ISO 14000 - Environmental Management
                                             
มาตราฐานสากลว่าด้วยการจัดการ
                                                     สิ่งแวดล้อม
                                      (เครื่องมือกีดกันทางการค้า?)
                                                                                                          ประเสริฐ   ตปนียางกรู *


ความเป็นมา
     กระแสของความตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมได้แผ่ขยายไปทั่วโลกที่ไร้พรมแดน อันสืบเนื่องมาจาก
ปัญหาสิ่งแวดล้อมในระดับโลกที่สำคัญ ๆ อาทิเช่น ชั้นโอโซนในบรรยากาศซึ่งอยู่ไม่สูงจากพื้นโลกเรา
นักถูกทำลายลงโดยน้ำมือของมนุษย์ ที่ใช้สารซีเอฟซีกันอยู่เป็นจำนวนมาก ทำให้รังสีอุลตราไวโอเล็ตบี (UVB) ส่งทะลุมายังโลก และเป็นอันตรายต่อสรรพสิ่งมีชีวิต ปรากฏเรือนกระจกอันเกิดจากแก๊ส
คาร์บอนไดออกไซด์ของการเผาผลาญเชื้อเพลิงที่นับวันจะทวีมากขึ้นธารน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเริ่มละลาย
และเพิ่มระดับน้ำทะเลในมหาสมุทร แม้กระทั่งปัญหาทางมลพิษทางน้ำ อากาศและกากสารพิษ ก็เกิดจาก
พฤติกรรมของมนุษย์ทั้งสินแหล่งน้ำที่ใช้บริโภคอุปโภค อากาศที่ใช้หายใจ ดินที่ใช้เพราะปลูกเริ่มไม่
ปลอดภัยประเทศไทยเราก็หลีกเหลี่ยงไม่พ้นปัญหาดังกล่าว ยิ่งในบริเวณที่มีการพัฒนาเท่าไรปัญหารุ่นแรง
ยิ่งขึ้นเท่านั้น ประเทศที่พัฒนาแล้ว (Developed Coumtries) และมีความแข็งแกร่งทาง
เศรษฐกิจก็เคยประสบปัญหาเหล่านี้ จึงมีมาตรการป้องกันและคุ้มครองสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด เพื่อรักษาสุข
อนามัยของคนในประเทศ   อีกทั้งยังพยายามผลักดันให้ประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า (Less developed Countries) เพิ่มมาตรการให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน โดยมักจะมีข้ออ้างเพื่อ
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและคุ้มครองสุขอนามัยของผู้บริโภค ในปี ค.ศ. 1992 องค์การหสประชาชาติได้จัด
การประชุมสุดยอดสิ่งแวดล้อมขึ้นที่กรุงริโอฯ ประเทศบราซิล เพื่อแสวงหาแนวทางในการจัดสิ่งแวดล้อม
ร่วมกัน ISO 14000 -   มาตรฐานสากดลว่าด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมจึงอุบัติขึ้นจากการประชุม
สุดยอดในครั้งนี้
1. การจัดการสิ่งแวดล้อม
     แม้ว่าหลักการของแกตต์ (GATT 1994) จะไม่มีการเลือกปฏิบัติกับสินค้าที่ผลิตจากประเทศ
ต่าง ๆ ก็ตาม แต่ในมาตร 20 (b,g) อนุญาตให้ใช้มาตรการที่ขัดแกตต์ได้หากเป็นไปเพื่อการปกป้องชีวิต
มนุษย์ สัตว์ พืช และสุขภาพหรือเพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรที่สูญสิ้นได้ (Exhaustible natural
resources) ส่วนประเทศที่พัฒนาน้อยกว่ามักจะมองว่าการค้าทำให้ประชากรกินดี อยู่ดี เป็นโอกาส
ให้เกิดเทคโนโลยีใหม่ๆ เมื่อท้องอิ่มและมีความรู้ ก็จะสามารถยกระดับที่ขาดระบบการควบคุมที่ดีจะเป็น
อันตรายต่อสิ่งแวดล้อม โดยมักจะมองว่าเป็นพฤติกรรมของประเทศที่พัฒนาน้อยกว่า ระบบการผลิตต้อง
คำนึงถึงต้นทุนทั้งหมดซึ่งรวมถึงการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ครบถ้วนด้วย ไม่ใช่แต่ต้นทุนวัตถุดิบอย่างเดียว
จึงจะยุติธรรมต่อสังคม และโลก ดังจะเห็นตัวอย่างการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมอีกไม่น้อยที่ผลักภาระ
ต้นทุนให้แก่สิ่งแวดล้อม และสังคม (Externalization) อาทิ  เช่น ความไม่รับผิดชอบในการ
ระบายน้ำเสีย ปล่อยอากาศเสีย ตลอดจนทิ้งกากสารอันตราย หรือในประเทศที่มีมาตรฐานหย่อนมากจน
ถึงไม่มีเลย ประกอบกับต้นทุนแรงงานต่ำ ซึ่งทำให้สินค้าราคาถูก มีความได้เปรียบในตลาดการค้า จุดนี้
เองเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ประเทศที่พัฒนาแล้วพยายามที่จะบีบบังคับให้ประเทศในอีกซีกโลกหนึ่งหันมาใช้
มาตรฐานสิ่งแวดล้อมของตน หรืออย่างน้อยก็มาตรฐานระดับสากล หากวิเคราะห์อย่างละเอียดการกีดกัน-
ทางการค้ารูปแบบดั่งเดิมเช่นการตั้งกำแพงภาษี การจำกัดโควต้าการนำเข้าเริ่มจะใช้ไม่ได้ตามข้อตกลง
การค้าเสรีในยุคโลกาภิวัฒน์ที่กระทำกัน ในปัจจุบันจึงมีแนวโน้มที่จะใช้เรื่องสิ่งแวดล้อมเป็นข้ออ้างในการ
กีดกันทางการค้ามากขึ้น และมักจะได้รับความสนับสนุนจากกลุ่มนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในประเทศของตน
ตลอดจนกลุ่มผู้บริโภคที่คำนึงถึงสภาพแวดล้อมเป็นสำคัญ บุคคลเหล่านี้มีจำนวนมากในโลกที่ยินดีจะจ่าย
สำหรับสินค้าที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมในราคาสูงกว่าปกติเช่นผลิตภัณฑ์จากวัสดุธรรมชาติไร้สารพิษหรือ
วัสดุรีไซเคิ้ล เป็นต้น ดังนั้นประเทศไทยจึงต้องคอยติดตามดูความเคลื่อนไหวของกลุ่มประเทศเหล่านี้ และ
ต้องพยายามแปลงอุปสรรคมาเป็นโอกาศ ให้ได้
2.  ISO 14000-มาตรฐานสากลว่าด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อม
             ISO 14000   เป็นชุดมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมประกอบด้วย
             1.  ISO   14001, 14004  Environmental Management System
                (EMS) - ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
             2.  ISO   14010 - 14015  Environmental Auditing การตรวจสอบสิ่งแวดล้อม
             3.  ISO   14020 - 14024 Environmental Labeuling   มาตรฐานสลาก
                  สิ่งแวดล้อม
            4.  ISO 14041   Environmental Performance Evaluation การ
                  ประเมินผลการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม
            5.  ISO 14040 - 14043 Life cycle Assessment การวิเคราะห์และ
                 ประเมินวงจรชีวิตของผลิตภัณฑ์
            6.  ISO 14050   Terms and Definitions - คำศัพท์และนิยาม
            7.  WG 1. Environmental Aspects of Product Standard-
          ข้อพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมของมาตรฐานผลิตภัณฑ์
                    สถานภาพของ ISO 14000 ในขณะนี้ประเทศสมาชิกได้มีการประชุมร่วมกัน
ร่างในเรื่อง EMS และ Environmental Auditing เสร็จสมบูรณ์แล้วและกำลัง
เวียนให้ประเทศสมาชิกทั่วโลกให้ความเห็นชอบ ซึ่งประเทศสมาชิกต้องเห็นชอบไม่น้อย
กว่าสามในสี่ จึงจะประกาศใช้ (ประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ใน ISO ด้วย) คาดว่าน่าจะ
ประกาศใช้ภายในกลางปี พ.ศ. 2539 จึงควรให้ความสนใจเป็นพิเศษในมาตรฐานสองชุด
แรกนี้ก่อน
3.  EMS - ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
                     ความเชื่อสมัยใหม่ที่ว่า กิจการใดก็ตามที่มีระบบการจัดการบริหารที่ดีตั้งแต่เริ่มต้นจะนำไป
สู่ความสำเร็จ เจริญรุ่งเรืองของกิจการนั้น ฉันใดก็ฉันนั้น การจัดการสิ่งแวดล้อมต้องเป็นระะ การคำนึงถึง
แต่ระบบบำบัดของเสียที่ปลายทาง (End of Pipe) แต่เพียงด้านเดียวย่อมไม่สามารถปกป้อง
สิ่งแวดล้อมของเราให้คงอยู่สภาพต่อไปได้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดเจนได้แก่ กิจการที่มีการบำบัดของเสียของ
ตนเองจนได้ตามกฎเกณฑ์ของทางราชการ ก็ยังทำให้สิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมได้ จึงจำต้องปรับเปลี่ยน
กระบวนการจัดการเสียใหม่ (Paradigm Shift on Environmental lssues) ซึ่ง EMS จะ
ครอบคลุมการวิเคราะห์ ชี้ปัญหาและการบริหารจัดการ พันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อมของกิจการอย่างครบถ้วน
เป็นระบบ จะเห็นได้จากรัฐบาลของบางประเทศในสภาพยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา พยายามที่จะผนวก
ISO 14000 เข้าเป็นมาตรฐานแห่งชาติ หรือแม้กระทั่งคู่ค้าไม่ว่าในภาครัฐหรือภาคเอกชน อาจต้องการให้
ผู้ผลิตใช้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมตามมาตรฐาน ISO 14000 สาธารณชนก็ดีต้องการเห็นกิจการ
ทั้งหลายทำตาม ISO 14000 เพราะเชื่อว่าสภาพสิ่งแวดล้อมคงจะดีขึ้น อันจะเป็นแนวทางแห่งการพัฒนา
ที่ยั่งยืน (Sustainable development)
        
องค์ประกอบสำคัญของ EMS ประกอบด้วย
          -   การกำหนดนโยบายของผู้บริหารระดับสูง และการประสานจัดการให้มีผลเป็นรูปธรรม
          -   การวิเคราะห์ ชี้ปัญหาและพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งกำหนดวัตถุประสงค์และตั้ง
เป้าหมายในการดำเนินการตามพันธกรณี
          -   การจัดทำแผน มาตรการพร้อมดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์และบรรลุถึงเป้าหมาย
          -   การวิเคราะห์ วัดและปริมาณผลดำเนินการตรวจสอบ และหามาตรการปรับปรุงแก้ไข
          -   การทบทวนการจัดการที่แล้วมา เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง
        (ดูแผนภูมิ Figure 1. Environmental Management System Model)
         Continual Improvement                     Environmental Policy
            
   Management Review                Plnning
                                                        - Environmental aspects
                                                        - Logal and other requironments
                                                        - Objectives and tragets                                                           - Environmental mangement prog-
                                                            mams
Checking and                               Implementation and Operation
Corrective Action                             - Structure and responsibility
   - Monitonring and massurement     - Training awanness and conpetance
  - Non-Contomance and corrective - Communication
     and preventive action                    - EMS documentation
  - Records                                        - Document control
  - EMS audis                                    - Operational control
                                                        - Emergency preparadnass and
                                                           response
                Figure 1 Environmental Management System Model
           รายละเอียดในแต่ละองค์ประกอบสามารถอธิบายได้ดังนี้
นโยบายระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม
          ผู้บริการระดับสูงต้องผูกมัดตนเอง (Commit) โดยกำหนดเป็นนโยบายว่า
         -   จะมีการปรับปรุงระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง (Continual improve-
ment)
      -  จะหลีกเลี่ยง หรือลดการเกิดมลพิษ (Pollution prevention)
      -   ปฏิบัติตามกฎหมายที่มีผลบังคับใช้อยู่ทุกประการ
      -   การดำเนินกิจการใดก็ตามจะคำนึงถึงสภาพธรรมชาติและผลกระทบของกิจการต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง
รวมไปถึงผลิตภัณฑ์และการให้บริการ
     -   ประกาศนโยบายสิ่งแวดล้อมให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสาธารณะและติดต่อสื่อสารลงไปให้ถึงระดับ
พนักงาน
ปัญหาและพันธกรณีด้านสิ่งแวดล้อม วัตถุประสงค์และเป้าหมาย
     -   ต้องวิเคราะห์และชี้ปัญหา ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมการผลิต ตลอดจนการให้
บริการของกิจการให้ได้ เช่น ผลิตภัณฑ์ต้องคำนึงถึงวัตถุดิบ บรรจุภัณฑ์ พลังงานที่ใช้ ปริมาณของเสียที่
เกิดขึ้น การบำบัดของเสียตลอดจนความรุนแรงของผลกระทบ ความรับผิดทางกฎหมายในกรณีที่เกิดปัญหา
ขึ้น ความยุ่งยาก ค่าใช้จ่ายและผลลัพธ์ในการปรับปรุงแก้ไข เป็นต้น
     -  ต้องศึกษา กฎระเบียบ มาตรฐานที่มีอยู่ในกฎหมายทุกข้อที่บริษัทฯ ต้องปฏิบัติตาม เช่นมาตรฐาน
น้ำทิ้ง มาตรฐานอากาศที่ปล่อยออกจากปล่องโรงงานหลักเกณฑ์การบำบัดกากสารอันตราย เป็นต้น
     -   กำหนดวัตถุประสงค์ในการเำเนินการ และตั้งเป้าหมาย ตัวอย่างเช่นบริษัทอาจกำหนดวัตถุประสงค์
ของการจัดการสิ่งแวดล้อมโดยเน้นที่การลดการใช้น้ำในการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาน้ำเสียและตั้งเป้าหมาย
ไว้ว่าจะลดลงให้ได้ในปีหน้าจำนวน 10% ซึ่งสามารถคำนวณได้จากปริมาณน้ำใช้ต่อหน่วยการผลิต
เป็นต้น
     -   การดำเนินการต้องเริ่มจากการวางแผนหาผู้รับผิดชอบ บทบาท และหน้าที่ซึ่งควรมีตัวแทนจากฝ่าย
บริหารอาวุโสร่วมอยู่ด้วย จากนั้นหาแหล่งทุนที่จำเป็นในการดำเนินการ จัดขั้นตอนและปริมาณงาน พร้อม
ทั้งกำหนดเงื่อนเวลา จัดประชุม ประสานจัดการให้ความรู้แก่คนงานที่จะร่วมดำเนินงานทั้งในบริษัทและ
บุคคลดภายนอก
     -  ติดตามผลดำเนินการ ประเมินผลงานเป็นระยะๆ ว่าสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และบรรลุตามเป้า
หมายหรือไม่ เพียงใด ต้องตรวจสอบ (Audit) พร้อมทั้งหาจุดบกพร่องและมาตรการปรับปรุงแก้ไข
การทบทวนของฝ่ายบริหาร
      -   ประเมินเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้
      -   หาให้พบว่ารากเหง้าปัญหาของจุดบกพร่องต่างๆ ในการดำเนินงานอยู่ตรงไหน และจัดการปรับปรุง
แก้ไขให้ได้
     -  แสวงหาโอกาส ในการปรับปรุงเรื่องสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ในบริษัทฯ และจัดทำเป็นกิจกรรมต่อเนื่อง
โดยอาศัยหลักการจัดการสิ่งแวดล้อมทั้งหมดที่ได้กล่าวมาซึ่งจะนำไปสู่การพัฒนาจัดการสิ่งแวดล้อมให้ดี
ขึ้นอย่างต่อเนื่อง
4.  ENVIRONMENTAL AUDITING
การตรวจสอบสิ่งแวดล้อม
     อดีตประธานาธิบดี ไอเซนฮาวร์ แห่งสหรัฐอเมริการ ได้กล่าวไว้ว่า
     "กิจการใดที่ขาดการตรวจสอบ รังแต่จะเสื่อมถอย" คำกล่าวนี้อาจเรียกได้ว่าเป็นสัจธรรมหนึ่งก็ว่าได้
ดังจะเห็นได้จากกิจการของห้างร้านบริษัทต่างก็ต้องมีการตรวจสอบบัญชี เพื่อความถูกต้องของผลการ
ดำเนินงานและเพื่อให้ความมั่นใจแก่ผู้ถือหุ้น การตรวจสอบสิ่งแวดล้อมก็เป็นกระบวนหนึ่ง ซึ่งเปรียบ
เสมือนเครื่องมือบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ มีเอกสารรับรอง มีระยะเวลาความถี่ของการตรวจสอบอย่าง
สม่ำเสมอ และมีวัตถุประสงค์ที่แน่ชัดของการประเมินผลว่าการดำเนินการของกิจการเพื่อปกป้องสิ่งแวด
ล้อมมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลเพียงใด และที่สำคัญคือสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้
     ผลประโยชน์จากการตรวจสอบสิ่งแวดล้อมที่เห็นได้ชัดคือ นอกจากจะเป็นเครื่องพิสูจน์ว่ากิจการได้
ดำเนินการตามกฎหมายโรงงาน สิ่งแวดล้อมและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วนแล้ว ยังจะเป็นการ
ประหยัดค่าใช้จากการสูญเปล่าของวัตถุดิบ น้ำใช้ และพลังงานอย่างไม่จำเป็น เพิ่มพูนผลผลิต มีสุขอนามัย
และความปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อการทำลายสิ่งแวดล้อม และยังเป็นเอกสารอ้างอิงเพื่อการรายงานผล
ตามกฎหมายต่อไปได้
การเตรียมการเพื่อตรวจสอบสิ่งแวดล้อม
        
-   จัดเตรียมคณะผู้ตรวจสอบ แบ่งบาทและหน้าที่ให้ชัดเจน ผู้ตรวจสอบควรสำเร็จการศึกษาระดับ
ปริญญาตรี มีประสบการณ์การทำงานอย่างน้อยสี่ปี
          -   ทำความคุ้นเคยกับสถานที่ และสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ที่จะตรวจสอบ
          -   จัดทำบัญชีเรื่องที่ต้องตรวจสอบ
          -   จัดเตรียมคำถาม และระบุบุคคลที่จะสัมภาษณ์หรือขอข้อมูล
ข้อควรคำนึงในการตรวจสอบ
          -   แต่ละบริษัท สถานที่และบริเวณมีลักษณะเฉพาะตัว
          -   ปัญหาสิ่งแวดล้อมของกิจการ เช่นการจัดการสิ่งแวดล้อม การจัดเก็บขนส่งและใช้วัตถุดิบ น้ำ
เชื้อเพลิง ฯลฯ มลพิษทางน้ำ อากาศ กากสารอันตราย เสียง กลิ่น การปนเปื้อนของมลพิษในสถานที่
การประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อมมี 3 องค์ประกอบคือ
          -   ต้นตอหรือสาเหตุ (Source) มักเกิดจากการรั่วไหลของสารอันตรายลงแหล่งน้ำ และแผ่นดิน
การระบายของอากาศเสีย
          -   ทางผ่านของมลพิษ (Pathway) ได้แก่การซึมซับของสภาพธรณีวิทยาทางระบายของเสีย
การไหลของน้ำผิวดิน และสภาพลม
          -   แหล่งรับของเสีย (Receptor) ผู้คนที่อยู่ข้างเคียง ผู้ที่อยู่ในบริเวณปนเปื้อนเอง แหล่งน้ำผิวดิน
ตลอดจนสิ่งแวดล้อมโลก
การติดตามผลอย่างต่อเนื่อง
          -   เจาะจงเป้าหมายการปรับปรุงสภาพด้านสิ่งแวดล้อม โดยมีกำหนดเวลาที่แน่นอน
          -   จำกัดการตรวจสอบเฉพาะในสิ่งที่ยังไม่ถูกต้องตามกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้
          -   พัฒนาปรับปรุงระบบการจัดการ มาตรการเพื่อหลีกเลี่ยงความไม่ถูกต้องในอนาคต
             Environmental Auditing ใน ISO 14000 นี้ได้กำหนดเพียงการตรวจสอบ EMS
ตลอดจนแนวทาง ขั้นตอน วิธีการตรวจสอบและคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบ
5.  การสนองตอบต่อ ISO 14000 ในประเทศต่าง ๆ
          -   ในอังกฤษมี BS 7750 - มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งไม่แตกต่างจาก ISO 14001
มากนัก
          -  ออสเตรีย และสวิสเซอร์แลนด์ได้นำฉบับร่าง ISO 14001 มาใช้เป็นมาตรฐานแห่งชาติ
          -   สหภาพยุโรปก็มี Eco-Management and Auditing Scheme (EMAS) ซึ่ง
คล้ายกับ ISO 14001 มาก
          -   รัฐบาลแคนาดากำลังพิจารณา การขึ้นทะเบียน EMS เป็นกฎเกณฑ์ในการจัดซื้อผลิตภัณฑ์
และองค์กรมาตรฐานแห่งชาติได้ดำเนินการโครงการนำร่องของ EMS
          -  EMS จะมีบทบาทอย่างมากในการปรับปรุงกฎหมายสิ่งแวดล้อมในสหรัฐอเมริกา
          -   ในประเทศแถบลาตินอเมริกา ได้ให้ความสนใจ EMS เป็นอย่างสูงเนื่องจากเกรงว่าจะเป็น
เครื่องกีดกันทางการค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบราซิล และซิลี ในเม็กซิโกมีโครงการร่วมกับธนาคารโลก
เพื่อนำ ISO 14000 มาใช้พิจารณาประกอบการวางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ
          -   ในภาคพื้นเอเซีย แปซิฟิก ญี่ปุ่น กำลังพิจารณาใช้การตรวจสอบสิ่งแวดล้อมจากบุคคลที่สาม
(Third Part Audit) โดยหลายบริษัทได้ประกาศความตั้งใจที่จะให้มีการรับรอง ISO14001 เกาหลี
ก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ให้ความสนใจ ISO 14000 เป็นพิเศษถึงขนาดดำริจะแก้กฎหมายให้ผนวก
ISO 14000 เข้าไปด้วยเพื่อผลในการปฏิบัติและหลายบริษัทได้การรับรอง BS 7750 ไปแล้วออสเตรเลีย
และนิวซีแลนด์ ได้รับเอาฉบับร่าง ISO 14001 มาเป็นมาตรฐานแห่งชาติ ฮ่องกงและสิงคโปร์ รณรงค์จัด
การสัมมนา ฝึกอบรม ISO 14000 พร้อมทั้งชักชวนบริษัทที่มีความพร้อมมาร่วมโครงการนำร่อง EMS
โดยจัดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการและให้นำไปประยุกต์ใช้ในกิจการของตน จากนั้นให้รายงานและประเมิน
ผลการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
          -   ส่วนประเทศไทย คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2538 แต่ตั้งคณะกรรมการแห่งชาติ
ว่าด้วยการรับรองระบบงานด้านการมาตรฐาน (National Accreditation Council - NAC)
มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน และมีผู้บริหารระดับสูงทั้งในภาครัฐและเอกชนเป็น
กรรมการ รวมทั้งสิ้น 29 คนมีอำนาจหน้าที่หลักในการกำหนดนโยบายการดำเนินการด้านการมาตร-ฐาน
ของประเทศ ให้การรับรองหรือเพิกถอนหน่วยงานเพื่อการปฏิบัติการด้านการมาตรฐาน ดำเนินการเพื่อให้
บรรลุการยอมรับร่วมผลการตรวจสอบและการรับรองกับนานาประเทศที่เป็นคู่ค้า และแต่งตั้งคณะอนุกรรม
การสาขาต่าง ๆ มาช่วยงาน ส่วนคณะกรรมการสาขาการรับรองระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (EMS)
อยู่ใน ระหว่างการจัดตั้งขึ้น นอกจากนี้ ทั้งภาครัฐและเอกชนก็จัดการสัมมนาเรื่อง ระบบการจัดการสิ่งแวด
ล้อมอยู่อย่างต่อเนื่อง
          เรื่องเร่งด่วนขณะนี้คือ ต้องให้ความรู้ ความเข้าใจ แก่เจ้าของธุรกิจอุตสาหกรรมในเรื่อง
ISO 14000 มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุดและเร่งระดมให้มีการดำเนินการตามอย่างจริง
จัง เพื่อผลประโยชน์สูงสุดของชาติในอนาคตใกล้ เพราะเจ้าของกิจการอาจได้รับคำถามจากคู่ค้าของตนว่า
            
                      "คุณได้การรับรอง ISO 14000 แล้วหรือยัง"