สรุปกฎกระทรวง
ที่ออกตามความในพระราชบัญญติโรงงาน พ.ศ. 2535


          พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ได้กำหนดให้มีการออกกฎกระทรวง เพื่อเป็นหลักเกณฑ์
และข้อปฏิบัติสำหรับผู้ประกอบการดรงงานที่จะดำเนินการให้ถูกต้องตามกฏหมาย และให้เป็นไป
ด้วยความเรียบร้อย ปลอดภัย ไม่ก่อเหตุเดือดร้อนอันตรายต่อบุคคล ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม
กฎกระทรวง 8 ฉบับแรก มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2535 เป็นต้นมา สาระสำคัญที่ต้อง
ให้ความสนใจเป็นพิเศษ พอจะสรุปได้ดังต่อไปนี้
กฎกระทรวง ©ºÑº·Õè 1
          กล่าวถึงการให้โรงงานตามประเภทหรือชนิดที่ระบุในบัญชีท้ายกฎกะทรวงนี้เป็นโรงงาน
ตามกฏหมาย และยังได้แบ่งจำแนกโรงงานเหล่านี้เป็นโรงงานจำพวกที่ 1, 2 และ 3 ซึ่งหากจะ
กล่าวโดยย่อได้ดังนี้
          -  โรงงานจำพวกที่ 1 หมายถึงโรงงานขนาดเล็กไม่มีปัญหามลพิษและสามารถประกอบ
กิจการโรงงานไปได้ โดยไม่ต้องขออนุญาตได้แก่ โรงงานบางประเภทที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 20
แรงม้า และคนงานไม่เกิน 20 คน แต่ทั้งนี้มิใช่เป็นกฎตายตัว เพราะโรงงานขนาดเล็กบางประเภท
ที่มีปัญหามลพิษ ก็ถูกจำแนกไว้เป็นจำพวกที่ 3 ก็มี เช่น โรงงานชุบโลหะด้วยไฟฟ้า เป็นต้น
          -  โรงงานจำพวกที่ 2 หมายถึง โรงงานขนาดกลาง ไม่มีปัญหามลพิษหรือหากมีก็เล็กน้อย
และสามารถตั้งโรงงานไปก่อนได้ หากแต่เมื่อจะเริ่มเดินเครื่องจักร ผู้ประกอบการโรงงานต้อง
แจ้งแก่ทางราชการทราบ ได้แก่ โรงงานบางประเภทที่ใช้เครื่องจักรไม่เกิน 50 แรงม้า และคนงาน
ไม่เกิน 50 คน
          -  สำหรับโรงงานจำพวกที่ 3 หมายถึงโรงงานขนาดใหญ่ที่มีปัญหามลพิษ หรือที่เสี่ยงต่อ
อันตราย และผู้ประกอบการต้องขออนุญาตก่อนจะตั้งโรงงาน การพิจารณาดูว่ากิจการของผู้
ประกอบการโรงงานจัดจำแนกอยู่จำพวกใด ให้ตรวจสอบดูจากบัญชีท้ายกฎกระทรวงออกตาม
ความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 หรือสอบถามได้จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม และ
สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทุกแห่ง
กฎกระทรวงฉบับที่ 2
          กล่าวถึงหลักเกณฑ์ที่เกี่ยวกับทำเลที่ตั้ง สภาพแวดล้อม ลักษณะอาคารและลักษณะภาย
ในของโรงงาน ประเด็นสำคัญที่ควรรู้คือ
          -   บริเวณที่ห้ามตั้งโรงงาน โดยกำหนดห้ามตั้งโรงงานจำพวกที่ 1 และ 2 ในบริเวณที่พัก
อาศัย และห้ามตั้งภายในระยะ 50 เมตรจากเขตติดต่อสาธารณสถาน ห้ามตั้งโรงงานจำพวกที่ 3
ในบริเวณที่พักอาศัย และห้ามตั้งภายในระยะ 100 เมตรจาเขตติดต่อสาธารณสถาน อีกทั้งต้อง
อยู่ในทำเลและสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม มีบริเวณเพียงพอที่จะประกอบกิจการอุตสาหกรรม
ตามขนาด และประเภทหรือชนิดของโรงงาน โดยไม่อาจก่อให้เกิดอันตราย เหตุรำคาญ หรือความ
เสียหายต่อบุคคลหรือทรัพย์สินผู้อื่น ทั้งนี้สาธารณสถานในส่วนที่เป็นสถานที่ทำการงานของ
หน่วยงานของรัฐ ไม่หมายความถึงสถานที่ทำการงานโดยเฉพาะเพื่อการควบคุม กำกับดูแล
อำนวยความสะดวก หรือให้บริการแก่การประกอบกิจการของโรงงานแห่งนั้น ๆ เช่น ห้องปฏิบัติ
งานวิเคราะห์หรือทดสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของทางราชการ เป็นต้น
         -   อาคารโรงงานต้องมั่นคง แข็งแรงและภายในโรงงานต้องมีบริเวณเพียงพอ โดยมีคำรับรองของ

ผู้ประกอบวิชาอาชีพวิศวกรรมควบคุม มีการระบายอาการที่ดี มีประตูหรือ
ทางออกที่เพียงพอ ระยะดิ่งระหว่างพื้นถึงเพดานโดยเฉลี่ยต้องไม่น้อยกว่า 3 เมตร แต่ถ้ามีระบบ
ปรับอากาศหรือการระบายอากาศที่เหมาะสมอาจลดระยะดิ่งลงมาได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า2.30 เมตร
          -   ตัวพื้นโรงงานต้องมั่นคง แข็งแรงไม่ลื่น บริเวณหรือห้องทำงานต้องมีเนื้อที่ไม่น้อยกว่า
3  ตารางเมตรต่อคน
          -   ต้องจัดให้มีห้องสุขา และห้องน้ำที่ถูกสุขลักษณะ
          -   เครื่องจักร และเครื่องอุปกรณ์ที่ใช้ต้องมั่งคง แข็งแรง ปลอดภัย โดยมีวิศวกรรับรองและ
ไม่ก่อความสั่นสะเทือน เสียง หรือคลื่นวิทยุ รบกวนผู้อาศัยข้างเคียง
          -  หม้อน้ำ (Boiler) เครื่องอัดก๊าซ (Compressor) ภาชนะบรรจุความดัน
(Pressure Vessel) หรือถังปฏิกิริยา (Reactor) ต้องได้มาตรฐานโดยมีวิศวกรรับรอง
          -   ภาชะบรรจุวัตถุอันตรายตั้งแต่   25,000 ตันต่อชั่วโมงขึ้นไป ต้องมั่นคง แข็งแรง และได้
มาตรฐาน โดยมีวิศวกรรับรอง และต้องมีมาตราการป้องกันการรั่วไหลหรือล้นออก
          -   ระบบไฟฟ้าทั้งหมด ต้องเป็นไปตามหลักวิชาการ โดยมีวิศวกรรับรอง
          -   สำหรับโรงงานที่ใช้หม้อไอน้ำ ผู้ประกอบการโรงงานต้องจัดให้มีผู้ควบคุมประจำหม้อ
ไอน้ำ และหากหม้อไอน้ำมีขนาดตั้งแต่ 20 ตันต่อชั่วโมงขึ้นไป ผู้ประกอบการต้องจัดให้วิศวกร
ผู้ควบคุมและอำนวยการใช้หม้อไอน้ำเพิ่มเติมอีกด้วย
         -   ในเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมดูแลระบบบำบัดมลพิษ ผู้ประกอบการต้องจัดให้มีผู้ควบคุม
ดูแลและผู้ปฏิบัติงานประจำ การควบคุมการปล่อยของเสียมลพิษหรือสิ่งใด ๆ ที่มีผลต่อสิ่งแวด
ล้อมต้องเป็นไปตามประกาสกระทรวงอุตสาหกรรม เช่น มาตรฐานน้ำทิ้ง จากโรงงานหรือ
มาตรการการกำจัดกากสารพิษอุตสาหกรรม เป็นต้น ตลอดจนให้ผู้ประกอบการต้องติดตั้งมาตรวัด
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าสำหรับระบบบำบัดน้ำเสียโดยเฉพาะ และการบันทึกปริมาณสารเคมี
ใช้ในการบำบัดน้ำเสียทุกวัน จะเห็นได้ว่ากฏกระทรวงฉบับนี้ได้เน้นให้ภาคเอกชน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งวิศวกร เข้ามามีส่วนร่วมในการรับผิดชอบต่อโรงงานและสังคมมากยิ่งขึ้น ผู้ฝ่าฝืนหรือ
ไม่ปฏิบัติตามกฏกระทรวงฉบับนี้ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองแสนบาท ยกเว้นที่เกี่ยวกับ
ความผิดที่ฝ่าฝืนไม่จัดให้มีเอกสารที่จำเป็นประจำโรงงานเพื่อประโยชน์ในการควบคุมหรือ
ตรวจสอบการปฏิบัติตามกฏหมายต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
กฏกระทรวงฉบับที่ 3
          กล่าวถึงหน้าที่ของผู้ประกอบการโรงงานที่ต้องจัดส่งรายงานข้อมูลการตรวจสอบต่าง ๆ
ทางด้านสิ่งแวดล้อมและความปลอดภัย ซึ่งเกี่ยวข้องกับหม้อไอน้ำ ระบบบำบัดมลพิษ สาร
กัมมันตตรังสีและสารวัตถุอันตราย ตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 หากไม่ปฏิบัติตาม
ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
กฏกระทรวงฉบับที่ 4
          กล่าวถึงขั้นตอนที่โรงงานจำพวกที่ 2 ต้องแจ้งเริ่มประกอบกิจการโรงงาน สำหรับโรงงาน
ที่ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานครนั้นให้แจ้งที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ส่วนที่ตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้แจ้ง
ที่สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนั้น ๆ โดยใช้แบบ ร.ง.1 และเมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ได้รับแจ้ง
แล้วจะออกใบรับแจ้งตามแบบ ร.ง.2 โรรงานก็สามารถประกอบกิจการได้ทันที ผู้ฝ่าฝืนไม่ได้แจ้ง
ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
กฏกระทรวงฉบับที่ 5
          กล่าวถึงขั้นตอนการอนุญาตของโรงงานจำพวกที่ 3 โดยให้ใช้แบบ ร.ง.3 สำหรับการขอรับ
ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานหรือใบอนุญาตขยายโรงงาน หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเมื่อจะขอ
อนุญาตตั้งหรือขยายโรงงานนั่นเอง
          -   เมื่อใบอนุญาตหมดอายุลง (อายุใบอนุญาต 5 ปี) ให้นำใบอนุญาตเดิมมาแสดงพร้อมทั้ง
ยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตตามแบบ ร.ง. 3/1
          -   ส่วนขอรับโอนกิจการให้ใช้แบบ ร.ง. 3/2
          -  แบบ ร.ง. ทั้งหลายที่กล่าวมาให้โรงงานในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นคำขอ 2 ชุด ต่อกรม
โรงงานอุตสาหกรรม ส่วนในต่างจังหวัดให้ยื่น 3 ชุด ต่อสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดนั้น ๆ
          -   การยื่นต่ออายุให้ชำระค่าธรรมเนียมพร้อมกัน และหากยื่นหลังจากใบอนุญาตหมดอายุ
ลงแล้ว แต่ไม่เกิน 60 วัน จะต้องต้องเสียค่าปรับเพิ่มอีก 20%
       -   ใบอนุญาตทั้งหลายจะรวมอยู่ในเล่มเดียวกันเรียกชื่อว่า ร.ง. 4
       -   กฎกระทรวงฉบับนี้มีข้อเด่นพิเศษอยู่ที่ว่า การพิจารณาอนุญาตต้องให้เสร็จภายใน 90วัน
หากเอกสารและเรื่องราวทุกอย่างถูกต้องเรียบร้อย ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการโรงงานสามารถวาง
แผนโครงการได้อย่างถูกต้องชัดเจน ส่วนผู้ใดที่ประกอบกิจการโรงงานโดยไม่ได้รับอนุญาตต้อง
ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และเมื่อประสงค์
จะเริ่มประกอบกิจการโรงงานในส่วนหนึ่งส่วนใดต้องแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบไม่น้อยกว่า
สินห้าวัน ก่อนวันเริ่มประกอบการกิจการโรงงาน หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่
เกินสองหมื่นบาท
กฎกระทรวงฉบันที่ 6
       กล่าวถึงการแจ้งทดลองเดินเครื่องจักรได้ไม่เกิน 60 วัน (ถ้าเกิน 60 วัน ต้องขออนุญาตเป็น
กรณีพิเศษ) การแจ้งในกรุงเทพมหานครให้แจ้งต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดอื่นให้แจ้ง
ต่อสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด ทั้งนี้ต้องแจ้งก่อนล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน และในระหว่าง
การทดลองเดินเครื่องจักร ผู้ประกอบการต้องจัดทำบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตและเก็บรักษาไว้
ในโรงงานสำหรับตรวจสอบต่อไป หากผู้ใดไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสองหมื่น
บาท
กฎกระทรวงฉบันที่ 7
       กล่าวถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เริ่มตั้งแต่คำขอฉบับละ 10 บาท ค่าธรรมเนียมใบอนุญาต
ประกอบกิจการโรงงาน หรือใบอนุญาตขยายโรงงานหรือต่ออายุ อยู่ในช่วงตั้งแต่ 500 บาท จนถึง
60,000 บาท ทั้งนี้ขึ้นกับว่าโรงงานนั้นใช้คนงานอย่างเดียว หรือใช้เครื่องจักรจำนวนเท่าใด ราย
ละเอียดให้ดูจากกฎกระทรวงฉบับที่ 7
กฎกระทรวงฉบับที่ 8
       กล่าวถึงค่าธรรมเนียมรายปีที่โรงงานจำพวกที่ 2 และ 3 ต้องชำระล่วงหน้า โดยนับตั้งแต่
วันเริ่มประกอบกิจการโรงงาน สำหรับผู้ที่ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่ 2 และ 3 อยู่แล้วในวัน
ที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ ให้ชำระค่าธรรมเนียมรายปี สำหรับการประกอบกิจการตั้งแต่วันที่
9 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 จนถึงวันที่ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปีสำหรับปี พ.ศ. 2536 รวมกับค่า
ธรรมเนียมล่วงหน้าอีก 1 ปี ทั้งนี้ให้นำใบรับแจ้งการประกอบกิจการโรงงานหรือใบอนุญาต
ประกอบกิจการโรงงานแล้วแต่กรณีไปแสดงด้วย ยกเว้นโรงงานที่ตั้งอยู่ในเขตนิคมอุตสาหกรรม
โรงงานในกรุงเทพมหานครให้ชำระที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม ในจังหวัดอื่นให้ชำระที่สำนักงาน
อุตสาหกรรมจังหวัด ค่าธรรมเนียมรายปีจะอยู่ในช่วงตั้งแต่ 150 บาท จนถึง 18,000 บาท ขึ้นกับ
การใช้คนงานหรือเครื่องจักรจำนวนแรงม้าเท่าใด รายละเอียดให้ดูจากกฎกระทรวงฉบับที่ 8
       ตัวอย่าง การคิดค่าธรรมเนียมรายปี สำหรับโรงงานที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรง
งานก่อนวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2535 (วันที่พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 มีผลใช้บังคับ)
       สมมุติโรงงาน ก. ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงานตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.
2530 (คือก่อนวันที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2535) ขนาดเครื่องจักร 150 แรงม้า อัตราค่าธรรมเนียม
รายปี 1,500 บาท
       ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2536 โรงงาน ก. ต้องชำระค่าธรรมเนียมรายปี ตั้งแต่วันที่ 9 กรกฎาคม
พ.ศ. 2535 จนถึงวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2536 (= 209 วัน) เป็นเงิน
       209 / 365 x 1,500 = 858.90 บาท
รวมกับค่าธรรมเนียมล่วงหน้าอีก 1 ปี (1,500) ดังนั้น โรงงาน ก. ต้องชำระทั้งสิ้น
       858.90 + 1,500.00 = 2,38.90 บาท
และวันครบกำหนดชำระครั้งต่อ ๆ ไป คือวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปี
       และสมมุติว่าเมื่อครบกำหนดชำระค่าธรรมเนียมรายปีครั้งต่อไป คือวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ.
2537 ปรากฎว่าโรงงาน ก. มาชำระวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2537 ดังนั้งโรงงาน ก. ต้องชำระค่า
ธรรมเนียมรายปี 1,500 บาท รวมกับเงินเพิ่ม (เป็นค่าปรับเนื่องจากมาชำระล่าช้าเลยกำหนด)
อีก 5% ของค่าธรรมเนียมค่อเดือน ระยะเวลาที่คิดเงินเพิ่มคือ ตั้งแต่วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537
ถึง 10 เมษายน พ.ศ. 2537 = 67 วัน เป็นเงิน
       (67 / 30) x 1,500 x 0.05 = 167.50 บาท
       โรงงาน ก. จึงต้องชำระทั้งสิ้น 1,500 + 167.50 = 1,667.50 บาท
       ตัวอย่างตังกล่าวอาจก่อความยุ่งยากอยู่บ้าง แต่หากผู้ประกอบการมาชำระตามกำหนด ก็
จะหลีกเลี่ยงเรื่องดังกล่าวไปได้ ดังนี้ ข้อแนะนำคือให้จดจำหรือบันทึกวันที่โรงงานได้รับอนุญาต
ให้เริ่มประกอบกิจการโรงงาน (วันเริ่มเดินเครื่องจักร) ซึ่งจะเป็นวันที่ผู้ประกอบการต้องไปชำระ
ค่าธรรมเนียมของทุกปีนั่นเอง และข้อพึงระวังคือ หากผู้ประกอบการไม่ยินยอมเสียค่าธรรมเนียม   รายปีโดยไม่มีเหตุอันสมควร พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจสั่งให้ผู้นั้นหยุดการประกอบกิจการไว้
ได้จนกว่าจะได้เสียค่าธรรมเนียม และเงินเพิ่มจนครบจำนวน
สรุป กฎกระทรวงที่ได้กล่าวมาข้างต้น เป็นส่วนที่สำคัญที่โรงงานต้องยึดถือปฏิบัติ โดยได้กล่าว
รวมถึงบทบาทและหน้าที่ที่สำคัญของวิศวกร ตลอดจนนักวิทยาศาสตร์ หรือช่าวเทคนิคที่เกี่ยวข้อง
ในอันที่จะมีส่วนร่วมกันรับผิดชอบเพื่อให้การประกอบอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ปลอดภัย และปลอดมลพิษ หรือที่มีผลกระทบต่อสิ่งสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดต่อไป