าซจากท่อไอเสีย และจากปล่อยไฟจากสารที่ใช้ใน
อุตสาหกรรมพวกไฮโดรคาร์บอน รวมทั้งสารพาราฟิน (parafins) สารแนฟธีน (maphthenes)
สารโอเลฟิน (olefins) และสารอโรมาติก (aromatic compounds) สารเหล่านี้ส่วนใหญ่
มีความเข้มข้นต่ำ การสำรวจบางอันได้พบว่าไฮโดรคาร์บอนบางตัว เช่น 1, 2, 5, 6 -
dibenzanthracene, 3, 4 - benzpyrene, methylcholanthrene เป็นสารก่อโรคมะเร็ง
(carcinogens) นอกจากนี้ เมื่อสารโอเลฟิน ผสมกับ NOx จะสามารถทำปฏิกริยาภายใต้รังสี
เหนือม่วง เป็น photochemical oxidants OX
5.6 Halogen Compunds
    เช่น คลอรีน ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ ซิลิคอนฟลูออไรด์
     คลอรีนจำนวนมหาศาลมีอยู่ในทะเลในสภาพของอิออน cl แต่อย่างไรก็ดี แหล่งมนุษย์สร้างก็ช่วย
แพร่กระจายคลอรีนและไฮโดรเจนคลอไรด์ด้วย เช่น โรงงานผลิตคลอรีน เตาเผาขยะ ในเขตตัวเมือง
และโรงงานทำปุ๋ย สารพวกนี้ทำให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบหายใจและเยื่อตาอักเสบ
     ไฮโดรเจนฟลูออไรด์ (HF) และ ซิลิคอนฟลูออไรด์ (SiF) ทำความเสียหายต่อพืชและมีพิษภัย
ต่อปศุสัตว์ที่กินพืชเหล่านั้น แหล่งของฟลูออไรด์มีทั้งโรงงานถลุงอะลูมิเนียม โรงงานเซรามิก
(ceramic plants) กระบวนการจัดการผิวโลหะ (metal surface treatment) และโรงงาน
ผลิตฟรีออนและยางสังเคราะห์ฟลูออไรด์ (fluoride resins)
6. การควบคุมแหล่งมลพิษทางอากาศ
   การควบคุมแหล่งมลพิษทางอากาศ กระทำได้ 3 ทาง
  6.1 มาตรการทางด้านกฎหมาย
  6.2 การควบคุมมลพิษจากยานพาหนะ
  6.3 การควบคุมมลพิษจากอุตสาหกรรม
  6.1 มาตรการทางด้านกฎหมาย
       มีการออกกฎหมายโดยให้มีมาตรฐานคุณภาพอากาศ มาตรฐานเป็นมาตรการสำคัญในการควบคุม
มลพิษทางอากาศ เนื่องจากเป็นการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน ควบคุมให้ยึดถือเป็นบรรทัดฐาน
เดียวกัน เพื่ออำนวยความสะดวกต่อผู้ควบคุมและผู้ถูกควบคุม และก่อให้เกิดความยุติธรรมโดยถ้วนทั่ว
นอกจากนี้ ยังใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาคดีในชั้นศาล โดยทั่วไปกฎหมายควบคุมมลพิษทางอากาศ
ใช้มาตรฐาน 2 ประเภท คือ มาตรฐานคุณภาพอากาศ (Aif Quality Standard) และ มาตรฐาน
การระบายมลพิษออกจากแหล่งกำเนิด (Emission Standard)
  6.2 การควบคุมมลพิษจากยานพาหนะ
       ไอเสียจากยานพาหนะกลับเป็นตัวการที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่ทำให้คุณภาพอากาศเลวลงใน
ต่างประเทศและประเทศไทย ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยการออกกฎหมายให้มีมาตรฐานควบคุมการ
ปล่อยก๊าซที่เป็นสารมลพิษในไิอเสียของเครื่องยนต์ให้อยู่ในระดับที่กำหนด ได้แก่ ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน   ออกไซด์ไนโรตรเจน วิธีการซึ่งใช้ได้ผลดีในการควบคุม
สารมลพิษที่ออกมากับไอเสียยานพาหนะ คือ การติดตั้ง Catalyst Converters
      Caralyst Converter ที่ติดตั้งในรถยนต์ใช้ก๊าซโซลีน ติดตั้งในระบบท่อไอเสียภายในตัว
Converter มีสารตัวเร่งปฏิกริยา (Catalyst) ซึ่งในปัจจุบันนี้นิยมใช้ Platinum (Pt),
Pallandium (Pd) และ Rhodium (Rh) ตัวใดตัวหนึ่งหรือผสมกันทำหน้าที่ Oxidation-
Reduction Catalyst สารมลพิษ CO และไฮโดรคาร์บอนที่ออกมากับไิอเสียจะถูกเปลี่ยนไป
เป็น CO2 และ H2 O ส่วน NOx จะถูกเปลี่ยนไปเป็น N2
  6.3 การควบคุมมลพิษจากอุตสาหกรรม
       ส่วนใหญ่ของสารมลพิษ ได้แก่ ก๊าซ เช่น CO Oxides ของ Nitrogen (NOx) oxides
ของซัลเฟอร์ (SOx) และไฮโดรคาร์บอนที่ยังไม่ถูกเผาไหม้ คาร์บอนมอนนอกไซด์ จะเป็นสารมลพิษ
ที่มีปริมาณสูงกว่าสารมลพิษอื่น ๆ ที่ถูกปล่อยออกสู่บรรยากาศ จากรายงานของ EPA
     การระบายสารมลพิษของประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า ในปี 1985 ชี้ให้เห็นว่าสารมพลพิษทั้งหมด
ที่ระบายออกสู่บรรยากาศ เป้นก๊าซ 93% ในจำนวนนี้ประกอบด้วย คาร์บอนมอนอกไซด์ 52 %
แหล่งที่กำให้เกิดสารมลพิษ คือ การสันดาปของเชื้อเพลิง (Fossil Fuels)
     การลดปริมาณสารมลพิษให้อยู่ในระดับที่ต้องการ กระทำให้หลายวิธีขึ้นกับว่าเป็นฝุ่นละอองหรือ
ก๊าซเสีย
     ระบบดักฝุ่นละอองที่ใช้กันคือ     ระบบผ้ากรอง ระบบฉีดดัก ระบบไซโคลน Electrostatic
precipitation
     ระบบขจัดก๊าซเสีย      ได้แก่ การใช้ของแข็งเป็นตัวดูดซับ (adsorption)
ใช้ตัวทำละลาย(Solvent) เป็นตัวดูดกลืน (Absorption) การให้สารมลพิษถูก oxidise
โดยใช้ตัวเร่งปฏิกริยาหรือใช้การเผาไหม้เป็นสารในรูปอื่น การลดปริมาณโดยการกำหนดสารมลพิษที่
เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต
      6.3.1 การดักฝุ่นโดยใช้ผ้ากรอง
              จะมีประสิทธิภาพมากกว่า 99% หากดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอ ระบบนี้จะประกอบด้วย
ห้องหลายห้อง แต่ละห้องจะมีถุงกรองอยู่เป็นจำนวนมาก ก๊าซเสียจะถูกดูดเข้ามากกรองภายในห้อง
โดยอาศัยพื้นที่ผ้ากรอง ฝุ่นจะเกาะที่ผ้ากรอง ขณะที่อากาศจะลอดผ้ากรองได้
      6.3.2 การดูดซับ (Adsorption)
          การดูดซับ เป็นกระบวนการแยกสารมลพิษโดยใช้สารดูดซับขึ้นอยู่กับความสามารถของสาร
ที่ใช้เป็นตัวดูดซับที่จะแยกก๊าซหรือของเหลวจาก stream สารมลพิษที่เป็นก๊าซหรือเป็นไอ (Vapor)
ที่ปะปนอยู่ จะถูกดูดซับบนผิวของตัวดูดซับที่เป็นของแข็ง ของแข็งที่ใช้เป็นตัวดูดซับเรียกว่า
"Adsorbate" ในขณะเดียวกัน ไอ (Vapor) หรือก๊าซที่ถูกดูดซับเรียกว่า "Adsorbate"
         กระบวนการดูดซับจะใช้ได้เมื่อใช้กับ
         1. สารมลพิษที่เป็นก๊าซและเป็นสารที่ไม่ไหม้ไฟ (Incombustible) หรือยากที่จะไหม้ไฟ
         2. สารมลพิษในไอเสีย ต้องมีความเข้มข้นต่ำ (Very dilute)
         3. ไม่สามารถกำจัดได้โดยวิธีอื่น
    6.3.3 การดูดกลืน (Absorption)
          เป็นการควบคุมก๊าซมลพิษโดยใช้ของเหลวเป็นตัวดูดกลืนก๊าซ (Scrubbing liquid)
โดยให้ไิอเสียสัมผัสกับของเหลว แล้วปล่อยก๊าซที่สะอาดออกไป วิธีนี้สามารถใช้ซับ SO2 HCl
H2 S NO2 ไฮโดรคาร์บอน ฯลฯ
    6.3.4 การเผา (Incineration of After Burning)
         การเผาเป็นกระบวนการที่ใช้เพื่อแยกสารมลพิษในไอเสีย ได้แก่ ก๊าซ ไอ (Vapor) หรือ
กลิ่นที่เป็นสารติดไฟ (Combustible) จะใช้เมื่อไอเสียมีปริมาณมาก แต่สารมลพิษในไอเสียที่มี
ปริมาณต่ำ (small contaminant gases) การเผาเพื่อการควบคุมสารมลพิษให้อยู่ในระดับที่
น่าพอใจควรประกอบด้วยต่อไปนี้
           1. สารมลพิษเกือบทั้งหมดที่มีกลิ่น จะเป็นสารติดไฟ (Combustible) หรือถูกเปลี่ยน
โดยปฏิกริยาทางเคมีได้ให้เป็นสารที่มีกลิ่นน้อยลงในบรรยากาศที่ O2 เพียงพอ สารมลพิษที่ก่อให้เกิด
กลิ่นที่ถูกทำลายโดยการการเผา ได้แก่ mercaptans ก๊าซไซยาไนด์ และไฮโดรเจนซัลไฟด์ ฯลฯ
                      R - SH + O  ----------------- CO2 + H2 O +SO2
                             CN + O  ----------------- CO2 + NO2
                             H2S+ O  -----------------  H2O + SO2
            2. ละอองไอของสารอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดควัน (plume) ที่มองเห็น เช่น การคั่วกาแฟ
            3. ไอและก๊าซอินทรีย์บางชนิด ถ้าปล่อยออกสู่บรรยากาศ จะก่อให้เกิด Smog
         4. อุตสาหกรรมบางชนิด เช่น การกลั่นต่าง ๆ (Refineries) จะปล่อยก๊าซที่ไหม้ไฟได้จำนวน
มาก และบางชนิดเป็นสารอินทรีย์ที่เป็นอันตราย