ข้อมูลที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ISO 14000

1. บทนำ

ในช่วงระยะเวลา 30-40 .ปีที่ผ่านมากระแสของความตระหนักในเรื่องสิ่งแวดล้อมได้แผ่ขยายไปทั่วโลก

สืบเนื่องจากการขยายตัวทางการผลิตเพื่อตอบสนองประชากรโลกที่เพิ่มขึ้นรวมไปถึง...

วิถีการบริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว จากปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลกเช่นการเกิดรูโหว่ของชั้นโอโซน...อุณหภูมิโลกที่ร้อน

ขี้นมาเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม ระดับประเทศประเทศ ...ไทย เองก็ประสบปัญหาดังกล่าวยิ่งมีการพัฒนาเศรษฐกิจรวดเร็วมากขึ้นเท่าใด .

ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ก็รุนแรงเป็นทวีคูณ.. ปัญหาสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยได้แก่ ..การสูญเสียเนื้อที่ป่า ปัญหามลพิษทางน้ำอากาศ.. กากสารพิษ ที่เพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา .ประเทศที่พัฒนาก็เคยประสบปัญหาสิ่งแวดล้อมดังกล่าว จึงได้สร้างมาตรการป้องกัน และคุ้มครอง สิ่งแวดล้อมที่เข้มงวดมากขึ้น และเพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมภายในประเทศของตน.. อีกทั้งได้ผลักดันประเทศที่กำลังพัฒนา เพิ่มมาตรการให้อยู่ในระดับเดียวกัน เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและคุ้มครองสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค องค์การสหประชาชาติได้จัดการประชุมสุดยอด ว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาขึ้นในปี พ.ศ. 2535 ณ กรุงริโอ เดอ จาเนโร ประเทศบราซิล เพื่อแสวงหาแนวทางการพัฒนา อย่างยั่งยืนของโลก ..ซึ่งมีผลนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Standards) ขึ้นภายใต้ Technical Commitee 207 (TC 207) ขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ International Organization for Standardization (ISO)

2. ISO 14000 และประเทศไทย

ถ้าพิจารณาในภาพรวมของบทนำแล้ว ประเทศไทยขาดการเอาใจใส่ต่อปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมมานาน เรามุ่งเน้นการผลิต เพื่อทดแทนการนำเข้าและต่อมาก็เพื่อการส่งออกผลิตภัณฑ์และบริการโดยลืมคำนึงถึง

สิ่งที่เหลือจากการผลิต การนำทรัพากรธรรมชาติมาใช้ส่วนที่เหลือจากกระบวนการผลิต กระบวนการนำทรัพยากรมาใช้ ก็คือของเสียที่เป็นมลพิษ มาสร้างปัญหาให้เราเอง ถึงตอนนี้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและมลพิษเริ่มเป็นปัญหาที่กระทบต่อเราทั้งทางร่างกายและ

จิตใจเราไม่ได้คิดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมในราคาสินค้าที่ผลิตและบริการถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้องมาพิจารณาด้านสิ่งแวดล้อมในการผลิต และการบริการมากขึ้นถ้าเราคิดต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมแล้วจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น

ราคาสินค้าแพงขึ้นหรือเปล่ากระทบต่อการแข่งข้น

หรือไม่ หลายท่านยังมีความเชื่อว่าการลงทุนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นการลงทุนที่สูญเปล่าโดยไม่มี

ผลผลิตเพิ่ม ต้นทุนและราคาสินค้าจะขึ้น ถ้าเราจัดการอย่างมีระบบ มีการเฝ้าติดตามและแก้ปัญหาตรงจุดที่แหล่งกำเนิด นอกจากจะช่วยลดต้นทุนของการผลิตแล้ว อาจจะทำให้ผลผลิตมากขึ้นด้วยโดยอาจจะไม่ต้องลงทุนเพิ่ม อาจจะเพิ่มแต่ระยะเวลา

การคืนทุนสั้น คุ้มกับการลงทุน ถ้าเราศึกษาอย่างจริงจังโดยใช้มาตรฐานการจัดการ

สิ่งแวดล้อม ISO 14000 แล้วเชื่อว่าจะเป็นประโยชน์ต่อองค์กรที่นำมาใช้และยังจะ

ช่วยลดมลพิษที่มีผลต่อส่วนรวมด้วย ถ้าพิจารณาทางด้านการค้าแล้ว ไม่ว่าจะเป็นภายในประเทศ หรือส่งออกก็ตาม เนื่องจากเรื่องสิ่งแวดล้อมนี้มีผลกระทบ

ต่อผู้เกี่ยวข้องในวงกว้าง ซึ่งอาจจะกล่าวได้ว่าทุกคน ทุกประเทศก็ว่าได้ ปัจจุบันผู้บริโภคฉลาดขึ้น เอาใจใส่ต่อสิ่งแวดล้อมและเงื่อนไขการเลือกซื้อสินค้าอย่าง

หนึ่งคือ กระบวนการผลิต กระบวนการใช้งานกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากน้อย

เพียงใดซึ่งธุรกิจหลายประเภทในประเทศจะใช้ประเด็นนี้ในเชิงการตลาดและการยอมรับในตัวสินค้าและองค์กร

ในด้านการส่งออกแล้วยิ่งจะต้องเอาใจใส่อย่างมาก เราได้มีประสบการณ์เรื่องการจัดการระบบคุณภาพ หรือ ISO 9000 มาแล้ว ผู้ซื้อจากต่างประเทศจะใช้เป็นเงื่อนไขในการซื้อสินค้า โดยผู้ขายจะต้องแสดงความรับผิดชอบในสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการส่งออกของเรามาก และยิ่งน่าจะมากกว่า ISO 9000 เพราะเรื่องสิ่งแวดล้อมนั้นมีผู้เกี่ยวข้องหลายฝ่าย และมีผลกระทบกว้างกว่า

ISO 14000 เป็นมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่มหลักด้วยกัน คือ มาตรฐานของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม มาตรฐานเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ และมาตรฐานที่เป็นเครื่องมือในการประเมินตรวจสอบ

ISO 14001,ISo 14004: มาตรฐานว่าด้วยระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

ISO 14010-14012: มาตรฐานว่าด้วยการตรวจสอบสิ่งแวดล้อม

ISO 14031: มาตรฐานว่าด้วยการประเมินผลการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม

ISO 14020-14024 มาตรฐานว่าด้วยฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม

ISO 14041-14044: มาตรฐานว่าด้วยการประเมินวงจรอายุของผลิตภัณฑ์

ISO 14050: คำศัพท์และนิยาม

ISO/IEC Guide 64: ข้อแนะนำว่าด้วยประเด็นปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์

2.1 ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม (Environmental Management Systems)

แรงกดดันทางด้านสิ่งแวดล้อมต่อองค์กรธุรกิจในปัจจุบันนี้มีมากขึ้น และเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา ทั้งทางด้านกฎหมาย เงื่อนไขการซื้อขายจากคู่ค้า ความต้องการสินค้าสีเขียวจากผู้บริโภคกลุ่มต่าง ๆ ของสังคม ทำให้องค์กรธุรกิจ ต้อง แสวงหาแนวทางและวิธีการในการ "ลด" แรงกดดันเหล่านี้ วิธีการดังกล่าวต้อง สามารถลดแรงกดดันต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมขององค์กรได้ อย่างต่อเนื่องในปัจจุบันนี้องค์กรส่วนใหญ่ได้เลือกใช้ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม เป็นเครื่องมือในการดำเนินการทางสิ่งแวดล้อมและปรับปรุงผลการดำเนินงานให้ ต่อเนื่องตลอดเวลา ระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม หมายถึงระบบการจัดการทางด้าน สิ่งแวดล้อมที่มีโครงสร้างหน้าที่ความรับผิดชอบที่ชัดเจน วิธีการ กระบวนการและ ทรัพยากรอย่างเพียงพอในการดำเนินการ

 

Road Map - ISO 14000

 

องค์ประกอบสำคัญของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

 

มาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม มีประเทศอังกฤษเป็นเลขาธิการ อนุกรมมาตรฐาน ฉบับนี้ประกอบด้วย 2 อนุกรม คือ

ISO 14001: Environment Systems:Specification with guidance for use เป็นข้อกำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และแนวทางในการนำข้อ กำหนดของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม และแนวทางในการนำข้อกำหนดไปใช้ใน องค์กร

ความคืบหน้า: ประกาศใช้แล้วในเดือน กันยายน 2539

 

CONTINUAL IMPROVEMENT

Environmental Managment System Model (ISO 14001)

ISO 14004: Enviornmental Management Systems: General guidelines on principles systems and supporting tedhniques: เป็นแนว ทางเกี่ยวกับหลักการของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมและการประยุกต์ใช้ในองค์กร

ความคืบหน้า: ประกาศใช้แล้ว เดือนกันยายน 2539

2.2 ตรวจสอบสิ่งแวดล้อม (Environmental Auditing)

องค์กรธุรกิจในปัจจุบันจำเป็นต้องแสดงถึงความรับผิดชอบทางด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น อยู่ตลอดเวลา การตรวจสอบสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมือในการตรวจประเมินการดำเนิน การด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อใช้ปรับปรุงผลการดำเนินงานทางด้านสิ่งแวดล้อม นอกเหนือ จากการเป็นอนุกรมหนึ่งของมาตรฐาน ISO 14000 แล้ว ประเทศต่าง ๆ ทั้งใน สหรัฐอเมริกา แคนาดา และสหภาพยุโรป ได้ให้ความสนใจในการตรวจสอบ สิ่งแวดล้อม เนื่องจากแรงผลักดันจากภาครัฐบาลและองค์กรเอกชน ทำให้บริษัท ต่างๆ ต้องมีการจัดทำการตรวจสอบสิ่งแวดล้อมภายในองค์กรของตนมากขึ้น

การตรวจสอบสิ่งแวดล้อม

การตรวจสอบสิ่งแวดล้อมอย่างเป็นระบบตามขั้นตอนที่กำหนดไว้โดยการประเมินจาก หลักฐานที่พบเพื่อพิจารณาว่าองค์กรนั้นได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดทางสิ่งแวดล้อมที่ได้ ตั้งไว้หรือไม่ และรวมทั้งการรายงานผลการตรวจสอบที่ได้ให้แก่ผู้เกี่ยวข้องทราบ

มาตรฐานการตรวจสอบสิ่งแวดล้อม มีประเทศเนเธอร์แลนด์เป็นเลขาธิการ อนุกรม มาตรฐานฉบับนี้ประกอบด้วย 3 มาตรฐาน

ISO 14010: Guidelines for Environmental Auditing-General Principles: เป็นแนวทางและหลักการในการตรวจสอบสิ่งแวดล้อมซึ่งสามารถนำไป ประยุกต์ใช้กับการตรวจสอบสิ่งแวดล้อมหลาย ๆ รูปแบบ

ความคืบหน้า: ประกาศใช้แล้วเดือนตุลาคม 2539

ISO 14011: Guidelines for Enironmental Auditing-Audit Procedures-Auditing of Environmental Management Systems: เป็นแนวทางในการ ตรวจสอบระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมซึ่งครอบคลุมถึงการวางแผน วิธีการดำเนินการ ตรวจสอบและตรวจสอบผล การดำเนินงานทางสิ่งแวดล้อมว่าเป็นไปตามมาตรฐาน ของระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมหรือไม่

ความคืบหน้า: ประกาศใช้แล้วเดือนตุลาคม 2539

ISO 14012: Guidelines for Environmental Auditing-Criteria for Environmental Auditors: เป็นข้อกำหนดคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบสิ่งแวดล้อม และหัวหน้าผู้ตรวจสอบสิ่งแวดล้อมซึ่งครอบคลุมถึงผู้ตรวจสอบสิ่งแวดล้อมภายในองค์ กร และผู้ตรวจสอบสิ่งแวดล้อมอิสระ

ความคืบหน้า: ประกาศใช้แล้วเดือนตุลาคม 2539

2.3 ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม (Environmental Labeling)

ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม ถือเป็นกลยุทธหนึ่งที่ใช้การตลาดเป็นเครื่องมือในการป้องกัน และสภาพแวดล้อม โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้บริโภคและผู้ผลิตแบบสมัครใจ การ กำหนดมาตรฐานฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญยิ่งเรื่องหนึ่งและมีความ ยุ่งยากซับซ้อนด้วย แม้ว่ามิใช่เรื่องใหม่ก็ตาม

เนื่องจากในปัจจุบันนี้มีโครงการฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อม หรือ ฉลากเขียวใช้อยู่ไม่ ต่ำกว่า 25 ประเทศด้วยกัน รวมทั้งประเทศไทยด้วย ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมเป็นฉลาก ที่มอบให้แก่ผลิตภัณฑ์ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยรวมน้อยกว่า เมื่อเปรียบ เทียบกับผลิตภัณฑ์ในประเภทเดียวกัน และมีคุณภาพการใช้งานอยู่ในระบบมาตร ฐานเดียวกัน ผลิตภัณฑ์ที่กล่าวถึงนี้หมายถึงสินค้าและบริการทั่ว ๆ ไป ยกเว้นยา เครื่องดื่มและอาหาร เนื่องจากผลิตภัณฑ์สามประเภทที่กล่าวมาเกี่ยวข้องกับสุขภาพ ความปลอดภัยมากกว่าด้านสิ่งแวดล้อม การออกฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมจะสร้างความ สับสนให้แก่ผู้บริโภคได้

ฉลากเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ใช้ในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

ประเภทที่ 1 (Type 1) เป็นฉลากที่ดำเนินการโดยองค์กรอิสระมอบให้กับผลิตภัณฑ์ ที่มีคุณสมบัติตรงกับข้อกำหนดทางสิ่งแวดล้อมที่องค์กรกำหนด โดยส่วนใหญ่จะมี เงื่อนไขทางสิ่งแวดล้อมหลายข้อด้วยกัน

ประเภทที่ 2 (Type 2) เป็นฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยความมุ่งหมาย เฉพาะด้าน โดยปกติแล้วผู้ผลิตจะเป็นผู้ติดฉลากเอง

ประเภทที่ 3 (Type 3) มีลักษณะเป็นฉลากบอกรายละเอียดให้ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ พลังงาน ปริมาณ มลพิษที่เกิดขึ้น เป็นต้น มีลักษณะคล้ายกับฉลากโภชนาการของอาหาร

มาตรฐานฉลากสิ่งแวดล้อมมีประเทศออสเตรเลีย เป็นเลขาธิการ อนุกรมมาตรฐาน ฉบับนี้ประกอบด้วย 5 มาตรฐาน คือ

ISO 14020: Environmental Labeling-Basic Principles for all Environmental Labeling: เป็นหลักการขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาและการใช้ ฉลากสิ่งแวดล้อม

ความคืบหน้า อยู่ระหว่างการจัดทำมาตรฐาน

ISO 14021: Environmental Labeling-Self Declaration Environmental Claims-Terms and Definitions เป็นคำนิยามและคำศัพท์เกี่ยวกับการใช้ฉลาก ผลิตภัณฑ์ประเภทที่ 2 ในการประกาศคุณสมบัติทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์

ความคืบหน้า:อยู่ระหว่างการจัดทำมาตรฐาน

ISO 14022: Environmental Labeling-Self Declaration Environmental Claims and Symbols: เป็นวิธีการในการใช้สัญลักษณ์ของฉลากผลิตภัณฑ์ ประเภทที่ 2

ความคืบหน้า: อยู่ระหว่างการจัดทำมาตรฐาน

ISO 14023: Enviornmental Labeling-Self Dcelaration Environmental Claims-Testing and Verification Methodologies: เป็นวิธีการตรวจสอบและ รับรองผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ฉลากผลิตภัณฑ์ประเภทที่ 2

ความคืบหน้า: อยู่ระหว่งการจัดทำมาตรฐาน

ISO 14024:Environmental Labeling-Environmental Labeling Type 1, Guiding Principles and Procedure: เป็นแนวทาง หลักการและข้อกำหนดของ วิธีการรับรองผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ฉลากผลิตภัณฑ์ประเภทที่ 1

ความคืบหน้า: อยู่ระหว่างการจัดทำมาตรฐาน

ISO 14025: Environmental Labeling-Environmental Labeling Type 3, Guiding Principles and Procedures: เป็นแนวทาง หลักการและข้อกำหนดของ วิธีการรับรองผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ฉลากผลิตภัณฑ์ประเภทที่ 3

ความคืบหน้า:อยู่ในระหว่างการจัดทำมาตรฐาน

2.4 การประเมินผลการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม

(Environmental Performance Evaluation)

ในปัจจุบันองค์กรต่าง ๆ ได้พยายามทำความเข้าใจผลการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้สามารถดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมได้เหมาะสมและดีขึ้น โดยการควบคุม ปัจจัยต่าง ๆ ที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกิจกรรมต่าง ๆ ของ องค์กร

การประเมินผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งของผู้บริหาร ที่ใช้ในการประเมินว่าองค์กรนั้น ๆ ได้บรรลุถึงวัตถุประสงค์ทางสิ่งแวดล้อมที่ได้ตั้ง ไว้หรือไม่ ข้อมูลที่ได้จากการประเมินเป็นข้อมูลที่เชื่อถือได้และสามารถตรวจสอบได้ และนำมาใช้ประโยชน์แก่องค์กรได้ดังต่อไปนี้

การประเมินผลการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมนั้น สามารถนำไปใช้ในองค์กรทุก องค์กรไม่ว่าจะมีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมหรือไม่ สำหรับองค์กรที่มีระบบการจัด การสิ่งแวดล้อมอยู่แล้วนั้นควรจะประเมินผลการดำเนินงานโดยเปรียบเทียบกับนโย บาย วัตถุประสงค์และเป้าหมายทางด้านสิ่งแวดล้อมที่กำหนดไว้ ส่วนองค์กรที่ยังไม่ มีระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมนั้นสามารถนำการประเมินผลการดำเนินการด้านสิ่ง แวดล้อมไปช่วยในการหาปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและการ ตั้งข้อกำหนดในการประเมินผลการจัดการกับปัจจัยดังกล่าว

มาตรฐานการประเมินผลการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมมีประเทศสหรัฐอเมริกาเป็น เลขาธิการ ซึ่งขณะนี้มีเพียง 1 มาตรฐาน คือ

ISO 14031: Environmental Management-Environmental Performance Evaluation-Guideline เป็นแนวทางในการออกแบบและการใช้ ประโยชน์ของการประเมินผลการดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมสำหรับองค์กรทุกขนาด ทุกประเภท

ความคืบหน้า:อยู่ระหว่างการจัดทำมาตรฐาน

2.5 การประเมินวงจรอายุของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle Assessment)

นอกจากมาตรฐานการใช้ฉลากสิ่งแวดล้อม และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังเชื่อกันว่ามาตรฐานการประเมินวงจรอายุของผลิตภัณฑ์จะเป็นมาตรฐานอีกประ การซึ่งจะมีผลกระทบสูงต่อธุรกิจต่าง ๆ เนื่องจากความตื่นตัวในการรักษาสภาพ แวดล้อมและผลกระทบต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มีมากขึ้นทำ ให้เกิดความต้องการในการหาวิธีในการประเมินผลกระทบ และมาตรการในการลด ผลกระทบดังกล่าว

การประเมินวงจรอายุของผลิตภัณฑ์นั้น เป็นวิธีการอันหนึ่งที่ได้รับการพัฒนาใน ปัจจุบันเพื่อใช้ในการนี้ มาตรฐานดังกล่าวครอบคลุมการพิจารณาคุณลักษณะทาง ด้านสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การบริโภครวมไป ถึงการกำจัดขั้นสุดท้าย

การประเมินวงจรอายุของผลิตภัณฑ์ มีหลักการทั่ว ๆ ไปดังนี้

ผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมที่อาจจะเกิดขึ้นจากรายการของปัจจัยที่ใช้ในกระ บวนการผลิต ให้บริการและผลทั้งหมดที่ได้รับจากกระบวนการดังกล่าว

 

โดยปกติการประเมินผลกระทบจะครอบคลุมไปถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ผลกระทบต่อระบบนิเวศน์วิทยา และผลกระทบต่อสุขภาพด้วย

การประเมินวงจรอายุของผลิตภัณฑ์สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ดังนี้

ISO 14040:Life Cycle Assessment-Principles and Framework: เป็น หลักการและขอบเขตของการประเมินผลวงจรอายุผลิตภัณฑ์

ความคืบหน้า: อยู่ระหว่างการจัดทำร่างมาตรฐาน

ISO 14041:Life Cycle Assessment-Life Cycle Inventory Analysis:เป็น วิธีการในการกำหนดเป้าหมายและขอบเขตของการประเมินวงจรอายุผลิตภัณฑ์รวม ทั้งวิธีการจัดทำรายการปัจจัยที่ใช้ในขบวนการผลิต/บริการและผลที่ได้จากขบวนการ

ความคืบหน้า:อยู่ระหว่างการจัดทำร่างมาตรฐาน

ISO 14042:Life Cycle Assessment-Life Cycle Impact Assessment: เป็นวิธีการในการประเมินผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของรายการปัจจัยที่ใช้ในขบวน การผลิต/บริการและผลที่ได้จากขบวนการ

ความคืบหน้า:อยู่ระหว่างการจัดทำร่างมาตรฐาน

ISO 14043:Life Cycle Assessment-Life Cycle Interpretation: เป็นวิธี การในการวิเคราะห์ประเมินผลเพื่อนำผลของการประเมินวงจรอายุผลิตภัณฑ์ไปใช้

ความคืบหน้า:อยู่ระหว่างการจัดทำร่างมาตรฐาน

2.6 สถานภาพในปัจจุบันของประเทศไทย

ปัจจุบันนี้ถึงแม้ว่ามาตรฐาน ISO 14000 ยังไม่ได้ประกาศใช้เป็นทางการทุกมาตร ฐาน ขณะนี้มีเพียง 2 มาตรฐานที่ประกาศใช้ไปเมื่อเดือนกันยายน 2539 คือ ISO 14004 ซึ่งคาดว่าจะมีการประกาศเพิ่มเติมบางมาตรฐานอย่างแน่นอนขณะนี้

หลาย ๆ องค์กรเริ่มให้ความสนใจมาตรฐาน ISO 14000 และนำมาใช้ในองค์กร บ้างแต่ยังไม่มากเท่าที่ควร สำหรับหน่วยงานรัฐบาลที่รับผิดชอบ ISO 14000 คือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมซึ่งเป็นตัวแทนของ ประเทศไทยเข้าร่วมประชุม กำหนดมาตรฐาน ISO 14000 ก็ได้ดำเนินการเตรียม พร้อมรองรับมาตรฐานดังกล่าวได้ระดับหนึ่ง

สรุปสถานภาพในปัจจุบันของการเตรียมพร้อมดังนี้

1. การจัดตั้งคณะกรรมการวิชาการ 907

สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ได้แต่งตั้งคณะ กรรมการวิชาการ 907 ประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทางสิ่งแวด ล้อม 22 คน โดยมีประธานสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเป็นประธานคณะทำงาน มีหน้าที่ พิจารณาร่างมาตรฐานสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ เพื่อนำมาใช้เป็นมาตรฐานผลิต ภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศไทย พิจารณาให้ข้อคิดเห็น เอกสาร และร่างมาตร ฐานระหว่างประเทศ ISO 14000 นอกจากนั้นยังได้ติดตามเข้าร่วมประชุมให้ข้อคิด เห็นในการร่างมาตรฐานสิ่งแวดล้อม ISO 14000

2. การจัดตั้งคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงานด้านการมาตรฐาน (NAC)

กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดตั้งคณะกรรมการรับรองสาขาสิ่งแวดล้อมภายใต้ คณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยการรับรองระบบงานด้านการมาตรฐานเพื่อรับรอง หน่วยงานที่ให้บริการรับรอง ISO 14000 ให้มีเอกภาพของการดำเนินงาน และให้ เป็นไปตามข้อกำหนดเป็นที่ยอมรับของสากล นอกจากนั้นจะรับรองหลักสูตรรวมไป ถึงการขึ้นทะเบียนผู้ตรวจประเมินทางด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งสามารถให้บริการได้ภายในปี 2541

3. ฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม

โครงการฉลากเขียวของประเทศไทย

โครงการฉลากเขียวของประเทศไทย ริเริ่มขึ้นโดยคณะกรรมการนักธุรกิจเพื่อสิ่ง แวดล้อมไทย (Thailand Business for Sustainable Development,TBCSD) และสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2536 และได้รับความเห็นชอบ และความร่วมมือจากกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและ สิ่งแวดล้อม สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง ให้ปฏิบัติออกมาเป็นรูปธรรมในปลายปี 2537 จึงนับว่าเป็นโครงการที่เกิดจากการ ร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน และองค์กรกลางต่างๆ โดยมีสำนักงานมาตรฐานผลิต ภัณฑ์อุตสาหกรรมและสถาบันสิ่งแวดล้อมไทยทำหน้าที่เป็นเลขานุการ

มาตรฐานฉลากผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เป็นมาตรฐานอันหนึ่งซึ่งได้รับความสนใจ และติดตามมากของประเทศที่เป็นสมาชิก TC 207 รวมทั้งประเทศไทยด้วย เนื่อง จากว่าเป็นมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ ซึ่งอาจจะนำไปเป็นเงื่อนไขทางการค้าได้ในอนาคต

คณะกรรมการฉลากเขียวได้ใช้แนวทางดำเนินการที่สอดคล้องกับมาตรฐานฉลาก เพื่อสิ่งแวดล้อมในการคัดเลือกและออกข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ฉลากเขียว

หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์

โครงการฯ ได้เปิดโอกาสให้ผู้ผลิต ผู้บริโภค หรือสมาคมต่าง ๆ ที่สนใจ สามารถเสนอ แนะประเภทของผลิตภัณฑ์มายังฝ่ายเลขานุการได้ ฝ่ายเลขานุการจะประเมินความ เป็นไปได้ของข้อเสนอแนะประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม แล้วจึงรวบรวมส่งต่อไปยังคณะ กรรมการฯ เพื่อพิจารณาอีกทีหนึ่ง หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์เพื่อออกข้อ กำหนดสำหรับเป็นเงื่อนไขในการรับฉลากเขียวนั้นมีดังต่อไปนี้

ปัจจัยที่ใช้พิจารณาเพื่อออกข้อกำหนด

ในการออกข้อกำหนดสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทจะคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ประโยชน์และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ความสามารถของผู้ผลิตส่วหนึ่งที่จะปฏิบัติ ตามข้อกำหนดนั้น ๆ ได้รวมทั้งจะต้องเป็นข้อกำหนดที่สามารถตรวจวัดหรือประเมิน ได้

ข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ที่ตั้งขึ้น จะแตกต่างไปตามประเภทของผลิตภัณฑ์และความ เสียหายของสิ่งแวดล้อมในแง่มุมต่าง ๆ ที่เกิดจากผลิตภัณฑ์นั้น ๆ อาทิเช่น วัตถุ อันตราย การปล่อยของเสียสู่อากาศ น้ำ ดิน และขยะ เนื่องจากผลิตภัณฑ์แต่ละ ประเภทอาจจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมต่างกัน ทั้งจากวิธีการผลิต จำนวนวัตถุดิบ ที่เป็นทรัพยากร การขนส่ง การใช้งาน ขั้นตอนการให้บริการ ตลอดจนการกำจัดทิ้ง เมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว โดยทั่วไปจะคำนึงถึง

ปัจจุบัน คณะกรรมการโครงการฯ ได้ทำการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ 27 ประเภทแรกเพื่อ ออกข้อกำหนด ได้แก่

-ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทำจากพลาสติกที่ใช้แล้ว

-หลอดฟลูออเรสเซนต์ประหยัดพลังงานไฟฟ้า

-ตู้เย็นฉลากเขียว

-สีอิมัลชันสูตรลดสารพิษ

-เครื่องสุขภัณฑ์ (ชักโครก) ประหยัดน้ำ

-ถ่านไฟฉายสูตรไม่ผสมสารปรอท

-กระดาษฉลากเขียว (บรรจุภัณฑ์ กระดาษชำระ)

-เครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงานไฟฟ้า

-สเปรย์ที่ไม่มีสารซีเอฟซี

-สารซักฟอกที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม

-กระดาษพิมพ์เขียนฉลากเขียว

-มอเตอร์ประสิทธิภาพสูงฉลากเขียว

-ก๊อกน้ำชนิดประหยัดน้ำ

-วัสดุก่อสร้างทดแทนไม้

-เครื่องคอมพิวเตอร์ฉลากเขียว

-ฉนวนกันความร้อน

-บริการซักแห้งและซักอบรีด

-ผลิตภัณฑ์ทำจากผ้า

-เครื่องซักผ้า

-แชมพู

-เครื่องเรือนโลหะ

-เครื่องเรือนไม้ยางพารา

-บัลลาสต์อิเล็กทรอนิกส์

-เครื่องถ่ายเอกสาร

-ผลิตภัณฑ์ล้างจาน

-น้ำมันหล่อลื่น

-บรรจุภัณฑ์ที่นำกลับมาเติมได้

ส่วนผลิตภัณฑ์ที่ข้อกำหนดได้จัดทำเสร็จเรียบร้อย 15 ประเภท ได้แก่

-ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทำจากพลาสติกที่ใช้แล้ว

-หลอดฟลูออเรสเซนต์ประหยัดพลังงานไฟฟ้า

-ตู้เย็นฉลากเขียว

-สีอิมัลซันสูตรลดสารพิษ

-เครื่องสุขภัณฑ์ (ชักโครก) ประหยัดน้ำ

-ถ่านไฟฉายสูตรไม่ผสมสารปรอท

-กระดาษฉลากเขียว (บรรจุภัณฑ์ กระดาษชำระ)

-เครื่องปรับอากาศประหยัดพลังงานไฟฟ้า

-สเปรย์ที่ไม่มีสารซีเอฟซี

-กระดาษพิมพ์เขียวฉลากเขียว

-สารซักฟอกฉลากเขียว

-ก๊อกน้ำและอุปกรณ์ประหยัดน้ำ

-เครื่องคอมพิวเตอร์ฉลากเขียว

-เครื่องซักผ้า

-ฉนวนกันความร้อน

ปัจจุบันได้มีผู้ขอใช้ฉลากเขียวแล้วทั้งสิ้น 9 บริษัท คิดเป็นผลิตภัณฑ์ได้ 53 รายการ ด้วยกัน

4. มาตรฐานระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม

เป็นมาตรฐานที่ได้รับความสนใจมากที่สุดอีกมาตรฐานหนึ่ง เนื่องจากมีความเกี่ยว ข้องกับภาคอุตสาหกรรมผลิตเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมส่งออก ปัจจุบัน นี้มีผู้ได้รับรองมาตรฐาน ISO 14001 รวมทั้งสิ้น 43 องค์กร ดังมีรายละเอียดแนบ มา

กิจกรรมที่สำคัญอีกประการหนึ่งของ ISO 14001 คือ การจัดตั้งหน่วยรับรองเพื่อ ออกใบรับรองแก่องค์กรที่ต้องการใบรับรอง ISO14001 ขณะนี้มี 2 หน่วยงานของ ไทยเป็นผู้ให้บริการ คือ สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม และสถาบันสิ่ง แวดล้อมไทย

5. มาตรฐานการตรวจสอบสิ่งแวดล้อม

การตรวจสอบสิ่งแวดล้อมเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจมากขึ้น โดยเฉพาะจากเจ้า หน้าที่ภาครัฐ และผู้ประกอบการในประเทศไทยเอง ปัจจุบันได้มีการนำการตรวจสอบ สิ่งแวดล้อมมาใช้บ้างในบางกลุ่มอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมกระดาษ เพื่อใช้ ประเมินการดำเนินการทางด้านสิ่งแวดล้อมของบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรมดังกล่าว ยังไรก็ตามในกรณีนี้ยังไม่ได้กำหนดมาตรฐานในวิธีการประเมินหรือคุณสมบัติของผู้ ประเมินแต่อย่างใด

6. มาตรฐานการประเมินวงจรอายุของผลิตภัณฑ์

แม้ว่าเป็นที่ยอมรับกันว่าหลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคนิคของมาตรฐานฉบับนี้ ยังไม่ได้พัฒนาจนสมบูรณ์ อย่างไรก็ตามได้มีการนำแนวคิดของมาตรฐานมาใช้ มากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการค้นหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์ซึ่งจะ นำมาออกข้อกำหนดของผลิตภัณฑ์ฉลากเขียวและการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ขององค์กรที่นำระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อมไปใช้.