ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม
ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2536)
ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535
เรื่อง   กำหนดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน

-------------------------------------

          อาศัยอำนาจตามความในข้อ 16 แห่งกฎกระทรวงฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2535) ออกตามความใน
พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงออกประกาศกำหนด
ค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงานไว้ดังนี้
ลำดับที่ 1          ชนิดของสารเจือปน           แหล่งที่มาของสาร          ค่าปริมาณของ
                                                                                                      สารเจือปนในอากาศ

    1.                 ฝุ่นละออง                   หม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อเพลิงดังนี้
                      (Particulate)          - น้ำมันเตา                       300 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                                                       -   ถ่านหิน                         400 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                                                       - เชื้อเพลิงอื่น ๆ                 400 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                                                       การถลุง หล่อหลอม รีดดึง   300 มิลลกิรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                                                       และ/ หรือผลิตเหล็กกล้า
                                                       อลูมิเนียม
                                                       การผลิตทั่วไป                   400 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
    2.                  พลวง                         การผลิตทั่วไป                    20 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                        (Antimony)
    3.                  สารหนู                       การผลิตทั่วไป                    20 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                        (Arsenic)
   4.                  ทองแดง                      การหลอมหรือการถลุง         30 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                       (Copper)
   5.                  ตะกั่ว                          การผลิตทั่วไป                    30 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                       (Lead)
   6.                  คลอรีน                        การผลิตทั่วไป                    30 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                       (Chlorine)      
   7.                  ไฮโดรเจนคลอไรด์        การผลิตทั่วไป                  200 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                        (Hydrogen chlorine)
   8.                   ปรอท                          การผลิตทั่วไป                     3 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                         (Mercury)
   9.                    คาร์บอนอนอกไซด์       การผลิตทั่วไป                 100 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                         (Carbon monoxide)                                         หรือ 25 ส่วนในล้านส่วน
  10.                   (Sulfuric acid)    การผลิตทั่วไป                        100 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                                                                                                  หรือ 25 ส่วนในล้านส่วน
   11.                   (Hydrogen sulfide) การผลิตทั่วไป                     30 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
   12.                   (Sulfur dioxide)  การผลิตกรดซัลฟูริค                  30 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
  13.                    (Oxides of nitrogen)หม้อไอน้ำที่ใช้เชื้อ
                                             เพลิงดังนี้                                (วัดในรูปไนโตรเจนไดออกไซด์)
                                             - ถ่านหิน                                   940 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                                                                                           500 ส่วนในล้านส่วน
                                             - เชื้อเพลิงอื่น ๆ                           470 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

  14.                    ไซลีน
                          (Xylene)             การผลิตทั่วไป                       870 มิลลิกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
                                                                                            หรือ 200 ส่วนในล้านส่วน
   ข้อ 2   การวัดค่าปริมาณของสารเจือปนในอากาศที่ระบายออกจากโรงงาน ให้วัดอากาศที่ระบาย
ออกจากปล่องในขณะประกอบกิจการโรงงาน
   ในกรณีที่ไม่มีปล่องให้วัดที่ช่องระบายอากาศซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ เห็นว่าน่าจะมีปริมาณของ
สารเจือปนระบายออกมากที่สุด
   ข้อ 3   ระดับค่าปริมาณของสารแต่ละชนิดที่เจือปนในอากาศ ให้คำนวณเทียบที่ความดัน 1
บรรยากาศ และอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส

                                                                   ประกาศ   ณ  วันที่  20  กรกฎาคม  2536
 

                                                                                พลตรีสนั่น   ขจรประศาสน์

                                                                                   (สนั่น   ขจรประศาสน์)
                                                                        รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม    

             สำเนาถูกต้อง
            (นายเสถียร   วีระวงศ์)
        เจ้าหน้าที่บริหารงานธุริการ 5