พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ที่เกี่ยวกับปัญหาสิ่งแวดล้อม


บทนำ
          พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 (พรบ.ใหม่) ที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่
9 เมษายน 2535 นั้น มีผลใช้บังคับในเดือนกรกฎาคม 2535 ตาม พรบ.ใหม่ฉบับนี้ให้ยกเลิกพรบ.
เก่า พ.ศ. 2512, 2516 และ 2522 ดังนั้นจึงเป็นความจำเป็นและสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้ประกอบ
กิจการโรงงานและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในอันที่จะศึกษาและรับรู้ถึงกฎหมายใหม่ฉบับนี้พรบ.
โรงงานเปรียบเสมือนเครื่องมือขของรัฐในการกำกับดูแลกิจกรรมทั้งหลายทั้งปวงของโรงงาน
อุตสาหกรรมรวมทั้งปัญหาและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากโรงงานอุตสากรรม พรบ.ใหม่
ฉบับนี้เน้นในแนวทางกำกับดูแลให้ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมตลอดจนวิศวกรในโรงงานรวมทั้ง
ภาคเอกชนมีบทบาทและความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวมมากยิ่งขึ้น โดยรัฐจะยึดหยุ่นใน
ส่วนเกี่ยวกับการอนุญาตให้มีความคล่องตัวขึ้น แต่ในขณะเดียวกันหากผู้ประกอบการและผู้ที่
เกี่ยวข้องขาดความรับผิดชอบก็จะมีบทลงโทษซึ่งหนักกว่าเดิมมาก
หลักการและเหตุผล
          โดยที่พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2512 มีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจ
และสังคมปัจจุบัน และไม่เอื้ออำนวยต่อการส่งเสริมการประกอบกิจการโรงงาน เนื่องจากกำหนด
ให้โรงงานทุกลักษณะต้องขออนุญาตเช่นเดียวกัน ทั้ง ๆ ที่ตามสภาพที่เป็นจริงโรงงานต่าง ๆ มี
ลักษณะที่แตกต่างกัน โรงงานบางประเภทไม่จำเป็นจะต้องควบคุมดูแลการตั้งโรงงานเพียงแต่
ดูแลการดำเนินงานเท่านั้น คงมีแต่โรงงานประเภทที่อาจเกิดอันตรายและก่อปัญหาสิ่งแวดล้อม
จากการประกอบกิจการได้เท่านั้นที่ควรจะควบคุมการจัดตั้งอย่างเคร่งครัด จึงปรับปรุงระบบการ
ควบคุมดูแลให้สอดคล้องกับสภาพการประกอบกิจการด้วย การให้โรงงานบางจำพวกอาจประกอบ
กิจการภายใต้ระบบการกำกับดูแลตามปกติ และโรงงานบางจำพวกจะต้องแจ้งให้ทราบก่อนจึงจะ
เริ่มประกอบการได้ โดยคงมีแต่โรงงานบางจำพวกที่จำเป็นเท่านั้นที่จะยังคงใช้ระบบอนุญาตและ
ปรับปรุงวิธีการอนุญาตให้เหมาะสมยิ่งขึ้นด้วย นอกจากนี้ได้กำหนดให้มีการประสานงานกัน
ระหว่างพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการอนุญาตตามกฎหมาย ให้พิจารณาลดการดำเนินงาน
ที่ซ้ำซ้อนกันเพื่อความสะดวกแก่ผู้ประกอบการ และปรับปรุงการควบคุมการประกอบกิจการโรง
งานให้ชัดเจน และกำหนดขั้นตอนการใช้อำนาจของพนักงานเจ้าหน้าที่ในการออกคำสั่ง เพื่อบังคับ
ให้โรงงานปฏิบัติตามกฎหมายในโรงงาน นอกเหนือจากเจ้าของโรงงาน เพื่อให้การควบคุมเป็นไป
อย่างได้ผลยิ่งขึ้นจึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้
รายละเอียดที่สำคัญของ พรบ.ใหม่เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมโรงงาน
          พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ให้คำจำกัดความของโรงงานใหม่ คือ อากคาร สถานที่
หรือยานพาหนะที่ใช้เครื่องจักรมีกำลักงรัวมตั้งแต่ 5 แรงม้า หรือใช้คนงานตั้งแต่ 7 คนขึ้นไป และ
ให้การต่ออายุใหม่ทุก 5 ปี จากเดิมต้องต่อทุก 3 ปี
          พระราชบัญญัติโรงงานใหม่ จัดแบ่งประเภทโรงงานเป็น 3 จำพวก จากเดิมถือว่าคลุมหมด
ทุกประเภท คือ ระเบียบเดียวกันหมด กล่าวคือ
          จำพวกที่ 1 ไม่ต้องขออนุญาตดำเนินการได้เลยตามความประสงค์ของผู้ประกอบการเช่น
โรงงานบริการทั่วไป
          จำพวกที่ 2   ประกอบกิจการได้โดยไม่ต้องขออนุญาตตั้งโรงงาน แต่ก่อนเปิดดำเนินการ
ต้องแจ้งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมหรือสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทราบเท่านั้น แล้วแต่กรณี
เช่น โรงงานขนาดกลาง ที่ไม่ก่อปัญหามลพิษมากนัก
         จำพวกที่ 3 เป็นโรงงานที่ต้องขออนุญาตตั้ง และประกอบกิจการ เช่น โรงงานที่ก่อปัญหา
มลพิษ เป็นต้น
           ทั้งนี้โรงงานทุกจำพวกต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในกฎกระทรวงและประกาศ
ของรัฐมนตรีซึ่งเกี่ยวกับที่ตั้งสภาพแวดล้อม ลักษณะอาคารหรือลักษณะภายในโรงงาน การ
กำหนดลักษณะประเภทหรือชนิดของเครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ หรือสิ่งที่ต้องนำมาใช้ในการ
ประกอบกิจการโรงงาน การกำหนดให้มีคนงานที่ต้องมีความรู้เฉพาะทาง การกำหนดมาตรการ
ป้องกันอุบัติภัย มาตราการป้องกันและแก้ไขมลพิษอุตสาหกรรมตลอดจนมาตรฐานน้ำทิ้งและ
อากาศที่ปล่อยออนนอกโรงงาน การำหนดให้มีเอกสารที่บันทึกข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการประกอบ
กิจการเพื่อประโยชน์ในการควบคุม หรือตรวจสอบการปฏิบัติตามกฎหมาย โดยต้องจัดให้มีประจำ
ในโรงงานหรือจัดส่งข้อมูลสำคัญ เพื่อแจ้งต่อทางการทราบ
          การขอเปิดประกอบกิจการโรงงานอาจของเปิดเป็นบางส่วนหรือขอทดลองเครื่องจักรได้ทั้ง
นี้ต้องแจ้งล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 15 วัน ใบอนุญาตกำหนดให้มีอายุ 5 ปีปฏิทิน การขอต่ออายุเดิม
หากต่อไม่ทันต้องขออนุญาตตั้งและประกอบกิจการโรงงานใหม่พร้อมกัน แต่สำหรับ พรบ.ใหม่
ยังให้เวลาอีก 60 วัน หลังวันหมดอายุ แต่ต้องเสียค่าปรับเพิ่ม 20% และผู้ประกอบการมีสิทธิ
อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ทราบคำสั่งไม่อนุญาตให้ต่ออายุ
          พรบ.ใหม่ยังให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศกำหนดท้องที่ใด
ท้องที่หนึ่งเป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมได้ ซึ่งการประกอบกิจการของโรงงานในเขตนี้ได้รับ
การยกเว้นไม่ต้องแจ้งให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ ทราบ ตามมาตรา 11 สำหรับโรงงานจำพวกที่ 2
หรือไม่ต้องได้รับอนุญาตตามมาตรา 12 สำหรับโรงงานจำพวกที่ 3
          ในกรณีที่พบว่า การประกอบกิจการโรงงานมีสภาพที่อาจก่อให้เกิดอันตราย ความเสียหาย
หรือความเดือดร้อนแก่บุคคล หรือทรัพย์สินที่อยู่ในหรือใกล้เคียงโรงงาน พนักงานเจ้าหน้าที่จะมี
คำสั่งให้โรงงานปรับปรุงแก้ไขให้เรียบร้อยภายในกำหนดเวลา หากโรงงานยังไม่รีบดำเนินการ
หรือการประกอบกิจการโรงงานอาจก่อให้เกิดความเสียหายร้ายแรง กรมโรงงานอุตสาหกรรมก็มี
อำนาจสั่งให้หยุดโรงงานได้ และถ้ายังไม่ยอมปรับปรุงแก้ไขอีกก็มีอำนาจสั่งปิดโรงงานได้ ซึ่งใน
กรณีที่เป็นโรงงานจำพวกที่ 3 คำสั่งปิดโรงงานก็คือการเพิกถอนใบอนุญาตนั่นเอง อย่างไรก็ดีผู้
ประกอบการก็มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีภายใน 30 วัน
          ในกรณีที่ผู้ประกอบกิจการไม่ยอมปรับปรุงแก้ไขโรงงาน ถ้ามีเหตุที่ทางราชการสมควรเข้า
ไปดำเนินการแทนก็มีอำนาจสั่งการ หรือมอบหมายให้บุคคลใดเข้าจัดการแก้ไขเพื่อให้เป็นไปตาม
คำสั่งนั้นได้ โดยผู้ประกอบการต้องเสียค่าใช้จ่ายทั้งหมดตามจริงรวมกับเบี้ยปรับอีก 30% ต่อปี
ซึ่งก็ตรงกับหลักการที่ว่า ผู้สร้างปัญหามลพิษจะต้องเป็นผู้รับภาระในการบำบัดและกำจัดมลพิษ
(Polluter Pays Principle)
          สำหรับบทกำหนดโทษที่ควรรู้ไว้ ได้แก่
          -   ผู้ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฏกระทรวงว่าด้วยหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ต้องระวางโทษปรับไม่
เกิน 200,000 บาท
          -   ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวก 2 ที่ประกอบกิจการโดยไม่แจ้งต้องระวางโทษจำคุกไม่
เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          -   ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวก 3 ประกอบกิจการโดยไม่ได้รับอนุญาต ต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
          -   ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ขยายโดยไม่ได้รับใบอนุญาตขยายโรงงาน ต้องระวางโทษ
จำคุกไม่เกิน 2 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาม ปรือทั้งจำทั้งปรับ
          -   ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ไม่ยอมหยุด หรือไม่ยอมปิดตามคำสั่ง ต้องระวางโทษจำคุก
ไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 200,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และให้ปรับอีกวันละ 5,000 บาท
จนกว่าจะหยุดประกอบกิจการ สถาปนิกหรือวิศวกรที่ทำงานในโรงงานที่ฝ่าฝืน ต้องระวางโทษ
เช่นเดียวกับผู้ประกอบกิจการ ผู้ทำงานหรือคนงานในโรงงานที่ฝ่าฝืนก็ต้องโทษลดหลั่นลงมา
          -   ผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ในส่วนการปรับ
ปรุงแก้ไขโรงงาน ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้ง
ปรับ และให้ปรับอีกวันละไม่เกิน 5,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืน
          ตัวอย่างเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบทกำหนดโทษทั้งหมด ซึ่งหากพิจารณาดูแล้ว เป็น
บทกำหนดโทษที่รุนแรงกว่า พรบ.เดิม เนื่องจากเมื่อทางราชการได้ผ่อนปรนในส่วนการขออนุญาต
เพื่อความสะดวกรวดเร็ว และเอื้ออำนวนแก่บรรยากาศของการลงทุนแล้ว ก็มีความจำเป็นที่ทำให้
การกำกับดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันแก้ไขเหตุเดือดร้อนอันตราย ความปลอดภัย ตลอด
จนปัญหามลพิษอันเกี่ยวเนื่องมาจากโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
ถึงอย่างไรก็ตาม การที่จะอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้เป็นผลสำเร็จควบคู่ไปกับการพัฒนาอุตสาหกรรม
อย่างจีรังยั่งยืน ก็ต้องเริ่มจากการมีจิตสำนึก และความร่วมมืออย่างจริงจังของผู้ประกอบการ
อุตสาหกรรม และผู้ที่เกี่ยวข้องด้วยทุกฝ่าย เพื่อบรรลุเป้าหมายในอันที่จะนำมาซึ่งคุณภาพสิ่ง
แวดล้อมที่ดีขึ้นต่อไป